Author Archives: admin_edit

  • 0

ระวัง!! ขอเงินภาษีคืน เสี่ยงเข้าข่ายฟอกเงิน


Tags : 

ราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ 45  ประกาศออกมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอเงินภาษีมีใจความหลักๆว่า สำหรับคนที่มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือการฉ้อโกงภาษีอากรเกิน  10 ล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป หรือมีการขอภาษีคืนเกินกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไปต่อปีภาษี และการขอภาษีคืนนั้นไม่เป็นความจริงหรือจงใจเลี่ยงภาษี ให้มีความผิดฐานฟอกเงิน !

หากคุณถูกตรวจพบว่า การยื่นขอเงินคืนภาษีของคุณไม่เป็นความจริงจะมีบทลงโทษได้แก่ โทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี และมีค่าปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท (ไม่รวมเบี้ยปรับเดือนละ 1.5% ที่ต้องชำระเพิ่มเติม)

การที่ออกกฎหมายนี้ออกมาก็น่าจะเป็นการป้องกันกลุ่มคนที่จ่ายภาษีไม่ตรงตามกฎหมาย เช่น ออกใบกำกับภาษีปลอม พยายามเลี่ยงภาษีมูลค่า (VAT) หรือออกบิลรายจ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่ตามความเป็นจริง

หากดูจากเจตนากฎหมายฉบับนี้ น่าจะพุ่งเป้าไปที่กลุ่มนิติบุคคล (จดทะเบียนในรูปบริษัท) มากกว่า เพราะถ้ารายได้บุคคลสูงขนาดเสียภาษี 10 ล้านบาทส่วนใหญ่ก็น่าจะรับรายได้ในรูปนิติบุคคลมากกว่ารับในรูปบุคคลธรรมดา เพราะฐานภาษีสูงสุดที่เสียของบุคคลธรรมดาอยู่ที่ 35% ต่อปี เมื่อเทียบกับนิติบุคคลที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 20% ต่อปี

Credit : www.rabbitfinance.com


  • 0

ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA


ปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตตแห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ผู้สอบบัญชี Tax Auditor(TA) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรผู้สอบบัญชีรับอนุญาต Certified Public Account (CPA) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบรับอนุญาตจากสถาบันวิชาชีพ

การขึ้นทะเบียน

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ.2547

สิทธิในการปฎิบัติงาน

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก(ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร

หลักเกณฑ์ในการปฎิบัติงาน

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากร ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ปฎิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ปฎิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากร สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัยชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่จัดทำรายงานการตรวจและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรดำกนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก

Credit : www.mindphp.com


  • 0

สรรพากรยกระดับการทำงานครั้งใหญ่ นำระบบ Agile สร้างนวัตกรรมยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง


Tags : 

อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2563 นี้ กรมสรรพากรจะนำกระบวนการทำงานแบบ Agile ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ D2RIVE ซึ่งประกอบด้วย

1) Digital Transformation

2) Data Analytics

3) Revenue Collection

4) Innovation

5) Values

6) Efficiency

 

เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการจัดเก็บรายได้ให้ตรงเป้า ออกนโยบายภาษีให้ตรงกลุ่ม และบริการผู้เสียภาษีให้ตรงใจ เพื่อสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อผู้เสียภาษี โดยการยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer – Centric) พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (Adaptive to change) การทำงานที่เน้นผลลัพธ์ (Output Oriented) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork)

นายเอกนิติกล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการนำร่องในการนำแนวคิด Agile มาใช้กับแผนงาน/โครงการสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ D2RIVE ในปี 2563 ดังนี้

 

