Author Archives: admin_edit

  • 1

ยกเว้นภาษีเงินได้ ที่จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินบางกรณี : พรก.ฉบับที่ ๖๙๐ พ.ศ. ๒๕๖๓


Tags : 

ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สิน บางกรณี

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๙๐) พ.ศ. ๒๕๖๓”

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้ “เครื่องจักร” หมายความว่า สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นสำหรับใช้ก่อกำเนิดพลังงาน เปลี่ยนหรือแปลงสภาพพลังงาน หรือส่งพลังงาน ทั้งนี้ ด้วยกำลังน้ำ ไอน้ำ เชื้อเพลิง ลม ก๊าซ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน และหมายความรวมถึงเครื่องอุปกรณ์ ไฟลวีล ปุลเล สายพาน เพลา เกียร์ หรือสิ่งอื่นที่ทำงานสนองกัน แต่ไม่รวมถึงยานพาหนะที่จดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ

มาตรา ๔ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อการลงทุนในเครื่องจักร แต่ไม่ใช่เป็น การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ตามมาตรา ๖๕ ตรี (๕) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนร้อยละห้าสิบของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการให้เช่าแบบลีสซิ่ง และลงทุนในเครื่องจักรเพื่อให้เช่าเครื่องจักรนั้นแบบลีสซิ่ง

มาตรา ๕ เครื่องจักรตามมาตรา ๔ ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน (๒) เป็นเครื่องจักรที่นำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ตามมาตรา ๖๕ ทวิ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การตามประสงค์ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

(๓) ต้องอยู่ในราชอาณาจักร

(๔) ไม่เป็นเครื่องจักรที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

(๕) ไม่เป็นเครื่องจักรที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

มาตรา ๖ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกานี้ จะต้องจัดทำโครงการลงทุนและแผนการจ่ายเงิน และแจ้งต่ออธิบดี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา ๗ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ และต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๔ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้สิทธิที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกานี้ สิ้นสุดลง และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะต้องนำเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว ไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ใช้สิทธินั้น เว้นแต่กรณีที่มีการขายเครื่องจักรนั้น หรือเครื่องจักรนั้นถูกทำลายหรือสูญหายหรือสิ้นสภาพ ให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้ขายเครื่องจักรหรือเครื่องจักรนั้น ถูกทำลายหรือสูญหายหรือสิ้นสภาพ แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการใช้สิทธิ ยกเว้นภาษีเงินได้ที่ได้รับแล้วไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิอีก

มาตรา ๘ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

Credit : www.ryt9.com

 


  • 0

การทำประกันภัยให้กับลูกจ้างถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่


การทำประกันภัยให้กับลูกจ้างถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่

        นายจ้างที่มีสวัสดิการทำประกันภัยให้กับลูกจ้างพนักงานนั้น มักจะมีคำถามอยู่เสมอว่า เงินค่าประกันภัยดังกล่าวถือดเป็นเงินได้ของพนักงานที่ต้องนำมาคำนวนเพื่อการเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วยหรือไม่นั้น  เราต้องทำการพิจารณาประเด็นต่างๆดังนี้ก่อน

   1.ตรวจสอบนโยบายของบริษัทฯ ว่าได้มีการประกาศเป็นนโยบายให้สวัสดิการในเรื่องนี้ไว้หรือไม่ หากมีประกาศไว้ว่าให้มีการประกันภัยให้กับพนักงานของบริษัท การให้สวัสดิการดังกล่าวจะต้องเป็นการให้สวัสดิการกับพนักงานทุกคนโดยทั่วไป ไม่ได้เป็นการให้สวัสดิการเฉพาะบุคคล

  2.แต่เดิมนั้นไม่ว่าจะเป็นการให้สวัสดิการกับพนักงานทุกคนโดยทั่วไป ไม่ได้เป็นการให้สวัสดิการเฉพาะบุคคล ก็ล้วนถือเป็นเงินได้ของพนักงานทั้งนั้น ต้องนำมาคำนวนเงินได้ทั้งสิ้น แต่เริ่มในปี 2550 นี้ ไม่ต้องนำมาเป็นเงินได้ของพนักงานอีกแล้ว แต่ต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น

