e-Withholding Tax ช่องทางใหม่ในการนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย
e-Withholding Tax ช่องทางใหม่ในการนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย มาพร้อมคุณสมบัติและอัตราภาษีที่ลดลง
– ไม่ต้องจัดทำแบบ/ไม่ต้องนำส่งเอกสาร
– ลดอัตราภาษีเหลือ 1%
เครื่องมือที่ 2.2 คู่มือประเด็นด้านต้นทุนและค่าใช้จ่าย
รายละเพิ่มเติม : https://www.rd.go.th/16552.html
เครื่องมือที่ 3 ตารางแผนที่ทางภาษีอากร (Tax Mapping)
ประเด็นทางด้านต้นทุน และค่าใช้จ่าย
รายละเพิ่มเติม : https://www.rd.go.th/32612.html
หลายคนไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพราะอาจเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองไม่ต้องเสียภาษี แต่ความจริงแล้วนั้น กฎหมายได้กำหนดเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำเอาไว้ ถึงแม้ว่าคำนวณภาษีแล้วจะไม่ต้องเสียภาษี ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น
คนโสด ได้เงินเดือนอย่างเดียว รวมทั้งปี 120,000 บาท หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น ขายของชำ ขายอาหาร ขับวิน มีรายได้รวมทั้งปี 60,000 บาท กรณีนี้ไม่ต้องยื่นแบบ แต่หากมีรายได้ตั้งแต่ 120,001 บาท หรือ 60,001 บาท กรณีนี้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบตามที่กฎหมายกำหนด
คนมีคู่สมรส (จดทะเบียนสมรส) มีเงินเดือนอย่างเดียว 2 คน รวมกัน ทั้งปี 220,000 บาท หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น ขายของชำ ขายอาหาร ขับวิน มีรายได้รวมทั้งปี 120,000 บาท กรณีนี้ไม่ต้องยื่นแบบ แต่หากมีรายได้ตั้งแต่ 220,001 บาท หรือ 120,001 บาท กรณีนี้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบตามที่กฎหมายกำหนด
สรุปว่า หากมีรายได้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ตาม
ผู้ประกอบการที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) สามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
1. ** Web Upload นําส่งข้อมูลด้วยวิธีการอัปโหลดผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
2. **ผ่าน Tax Service Provider เป็นวิธีการนำส่งข้อมูลโดยผ่านผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
3. **Host to Host นําส่งข้อมูลผ่านระบบนําส่งที่ผู้ประกอบการเชื่อมต่อกับกรมสรรพากรโดยตรง
การเลือกช่องทางนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ประกอบการสามารถเลือกช่องทางที่เหมาะสมกับความต้องการและความพร้อมของตนเอง โดยสามารถพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปริมาณข้อมูลที่ต้องการนำส่ง เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดของช่องทางการนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ช่องทาง | ข้อดี | ข้อจำกัด |
---|---|---|
Web Upload | ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้เอง | ผู้ประกอบการต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ |
Tax Service Provider | ผู้ประกอบการไม่ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สะดวก รวดเร็ว | มีธรรมเนียมการให้บริการขึ้นอยู่กับ Tax Service Provider แต่ละเจ้า |
Host to Host | ผู้ประกอบการสามารถควบคุมระบบนำส่งข้อมูลได้เอง | ผู้ประกอบการต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูง |
การนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการจัดทำและนำส่งเอกสารภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารกระดาษ ช่วยให้กระบวนการทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น และลดภาระในการเก็บรักษาเอกสารกระดาษ
ผู้ประกอบการที่ต้องการนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/emag/flipbook/01_Overview.pdf
หรือติดต่อสอบถามได้ที่ Call Center 1161
กิจการทั่วไปสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ 2 แบบ คือ
1. แบบ e-Tax Invoice by Email
เป็นวิธีที่ผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตนเอง โดยผู้ประกอบการจะต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร จากนั้นจึงส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปยังผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทางอีเมล
2. แบบ e-Tax Invoice & e-Receipt by Tax Service Provider
เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด โดยผู้ประกอบการสามารถติดต่อผู้ให้บริการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (Tax service provider) เพื่อขอใช้บริการได้ โดยผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมระบบและดำเนินการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่เพียงส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ให้บริการเท่านั้น
ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการที่ตรงกับความต้องการและงบประมาณได้
** ปัจจุบันมี Tax Service Provider หลายรายลดราคาค่าบริการ e-Tax Invoice ลงมา หรือใช้ฟรี ทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกที่หลากหลาย
หมายเหตุ หากผู้ประกอบการมีรายได้เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องเลือกแบบ e-Tax Invoice & e-Receipt by Tax Sevice Provider เท่านั้น
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/emag/flipbook/01_Overview.pdf
หรือติดต่อสอบถามได้ที่ Call Center 1161
บริหารเงินเป็นเรื่องง่าย ครบทุกฟังก์ชันในที่เดียว โอน รับ จ่ายไม่อั้น ค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายหลักร้อยต่อปี
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://krungthai.com/th/content/krungthai-business
PromptBiz บริการรับ-ส่งและชำระใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ ลดต้นทุนในการจัดเตรียมเอกสาร
สามารถรับ-ส่งและชําระใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งภายในธนาคาร (eIPP Closed Loop) และรับ-ส่งและชําระใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์ข้ามธนาคาร (eIPP Open Loop – PromptBiz)
ลดภาระและข้อผิดพลาดในการตรวจสอบหรือติดตามเอกสาร
ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการของภาคธุรกิจ ลดระยะเวลาการรับส่งเอกสารทางการค้า
เพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจให้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ผู้ชำระ (Buyer) และผู้รับชำระเงิน (Seller) สามารถชําระเงิน/รับชำระเงินได้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เชื่อมโยงเอกสารทางการค้ากับการชำระเงินครบวงจร พร้อมทั้งนำส่งภาษีได้อัตโนมัติ
รายละเอียดเพิ่มเติม https://krungthai.com/th/corporate/cash-management/collection-service/608
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://krungthai.com/th/corporate/cash-management/collection-service/608
e-Tax Invoice and e-Receipt คือ ใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เจ้าของธุรกิจ ต้องรู้
รายละเอียดเพิ่มเติม อ่านต่อ
https://shorturl.at/cnozP
เลขที่ 615 อาคารจิตต์อุทัย ชั้น 7 ถนนรามคำแหง เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
www.crystalsoftwaregroup.com
Copyright 2016 Developed By Crystalsoftwaregroup