  • D-Digital Transformation –การปรับเปลี่ยนกระบวนงานเพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรม เช่น (1) แผนการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture: EA) เพื่อเตรียมปรับปรุงระบบทั้งหมด ของกรมสรรพากรให้พร้อมต่อการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงในเชิงกระบวนการทางธุรกิจ (2) แผนงานพัฒนาระบบการกรอกแบบล่วงหน้า (Prefill) เพื่ออำนวยความสะดวกการยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา
  • D – Data Analytics – การเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น แผนงานการเชื่อมโยงข้อมูล (Data Integration) เพื่ออำนวยความสะดวกผู้เสียภาษีและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกรมสรรพากร
  • R – Revenue Collection – การเก็บภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และเป็นธรรม ได้แก่ (1) แผนควบคุมและติดตามแผนงานสำรวจผู้เสียภาษีรายใหม่ จากการปฏิบัติงานสำรวจและผู้เสียภาษีรายใหม่ ที่มีภาษีชำระเพื่อสร้าง ความเป็นธรรมให้กับผู้เสียภาษีที่เสียภาษีถูกต้องในระบบ (2) แผนงานพัฒนางานกฎหมาย และงานอุทธรณ์ภาษีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกรมสรรพากรทำให้งานอุทธรณ์มีการพิจารณารวดเร็วขึ้น

 

I – Innovation

    •  – การสร้างนวัตกรรมโดยจัดทำโครงการ RD Sandbox เพื่อรองรับการนำนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ได้จากการทำ Design thinking และการประกวด Hackathon มาทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง

V – Values

    •  – การพัฒนากรมสรรพากรให้เป็นองค์กรคุณธรรม โดยจัดทำแผนงานขับเคลื่อน องค์กรคุณธรรมเพื่อนำคุณธรรมของกรมสรรพากร ได้แก่ ซื่อสัตย์ (Honesty) รับผิดชอบ (Accountability) มอบใจบริการ (Service Mind) ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

E – Efficiency

     – การยกระดับประสิทธิภาพของคนและงาน ได้แก่ (1) แผนงานโรงเรียนสรรพากร เพื่อพัฒนาบุคลากรสรรพากรทุกระดับอย่างต่อเนื่อง (2) แผนงาน RD Branding เพื่อสร้างเอกลักษณ์ของกรมสรรพากร และสร้างการรับรู้คุณค่าและประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ที่ติดต่อกับกรมสรรพากร (3) แผนงานประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกเพื่อทำให้เรื่องภาษี เป็นเรื่องง่ายคนไทยตระหนักถึงหน้าที่การเสียภาษี (4) แผนงานองค์กรอัจฉริยะ (Smart Office) เพื่อพัฒนาการทำงานของกรมสรรพากรให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
    • Credit : www.nationtv.tv

 


  • 0

เช็คบทลงโทษ ของผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม


Tags : 

โทษของผู้ที่ใช้ใบกำกับภาษีปลอม

1. ทางแพ่ง

ผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม

  •  ต้องรับผิดในภาษีมูลค่าเพิ่มตามจำนวนที่ปรากฎในใบกำกับภาษี
  • ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี

ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม

  • การนำใบกำกับภาษีมาใช้ถือเป็นการยื่นภาษี ไว้เกินต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่า
  • หากทำให้การเสียภาษีคลาดเคลื่อนด้วย ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับหนึ่งเท่า
  • ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับสองเท่า
  • เงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษี

2. ทางอาญา

ผู้ออกใบกำกับภาษีปลอม

  • ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่สองพันบามถึงสองแสนบ้าน

ผู้ใช้ใบกำกับภาษีปลอม

  • ต้องระวางโทษจำคุกระหว่างสามเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่สองพันบามถึงสองแสนบ้าน

 

Credit : www.rabbitfinance.com


  • 0

5 ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว (ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและERP)


Tags : 