  3.การจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยที่ทำให้กับพนักงานนั้น จะต้องเป็นการจ่ายเงินให้กับบริษัทประกันภัยที่ตั้งขึ้นในประเทศเท่านั้น บริษัทที่ตั้งขึ้นในต่างประเทศ ต้องนำกลับมาเป็นรายได้ของพนักงาน

  4.กรมธรรม์ประกันภัยที่ทำให้กับพนักงานนั้นจะต้องเป็นกรมธรรม์หมู่เท่านั้น ประกันเป็นรายบุคคลไม่ได้

  5.อายุของกรมธรรม์จะต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี จะผูก 5 ปี 10 ปี ไม่ได้

  6.การประกันภัยดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นการประกันทางด้านสุขภาพการรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่รวมถึงการประกันชีวิต หากมีการนำเอาประกันชีวิตเข้ามาพ่วงไว้ด้วย จะถือว่าเป็นการประกันชีวิตทันที ก็จะไม่เข้าเงื่อนไข ต้องนำกลับมาคำนวนเป็นรายได้ของพนักงาน

  7.การให้สวัสดิการประกันสุขภาพดังกล่าวนั้น ในนโยบายของบริษัท หากเขียนเอาไว้ให้ครอบคลุมถึงคู่สมรสบุตรธิดาและบุพการีของพนักงานด้วย( บุพการี หมายถึง บิดามารดาปู่ย่าตายายของพนักงาน และของคู่สมรส) ก็ให้มีผลรวมได้ด้วยตามนโยบายนั้นๆ แต่ประกันดังกล่าว ต้องไม่รวมประกันชีวิตอีกเช่นเคย แต่ทั้งนี้จะได้รับการยกเว้นทั้งสิ้นไม่เกิน 15,000 บาท (โดยที่บิดามารดาพนักงานและของคู่สมรสรวม 4 คนได้ไม่เกิน 15,000 บาท)  เงื่อนไขเพิ่มเติม บิดามารดาพนักงานและของคู่สมรสจะต้องมีรายได้ไม่พอยังชีพ และมีหลักฐานแสดงความเป็นบิดามารดาที่แท้จริง (บุญธรรม ไม่ได้)

  8.การรักษาพยาบาลนั้นอาจให้การรักษาพยาบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน

Credit : www.thaitaxinfo.com


  • 0

ภาษีการให้เช่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

การเช่าทรัพย์สินกรณีผู้ให้เช่าและผู้เช่าอยู่ในประเทศไทย จะมีหน้าที่ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สรุปได้ดังนี้
– ผู้ให้เช่าทรัพย์สิน
– ภาษีเงินได้ การให้เช่าทรัพย์สินทั้งประเภทสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าที่เป็น
บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปี
ภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ต้องนำค่าเช่าทรัพย์สิน ภาษี หรือค่าธรรมเนียมอื่นใดที่ได้รับ
จากผู้เช่ามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีผู้ให้เช่าทรัพย์สินเป็นบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เช่าทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่นรถยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือ
เครื่องใช้ เป็นต้น เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำค่าเช่าทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบ
ระยะเวลาบัญชี ไม่ว่าผู้ให้เช่าทรัพย์สินจะประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน
สามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น สำหรับ
การให้เช่าทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้าน อาคาร ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ไม่อยู่ใน
บังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม
– อากรแสตมป์ การทำสัญญาให้เช่าทรัพย์สินประเภทที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือ
แพ ผู้ให้เช่าทรัพย์สินต้องชำระอากรแสตมป์ตามวงเงินมูลค่าของสัญญาเช่า โดยชำระอากร
แสตมป์อัตราร้อยละ 1 ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาทแห่งค่าเช่าหรือ
เงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่าง รวมกันตลอดอายุการเช่า ในทางปฏิบัติจริงผู้ให้เช่าทรัพย์สินอาจ
ตกลงให้ผู้เช่าทรัพย์สินเป็นผู้ชำระอากรแสตมป์ก็ได้ อย่างไรก็ตามการให้เช่าทรัพย์สินที่ใช้ใน
การทำนา ไร่ สวน ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
– ผู้เช่าทรัพย์สินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายค่าเช่าจากการเช่าทรัพย์สินที่มีวงเงิน
ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้น ผู้เช่าต้องหักภาษีณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ว่าทรัพย์สินที่เช่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริม
ทรัพย์ ทั้งนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะบังคับใช้กับผู้จ่ายเงินค่าเช่าที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเท่านั้นในส่วนของผู้รับค่าเช่าที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอาจเป็นบุคคล
ธรรมดาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นก็ได้ กรณีที่ผู้เช่าเป็นผู้จ่ายภาษีหรือค่า
ธรรมเนียมแทนผู้ให้เช่า ต้องนำภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่จ่ายแทนรวมกับค่าเช่าทรัพย์สินเพื่อ
คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย

การเช่าทรัพย์สิน ผู้ให้เช่า และผู้เช่าต่างก็มีหน้าที่ทางภาษีตามที่กล่าวมาข้างต้น  เมื่อจ่ายค่าเช่าจากการเช่าทรัพย์สินที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้น ผู้เช่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ว่าทรัพย์สินที่เช่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์

Credit : www.smeone.info


  • 0

3 ปัญหาที่เกิดจาก SMEs วางแผนบัญชีผิด


Tags : 

สาเหตุหลักๆ ที่สร้างปัญหาทางการเงินให้ SMEs ส่วนใหญ่ เป็นอะไรได้บ้าง และเราจะรับมือกับมันได้อย่างไร…

1. ไม่ทราบสถานการณ์ทางธุรกิจที่แท้จริง

ในยุคที่ธุรกิจกำลังขยายตัว หลายท่านที่เป็นเจ้าของกิจการ โดยไม่มีการวางแผนอย่างรอบคอบ จนเกิดปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบ คือ การทำบัญชีเพื่อหลบเลี่ยงภาษี ทำให้บางครั้งตัวเลขตกหล่น และทำการตรวจสอบได้ยาก

แก้ปัญหาในพริบตา…บัญชีเดียวช่วยได้ : การวางแผนทำบัญชีที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่แรก มีหลายบัญชีจนเกิดความสับสน ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ของธุรกิจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเราควรวางแผนการทำบัญชีให้ถูกต้อง และยื่นงบต่อกรมสรรพากรให้ถูกต้อง จะช่วยแก้ปัญหาความยุ่งเหยิงได้มาก

2. หุ้นส่วนเกิดความขัดแย้งในองค์กร

ปัญหาที่เกิดจากการที่ไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดด้านการเงิน การไม่สามารถชี้แจงกำไร หรือรายได้ที่แน่นอนให้กับทุกๆ คนได้เข้าใจตรงกัน จะนำมาสู่ความคลางแคลงใจในที่สุด

แก้ปัญหาในพริบตา…บัญชีเดียวช่วยได้ : ความขัดแย้งภายในองค์กรส่วนมากมักเกิดจากปัญหาเรื่องเงินเป็นหลัก ยิ่งธุรกิจที่ดำเนินงานโดยใช้จัดทำเพื่อหลบเลี่ยงภาษีแล้ว จะสร้างความวุ่นวายอย่างมาก เพราะการสรุปงบกำไร ไปจนกระทั่งรายได้ที่ส่งต่อให้ผู้ถือหุ้นทุกราย อาจถูกตั้งข้อสงสัย การทำบัญชีเดียว จะช่วยให้เห็นภาพรวมเงินเข้า-ออกได้ชัดเจน และเข้าใจตรงกัน

3. เงินทุนไม่เพียงพอ

การวางโครงสร้างกลยุทธ์ในการทำธุรกิจอย่างเดียวนั้นไม่พอ คุณต้องพร้อมมีเงินทุนเพื่อใช้ลงทุนแล้วยังต้องมีไว้หมุนเวียนในธุรกิจ ซึ่งบางครั้งวงเงินของผู้ถือหุ้นอาจไม่เพียงพอกับความต้องการขยายธุรกิจ