ประโยชน์ของบัญชีชุดเดียว มีอะไรบ้าง? 
1.ลงบัญชีได้ง่าย ตัวเลขถูกต้อง ไม่สับสน

การลงบัญชีจากเดิมที่ต้องคอยกังวลในการลงบัญชีผิดพลาด หรือสับสนกับบัญชีที่มีหลายเล่มซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกบัญชีและสะดวกในการทำธุรกรรมในแต่ละธนาคาร แต่โดยส่วนมากก็ถูกจับตามองว่าเป็นการกระทำเพื่อเลี่ยงภาษี โดยหากเปลี่ยนเป็นการใช้บัญชีเพียงชุดเดียวผู้ประกอบการก็จะสามารถลงบัญชีได้ง่ายขึ้น มีตัวเลขที่ถูกต้องเพียงตัวเลขเดียว ไม่ยุ่งยากในการตรวจสอบ และไม่เปิดช่องโหว่ให้เกิดการโกงจากพนักงานบัญชี

2.ประเมินผลประกอบการได้ชัดเจน 

เจ้าของกิจาการจะรู้รายได้และที่มารายได้ทั้งหมด  รู้ต้นทุนในการดำเนินกิจการที่แท้จริง นำไปวางแผนได้มีประสิทธภาพ รวมถึงสามารถทราบว่าต้องใช้กลยุทธ์ในช่วงนั้นอย่างไร จะสู้หรือตั้งรับหรือจะถอยทัพนั่นเอง

3.เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้

เนื่องจากบัญชีเดียวจะสะท้อนผลประกอบการที่โปร่งใส เป็นผลให้คู่ค้าไม่ลังเลที่จะเลือกคุณเป็นคู่ทำธุรกิจหากผลประกอบการคุณเข้มแข็ง

4.ใช้วางแผนภาษีได้ง่ายขึ้น

หลักการคิดภาษีนิติบุคคลคือ (รายได้-ค่าใช้จ่าย=กำไร) ซึ่งจะนำกำไรไปคิดภาษีที่ต้องจ่าย หากเราสามารถหาค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั่นหมายความว่า ภาษีที่ต้องจ่ายก็จะลดลง ซึ่งค่าใช้จ่ายของเจ้าของกิจการเองก็สามารถวางแผนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้ เช่น เงินเดือน ค่าอบรมสัมมนาซึ่งสามารถนำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายได้มากถึงสองเท่า

5.เพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อได้ และลดต้นทุนการเงิน

หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการดังกล่าวออกมา ก็มีการขานรับจากหลายธนาคารเรื่องการให้สินเชื่อในอัตราพิเศษสนับสนุน SMEs ที่ใช้บัญชีชุดเดียวเนื่องด้วยธนาคารเล็งเห็นว่า การใช้บัญชีชุดเดียวจะสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานของกิจการอย่างแท้จริง กลายเป็นผลดีให้กับ SMEs ที่สามารถกู้ได้ถูกลง ลดต้นทุนทางการเงินของกิจการ

 

ERP product

 

Credit : www.kiatnakin.co.th

 


  • 0

งบกระแสเงินสด คืออะไร


          งบกระแสเงินสด คือ งบแสดงการเปลี่ยนแปลง การได้มา และใช้ไปของเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด ในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง ซึ่งงบกระแสเงินสดจะแสดงให้เห็นถึงกระแสเงินไหลเข้า (Cash Inflows) และ กระแสเงินไหลออก (Cash Outflows) ของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด โดยแยกกิจการที่เกิดขึ้นออกเป็น ดังต่อไปนี้

การแสดงรายการในงบกระแสเงินสดจะนำกระแสเงินสดเข้าและกระแสเงินสดจ่ายมา แสดง ในส่วนของ กิจกรรมดำเนินงานจึงเป็นกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้หรือหากำไร และกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมลงทุนหรือกิจกรรมจัดหาเงิน ที่ประกอบด้วย

1.1 เงินสดรับ (Cash Inflows)

การแสดงรายการในงบกระแสเงินสดจะนำกระแสเงินสด เข้า และกระแสเงินสดจ่ายมาแสดงในส่วนของกิจกรรมลงทุนจึงเป็นกิจกรรม ที่เกิดจากการซื้อหรือขายสินทรัพย์ระยะยาว และเงินลงทุนที่ไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด ที่ประกอบด้วย

2.1 เงินสดรับ (Cash Inflows)

การแสดงรายการในงบกระแสเงินสดจะนำกระแสเงินสด เข้า และกระแสเงินสดจ่ายมาแสดงในส่วนของกิจกรรมจัดหาเงินจึงเป็น กิจกรรมที่เกิดจากกิจกรรมที่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาด และองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของกิจการ และส่วนกู้ยืม ของกิจการ ที่ประกอบไปด้วย

3.1 กระแสเงินสดรับ (Cash Inflows)

1. กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)

  • เงินสดรับจากลูกหนี้ค่าขายสินค้าหรือการให้บริการ
  • เงินสดรับจากเงินปันผลรับ
  • เงินสดรับจากดอกเบี้ยรับ
  • เงินสดรับอื่นจากการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่ารับ ค่าปรับ ค่าสิทธิ ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม

2. 1.2 เงินสดจ่าย (Cash Outflows)

  • เงินสดจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ
  • เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร)
  • เงินสดจ่ายค่าดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
  • เงินสดจ่ายค่าภาษีเงินได้
  • เงินสดจ่ายอื่นจากการดำเนินงาน

3. กิจกรรมลงทุน (Investing Activities)

  • เงินสดรับจากขายสินทรัพย์ระยะยาว เช่น การขายที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือสินทรัพย์ระยะยาวอื่น
  • เงินสดรับจากการขายเงินลงทุน
  • เงินสดรับจากการคืนเงินกู้ยืมจากลูกค้า
  • เงินสดรับจากการขายตราสารหรือสัญญาขายเงินตราล่วงหน้า

4. 2.2 เงินสดจ่าย (Cash Outflows)

  • เงินสดจ่ายจากการซื้อสินทรัพย์ระยะยาว เช่น การซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์ระยะยาวอื่น
  • เงินสดจ่ายจากการซื้อเงินลงทุน
  • เงินสดจ่ายจากการให้ลูกค้ากู้ยืมเงิน
  • เงินสดจ่ายจากการซื้อตราสารหรือสัญญาขายเงินตราล่วงหน้า

5. กิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities)

  • เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน หรือออกหุ้นกู้ หรือตั๋วเงิน
  • เงินสดรับจากการเพิ่มทุน หรือออกหุ้นทุน

6. 3.2 กระแสเงินสดจ่าย (Cash Outflows)

  • เงินสดจ่ายคืนเงินกู้ยืมหรือคืนหุ้นกู้
  • เงินสดจ่ายจากการซื้อหรือถอนหุ้นทุน

Credit : www.dharmniti.co.th


  • 0

ภาษีต้องห้ามที่เจ้าของธุรกิจควรรู้ !


Tags : 

ภาษีต้องห้ามเกิดขึ้น เพื่อกำหนดว่าค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ และค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถนำมาหักได้