แก้ปัญหาในพริบตา…บัญชีเดียวช่วยได้ : ธนาคารกรุงไทยแก้ปัญหาเพื่อธุรกิจ SMEs ที่ต้องการวงเงินใช้จ่ายในธุรกิจ ด้วยการมอบสิทธิประโยชน์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ กับผู้ที่จดแจ้งบัญชีเดียวต่อกรมสรรพากร และใช้งบสรรพากรในการขอสินเชื่อ ส่งผลให้อนุมัติสินเชื่อได้ไวยิ่งขึ้นอีกด้วย

และนี่คือ 3 วิธีแก้ไขปัญหาหลัก ๆ ในการป้องกันปัญหาทางการเงินของธุรกิจ SMEs ถ้าคุณจัดทำบัญชีอย่างถูกต้องและจดแจ้งบัญชีเดียวต่อกรมสรรพากร ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปในทันที อีกทั้งยังยังช่วยทำให้ธุรกิจของคุณบริหารจัดการได้มีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด และเพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อธนาคารได้มากขึ้น

Credit : www.sme.ktb.co.th


  • 0

การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ


Tags : 

เมื่อมีการทำบัญชี และจะปิดบัญชีประจำปี ควรมีหลักและเทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน ของกิจการของท่านดังนี้

1.การวิเคราะห์แบบแนวนอน (Horizontal Analysis) เป็นการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบปีต่อปี หรือ เดือนต่อเดือน ซึ่งจะบอกถึง

1.1 การเปลี่ยนแปลงของรายการต่างๆในงบโดยเปรียบเทียบเป็นปีต่อปี หรือเดือนต่อเดือน

1.2 ทำให้ทราบว่ามีรายการใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นจำนวนเงินและเปอร์เซ็นต์รายการละเท่าใด

1.3 สามารถหรือคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มแต่ละรายการในงบว่ารายใดดีขึ้นหรือแย่ลง

1.4 จากข้อมูลทั้งหมดจะทำให้ท่านสามารถคาดการณ์ธุรกิจของท่านในอนาคตได้

2.การวิเคราะห์แบบแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical analysis) การวิเคราะห์จะจะนำงบการเงินมาเปรียบเทียบปีต่อปี

2.1 ในส่วนงบกำไรขาดทุน เช่นต้นทุนขายหรือบริการ  ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน จำนวน เท่าใด ในปีหนึ่งปีใดเปรียบเทียบกับร้อยละ ของยอดขายปี ซึ่งจะทำให้ทราบว่า ต้นทุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย หรือค่าใช้จ่ายบริหารรายการใดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย

2.2 หากพบว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดที่สูงกว่าปีก่อน ก็จะหาวิธีการเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ทันท่วงที

3.การวิเคราะห์แบบแนวโน้ม (Trend analysis)เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี ของรายการต่างในงบกำไรขาดทุน หรืองบแสดงฐานะการเงิน เช่น

3.1 ใช้ดูแนวโน้มของกิจการว่ายอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายบริหาร ดีขึ้นหรือแย่ลงจากปีก่อน  เป็นต้น

3.2 เพื่อนำนำข้อมูลไปใช้ในการพยากรณ์ในอนาคต หรือการทำประมารการของกิจการต่อไป

4.การวิเคราะห์แบบอัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratio analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในงบการเงินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างรายการหนึ่งกับรายการหนึ่ง ว่าเหมาะสมเพียงใด อัตราส่วนทางการเงินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

4.1 อัตราส่วนวัดสภาพคล่องทางการเงิน

4.2 อัตราส่วนในการวัดความสามารถในการทำ

4.3 อัตราส่วนในการวัดความสามารถ(ประสิทธิภาพ)ในการดำเนินงาน

4.4 การวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุนหรือภาระหนี้สิน

ดังนั้นเมื่อท่านได้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วอย่างชำนาญ และใช้อย่างต่อเนื่องธุรกิจของท่านจะลดความเสี่ยงต่างๆ เพราะท่านได้ทราบแนวโน้มปัญหา และอุปสรรคล่วงหน้า