ภาษีซื้อแบบไหนที่ไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้

  1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ ค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าหรือค่าบริการจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ไม่ออกใบกำกับภาษี การที่ไม่มีใบกำกับภาษีนั้นจะไม่สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อได้ เพราะไม่รู้ว่าผู้ขายเป็นใครผู้ซื้อเป็นใครและมีรายการซื้ออะไร
  2. ใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่ไม่เป็นไปตามกำหนดของกฎหมาย มีข้อความไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความไม่ถูกต้อง ก็ไม่สามารถใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ทางที่ดีนั้นคือควรตรวจสอบใบกำกับภาษีให้ดีทุกครั้งที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ
  3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม แม้การซื้อสินค้าหรือรับบริการจะมีใบกำกับภาษีที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่หากเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่นค่านมผง ค่าแพมเพิส ค่าขวดนม เป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรเลยกับกิจการค้าขายพลาสติกที่ทำอยู่นั้น ก็จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้เช่นกัน
  4. รายจ่ายเพื่อการรับรอง ค่ารับรองหรือค่าบริการหรือค่าให้ความอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลหรือแขกของกิจการ เป็นต้นว่า ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเครื่องบิน ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา ค่าของขวัญ ล้วนแล้วแต่ไม่สามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อเพื่อขอคืนภาษีได้
  5. การซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่ออกใบกำกับภาษีโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้แก่ บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่นอกราชอาณาจักรแต่มีตัวแทนออกแทนในนามผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกนำออกมาขายทอดตลาด หากซื้อสินค้าหรือบริการจากบุคคลหรือผู้ประกอบการที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะได้ใบกำกับภาษีมา แต่ก็ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อได้
  6. ภาษีซื้อทีเป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าไม่สามารถนำมาหักภาษีขายได้ ได้แก่
    • ค่าใช้จ่ายจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์ รวมถึงซื้อสินค้าและรับบริการเกี่ยวข้องกับรถยนต์ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
    • การซื้อสินค้าหรือรับบริการตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
    • การซื้อสินค้าเพื่อใช้เอง
    • ภาษีซื้อที่จากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์ แต่ได้นำอาคารนั้นไปขายหรือให้เช่าในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

Credit : www.smemove.com


  • 0

อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย(Interest Converage) คืออะไร


อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่วัดระหว่างกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีกับดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่บ่งบอกถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของกิจการ

สูตรในการคำนวน 
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย    =    กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี / ดอกเบี้ยจ่าย    (เท่า)

การตีความหมายของค่าที่คำนวณได้
หากค่าที่คำนวณได้ > 1 หมายถึง กิจการสามารถทำรายได้เพียงพอต่อการจ่ายดอกเบี้ย เป็นอัตราที่มีค่ายิ่งสูงยิ่งดี
หากค่าที่คำนวณได้ < 1 หมายถึง กิจการไม่สามารถทำรายได้เพียงพอต่อการจ่ายดอกเบี้ยมีความเสี่ยงที่เจ้าหนี้จะบังคับคดีตามกฎหมาย

Credit : www.doithai.com


  • 0

ข้อผิดพลาดของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนและการแก้ไขข้อผิดพลาด


Tags : 

 กิจการอาจพบข้อผิดพลาดในการจัดทำงบการเงินของงวดก่อน ๆ ในงวดปัจจุบัน  ข้อผิดพลาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นจากการคำนวณตัวเลขผิด  การนำนโยบายบัญชีมาปฏิบัติไม่ถูกต้อง  การตีความผิดพลาด  การทุจริตหรือความเลินเล่อ  ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจจำแนกได้ 3 ชนิด คือ

1. ข้อผิดพลาดในงบดุล ( Balance  Sheet  Errors ) หมายถึง  ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีสินทรัพย์  หนี้สิน  และทุน  อันเกิดจากการจำแนกประเภทบัญชีผิด  เช่น  การจัดจำแนกลูกหนี้การค้าระยะสั้นเป็นเงินลงทุนระยะสั้น  หรือการจัดตั๋วเงินจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่ายหรือการจัดสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น  ข้อผิดพลาดดังกล่าวนี้  จะต้องรายการแก้ไขปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องทันทีเมื่อตรวจพบ

                2. ข้อผิดพลาดในงบกำไรขาดทุน ( Income  Statement  Errors )  หมายถึง  ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีรายได้หรือค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการจำแนกประเภทบัญชีผิด  เช่น บันทึกค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร  หรือบันทึกรายได้จากดอกเบี้ยรับเป็นรายได้จากการขาย  ข้อผิดพลาดในการจำแนกรายการในงบกำไรขาดทุนผิดจะไม่มีผลกระทบต่องบดุลและงบกำไรขาดทุน  ดังนั้น  ถ้าหากเป็นข้อผิดพลาดของปีก่อที่ได้ปิดบัญชีไปแล้ว  ก็ไม่จำเป็นต้องลงรายการแก้ไขปรับปรุงเมื่อตรวจพบ  แต่ถ้าหากเป็นข้อผิดพลาดของปีปัจจุบันระหว่างปี  ก็จำเป็นต้องรายการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องทันทีเมื่อตรวจพบ

                3. ข้อผิดพลาดที่กระทบทั้งงบดุลและงบกำไรขาดทุน ( Balance  Sheet  and  Income  Statement  Effect ) หมายถึง  ข้อผิดพลาดที่มีผลกระทบต่อบัญชีสินทรัพย์ หรือ หนี้สิน หรือ ทุน  และกระทบต่อรายได้หรือค่าใช้จ่าย  เช่น  มิได้บันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่าย เช่น มิได้บันทึกรายได้ค้างรับ ณ วันสิ้นงวดการบัญชี  ผลของความผิดพลาดนี้จะทำให้รายได้ของงวดต่ำไป  ซึ่งเป็นผลทำให้กำไรสุทธิของงวดต่ำไป  และทำให้สินทรัพย์มีจำนวนต่ำไปด้วย 

Credit : www.myaccount-cloud.com


  • 0

การเลือกรูปแบบธุรกิจและพื้นฐานภาษี ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนทำธุรกิจก็ คือ “การเลือกรูปแบบธุรกิจ” เพราะธุรกิจแต่ละรูปแบบก็มีวิธีการจัดตั้งและข้อบังคับทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดภาระทางภาษีที่แตกต่างกันด้วย เช่น ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียวมีสถานะเป็น “บุคคลธรรมดา” หรือ ธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบบริษัทมี สถานะเป็น “นิติบุคคล” ซึ่งแบ่งเป็นการจดจัดตั้งเป็น 4 รูปแบบดังนี้

  1. เจ้าของคนเดียว

ธุรกิจเจ้าของคนเดียวเป็นการลงทุนคนเดียว การจัดตั้งทำได้ง่าย การบริหารคล่องตัวเพราะตัดสินใจคนเดียว กำไรจากกิจการไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่หากธุรกิจขาดทุน เจ้าของก็ต้องรับผิดชอบผลขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการรูปแบบนี้มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเจ้าของต้องแบกรับภาระของกิจการไว้ทั้งหมด ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียวมีสถานะทางกฎหมายเป็น “บุคคลธรรมดา” ถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเจ้าของ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ “ภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา” และหากธุรกิจเข้าข่ายกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ. ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของยังต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

กิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมกันลงทุน ผู้ที่มาลงทุนในกิจการเรียกว่า “หุ้นส่วน” ทุนที่หุ้นส่วนนำมาลงในกิจการอาจจะเป็นเงิน สินทรัพย์อื่น หรือแรงงาน ก็ได้ โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญโดยเริ่มต้นแล้วมีสถานะเป็น “บุคคลธรรมดา” ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” และหากธุรกิจเข้าข่ายกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ ยังต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย

แต่ถ้าหากห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” นอกจากนี้ในแง่ของการดำเนินคดีทางกฎหมาย เช่น หากเกิดคดีความฟ้องร้อง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล ผู้ฟ้องจะฟ้องร้องหุ้นส่วนคนไหนก็ได้ แต่หากห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว การฟ้องร้องจะต้องฟ้องร้องตัว ห้างหุ้นส่วนก่อน หากห้างหุ้นส่วนมีทรัพย์สินไม่พอ จึงค่อยฟ้องร้องหุ้นส่วน

นอกจากนี้ห้างหุ้นส่วนสามัญยังมีข้อจำกัดในเรื่องการโอนหุ้น คือ การโอนความเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคนก่อน จึงจะทำได้