ERP product

 

 

Credit : www.myaccount-cloud.com


  • 0

ซื้อ-ขายใบกำกับภาษีปลอม มีโทษหนัก ปรับจริง ติดคุกยาว


Tags : 

การประกาศซื้อขายใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและมีความผิดตามกฎหมาย โดยทางอาญามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และถูกปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และรับโทษทางแพ่ง ต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษี และเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษีอีกด้วย

“กรมสรรพากรได้ดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญากับผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยในปี    ที่ผ่านมาได้ดำเนินคดีทางแพ่งโดยมีการประเมินภาษีผู้ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีจำนวน 15 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 1.9 พันล้านบาท และประเมินภาษีผู้ใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมายจำนวน 408 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 4.1 พันล้านบาท รวมทั้งได้มีการดำเนินคดีอาญากรณีความผิดฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกจำนวน 59 ราย มีมูลค่าความเสียหายกว่า 1.8 พันล้านบาท จึงขอแจ้งเตือนผู้ทำผิดกฎหมายทุกรายให้ยุติการกระทำในลักษณะดังกล่าว และปัจจุบันกรมสรรพากรได้นำระบบ Data Analytics มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยจะติดตามตรวจสอบตลอดจนจับกุมผู้เสียภาษีที่เป็นผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่มีการซื้อขายสินค้าจริงมาลงโทษตามกฎหมาย และหากพบเห็น การกระทำใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขอให้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ www.rd.go.th > เมนู  “แจ้งเบาะแสข้อมูลแหล่งภาษี” เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียภาษีทุกรายที่มีการปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้องต่อไป”

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center)  โทร. 1161

Credit : www.rd.go.th


  • 0

6 วิธี SME เตรียมตัวก่อนกู้เงิน


Tags : 

6 วิธี SME เตรียมตัวก่อนกู้เงิน

​      การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญในการขอสินเชื่อ เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติให้มีมากขึ้น เคล็ดลับต่อไปนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจในการวางแผนเพื่อขอสินเชื่อกับธนาคาร

1. เดินบัญชีอย่างสม่ำเสมอ  การเดินบัญชีเป็นการสร้างประวัติธุรกิจของคุณกับธนาคาร เพื่อใช้ดูกระแสเงินสดเข้า – ออกบัญชี ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นของธุรกิจได้เป็นอย่างดี โดยธนาคารจะนำข้อมูลนี้มาใช้ประกอบในการพิจารณาสินเชื่อ ดังนั้นธุรกิจควรรับและจ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคารเป็นประจำทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ

2. รักษาเครดิตให้ดีที่สุด  เครดิตที่ดีทำให้ผู้กู้มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นอย่าละเลยปล่อยให้เกิดหนี้ค้างชำระ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครดิตส่วนบุคคล หรือประวัติเช็คคืน ที่เรียกกันว่าเช็คเด้ง เพราะข้อมูลเหล่านี้จะสะท้อนถึงความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินของคุณ ซึ่งจะส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. เอกสารทางการค้ามีค่าต้องเก็บไว้ให้ดี  เอกสารการค้าที่แสดงให้เห็นถึงรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจคุณ ไม่ว่าจะเป็น บัญชีซื้อ บัญชีขาย สำเนาใบกำกับภาษี ใบสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงิน เอกสารเหล่านี้สามารถนำมาใช้ประกอบการขอสินเชื่อได้ ในกรณีที่เงินหมุนเวียนในบัญชีของคุณไม่แสดงถึงรายได้ที่แท้จริงของธุรกิจ

4. วางใจธนาคารในเรื่องรักษาความลับลูกค้า  มีข้อมูลหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อการขอสินเชื่อ แต่คุณอาจจะไม่ได้ให้ธนาคาร เพราะกลัวว่าความลับทางการค้าจะรั่วไหล ในความเป็นจริงธนาคารไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลให้กับใครได้ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากลูกค้า ดังนั้นจึงวางใจได้และนำส่งข้อมูลที่จำเป็นทุกอย่างเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสนับสนุนการขอสินเชื่อของคุณ