ในอดีตผู้ประกอบการบางรายเลือกรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล สำหรับกิจการของตนเพราะคิดว่าเป็นการประหยัดภาษี เนื่องจากส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ต้องนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของตัวหุ้นส่วนอีกรอบหนึ่ง ต่างจากห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องนำ เงินปันผลไปรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหากต้องการใช้เครดิตภาษีเงินปันผล  อย่างไรก็ตามปัจจุบันกรมสรรพากรได้แก้ไขข้อกฎหมายโดยกำหนดให้ส่วนแบ่งกำไร จากห้างหุ้นส่วนสามัญต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนอีกรอบหนึ่ง และไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้โดยมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.2558

  1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

เป็นกิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมกันลงทุน การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล และหากธุรกิจเข้าข่ายกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของยังต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย ข้อแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

“หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด”  หมายถึง เครดิตภาษีเงินปันผลคือส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัทที่ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว โดยผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากนิติบุคคลสามารถเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ โดยนำเครดิตภาษีมารวมเป็นเงินได้ เพื่อคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องเสีย แล้วจึงนำเครดิตภาษีมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย ทำให้ท้ายที่สุดแล้วส่วนแบ่งกำไร หรือเงินปันผลที่ได้รับนั้นเสียภาษีบุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว หุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน

“หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด” หมายถึงหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจำกัดจำนวน คือไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไปเท่านั้น การโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำกัดทำได้ง่ายกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสามารถโอนหุ้นให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคน

ห้างหุ้นส่วนสามัญ -หุ้นส่วนทุกคนไม่จำกัดความรับผิดชอบ

>> สถานะเป็นบุคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

>> การโอนความเป็นหุ้นส่วนต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคน

ข้อดีห้างหุ้นส่วนจำกัด -หุ่นส่วนมีประเภทจำกัด และไม่จำกัดความรับผิดชอบ

>> สถานะเป็นนิติบุคคล

>> การโอนหุ้นของหุ้นส่วนประเภทจํากัดความรับผิดชอบทําได้โดยไม่ จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคน

>> ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี 

  1. บริษัทจำกัด

เป็นกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป นำเงินมาร่วมกันลงทุนแบ่งออก เป็น”หุ้น” ซึ่งแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน แต่ “ผู้ถือหุ้น” แต่ละคนอาจมีจำนวนหุ้นไม่เท่ากันก็ได้ ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ตนเองถืออยู่ และมีส่วนรับผิดชอบไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่ หากยังชำระค่าหุ้นไม่ครบก็ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมแค่ส่วนของมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ จึงเป็นที่มาของคำว่าบริษัทจำกัดนั่นเอง

เนื่องจากแหล่งเงินทุนของบริษัทจำกัดมาจากเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นหลายคน การบริหารและอำนาจการตัดสินใจจึงไม่ได้อยู่ที่เจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่จะบริหารในรูปแบบของ “คณะกรรมการบริษัท” ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท แต่อาจเป็นบุคคลภายนอกที่เป็นมืออาชีพก็ได้

บริษัทจำกัดมีสถานะเป็น “นิติบุคคล” ซึ่งต้องจดทะเบียนจัดตั้ง และมีข้อบังคับทางกฎหมายมากกว่าธุรกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนหรือเจ้าของคนเดียว แต่ก็มีความน่าเชื่อ ถือมากกว่าเช่นกัน

ข้อดี

>> จํากัดความรับผิด

>> บริหารแบบมืออาชีพ

>> มีความน่าเชื่อถือ

>> อัตราภาษีเงินได้ขั้นสูงสุดต่ำกว่าบุคคลธรรมดา

ข้อเสีย

>มีขั้นตอนการจัดตั้งมากกว่ารูปแบบอื่น

> บริหารในรูปคณะกรรมการ

> อาจไม่คล่องตัวในบางสถานการณ์

> ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงกว่าบุคคลธรรมดา

> ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี

Credit : www.bangkokbanksme.com