5. ขอสินเชื่อให้เหมาะกับความต้องการ การพิจารณาสินเชื่อธนาคารจะดูจากความสามารถในการชำระหนี้ โดยพิจารณาจากรายได้ ภาระหนี้สินและค่าใช้จ่าย ซึ่งจะสะท้อนถึงความต้องการทางการเงินของธุรกิจ ดังนั้นคุณควรรู้ความต้องการเงินลงทุนที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อขอกู้จากธนาคารในวงเงินที่ไม่มากเกินความจำเป็น เพราะอย่าลืมว่าเงินกู้นั้นมีดอกเบี้ยจ่ายที่จะเกิดขึ้นซึ่งเป็นภาระในระยะยาว

6. เตรียมแผนธุรกิจให้พร้อม การขอสินเชื่อที่ดีจำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมก่อนเสมอ นอกเหนือจากเอกสารประกอบต่างๆ แล้ว สิ่งที่ท่านจำเป็นต้องทำคือ แผนธุรกิจและแผนการทางการเงินของกิจการอย่างคร่าว ๆ เช่น ต้องการเงินเท่าไหร่ รายได้โดยประมาณต่อปีเป็นเท่าไหร่ สามารถใช้หลักประกันอะไรได้บ้าง ประเมินจากเงื่อนไขของธนาคารแล้วน่าจะได้วงเงินสักเท่าไหร่ ถ้าไม่พอมีแผนจะทำอย่างไร สามารถชำระคืนได้หรือไม่ ภายในกี่ปี คำถามเหล่านี้จะช่วยในการเตรียมพร้อมก่อนดำเนินการเรื่องขอสินเชื่อ

Credit : www.kasikornbank.com

  • 0

มาตรการบัญชีชุดเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs


Tags : 

โดยเนื้อหาตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

  •  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพ ที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีชุดเดียว) ต่อกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีชุดเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของ กรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2559
  •  กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออก ใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่าง
  • การดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 บริษัทฯ ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีชุดเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
  •  สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องไม่มีรอบระยะเวลาบัญชีใดที่มีทุนช าระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาท และมี รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 30 ล้านบาท และได้มีการจดแจ้งต่อ กรมสรรพากรในการใช้บัญชีชุดเดียว จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 รอบระยะเวลาบัญชีดังนี้ – ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี2559 – ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้

(1) ส าหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ

(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 10 ของก าไรสุทธิส าหรับก าไรสุทธิ ส่วนที่เกิน 300,000 บาท

  • กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้น ไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ ตามพระราชกำหนดฉบับนี้
  •  ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ใน กำกับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการ ภาษีเงินได้ เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

e-Accounting

Credit : https://www.rd.go.th


  • 0

ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก


Tags : 
ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก

1. ทำไมต้องมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ?

ภาษีการรับมรดกช่วยสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยการลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ช่วยกระจายภาระภาษี หารายได้เข้ารัฐ และช่วยให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยหลักการจะไม่กระทบต่อคนยากจน และคนที่มีฐานะปานกลาง

2. ภาษีกองมรดก กับ ภาษีการรับมรดก แตกต่างกันอย่างไร ?

“ภาษีกองมรดก” เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกองมรดก ก่อนการแบ่งกองมรดกให้แก่ทายาท แต่ “ภาษีการรับมรดก” เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก หลังการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทตามจำนวนทรัพย์มรดกที่แต่ละคนได้รับ

3. ภาษีการรับมรดกเก็บจากใคร ?

ผู้ได้รับมรดก ที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย ไม่ว่าเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล คือทั้งตัวคนและบริษัท ห้างที่เป็นไทย หรือหากมิใช่สัญชาติไทยแต่ได้รับมรดกเป็นทรัพย์สินหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะถูกจัดว่าเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี

4. ภาษีการรับมรดกจัดเก็บในอัตราใด ?

ความรับผิดชอบในการเสียภาษีการรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ละราย (เป็นลูก)ได้รับมรดกจากเจ้ามรดก (เช่น คุณพ่อเสียชีวิต) ไม่ว่าในคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันเกิน 100 ล้านบาท ให้เสียภาษีในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทนั้น โดยจะเสียภาษีในอัตรา ดังนี้

  • ร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก (ผู้สืบสันดานนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
  • ร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีอื่นๆ เช่น ผู้รับพินัยกรรม เป็นต้น
  • ร้อยละ 0 หรือไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก สำหรับคู่สมรส หรือกรณีที่ยกให้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา กิจการสาธารณประโยชน์ หรือหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ทำเรื่องเหล่านี้ (ได้รับยกเว้น)

5. ทรัพย์มรดกประเภทใด ที่จะต้องเสียภาษีการรับมรดก ?

มรดกที่ต้องเสียภาษี มีทรัพย์สินทั้งหมด 5 ประเภท คือ

  • อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย
  • หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
  • เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
  • ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถ เรือ มอเตอร์ไซค์
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต (ถ้ามี)
6. ราคาของทรัพย์มรดกจะใช้ราคาใด ?

การคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก เวลาจะพิจารณาว่าถึง 100 ล้านบาทหรือไม่

  •  อสังหาริมทรัพย์ ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน
  •  หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวัน ในวันที่ได้รับมรดก
  •  ทรัพย์สินอื่นให้เป็นไปตามกฎกระทรวงจะประกาศกำหนด
  • ถ้าต้องคำนวณเป็นเงินตราต่างประเทศ จะเป็นไปตามที่กรมสรรพากร ประกาศกำหนด
7. ผู้ที่ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีการรับมรดกเมื่อใด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เจ้าพนักงานจะดำเนินการประเมินภาษี เพื่อดูว่าจะต้องเสียเท่าไหร่ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่หากมีเหตุจำเป็นและสมควร อาจจะเพิ่มเวลาได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีการรับมรดกได้เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี
8. จะเริ่มมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อใด ?
เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 (โดยทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
9. จะเกิดอะไรขึ้นหากเสียภาษีการรับมรดกไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นแบบเสียภาษีการรับมรดก ?
  • เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษี (1-3 ปี กรณียื่นแบบและ 10 ปี กรณีไม่ยื่นแบบ) และเรียกเก็บภาษีให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
  • หากไม่เสียภาษีตามกำหนด อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาล
10. การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดกจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร ?
การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก (เช่น จงใจยื่นข้อความเท็จ ใช้อุบายหลีกเลี่ยงภาษี) ถือเป็นความผิดอาญา จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวรวมถึงผู้แนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการเช่นว่านั้นด้วย
Credit : www.checkraka.com

  • 0

ความแตกต่างระหว่างบัญชีบริหารและบัญชีการเงิน


Tags : 

การบัญชีการเงิน คือ การบัญชีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม จำแนก และรายงานข้อมูลทางการเงินของกิจการที่เกิดขึ้นในอดีตให้กับบุคคลภายนอกที่ต้องการข้อมูลทางการเงิน
การบัญชีการบริหาร จะมีหลักการเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารภายในกิจการใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของกิจการ
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร
บัญชีการเงิน
1. เสนอข้อมูลแก่บุคคลภายนอก
2. จัดทำภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย
3. จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
4. ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ
5. เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
6. เสนอข้อมูลในภาพรวมของกิจการ
7. เสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับรายการดำเนินงาน
8. ข้อมูลจะถูกเสนอตามรอบบัญชี
บัญชีบริหาร
1. เสนอข้อมูลแก่ผู้บริหาร
2. ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย
3. ยืดหยุ่นตามประเด็นของปัญหาการตัดสินใจ
4. เน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
5. เน้นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
6. เน้นเสนอข้อมูลของกิจการโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของกิจการ
7. เสนอข้อมูลทั้งทางด้านเชิงคุณภาพและข้อมูลจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ
8. ข้อมูลจะเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ

e-Accounting

 

Credit : www.med.swu.ac.th