Author Archives: admin_edit

  • 0

8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี


Tags : 

1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท

รายจ่ายแบบแรกที่ห้ามนำไปหักภาษีเด็ดขาดคือรายจ่ายของผู้บริหารบริษัทที่อยู่นอกระเบียบบริษัท เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ งานบวช หรือกระทั่งงานศพของพนักงาน เป็นต้น รายจ่ายแบบนี้ ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจน ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท

ดังนั้นในทางที่ดีถ้าบริษัทมองว่ารายจ่ายเหล่านี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นและจะใช้เงินบริษัทมาจ่าย ก็ควรจะทำการระบุไว้ในระเบียบของบริษัทให้ชัดครับ เช่น ระบุว่าผู้บริหารจะมีค่าน้ำมันเดือนละเท่าไร หรือถ้าพนักงานไปบวชหรือเสียชีวิต บริษัทจะให้เงินช่วยเหล่าเท่าไรในฐานะของสวัสดิการพนักงาน เป็นต้น

2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินโควต้า

รายจ่ายแบบที่สองที่ห้ามนำไปหักภาษี คือค่ารับรองลูกค้าที่เกินโควต้า คนทำธุรกิจโดยทั่วไปก็น่าจะเข้าใจว่ากว่าจะปิดดีลกับลูกค้าได้ ก็ต้อง “เลี้ยง” ลูกค้าไปหลายรอบ อย่างไรก็ดีการเลี้ยงเหล่านี้ในทางกฎหมายมีโควต้าว่าต้องเลี้ยงไม่เกินหัวละ 2,000 บาทต่อครั้งเท่านั้น (นับหัวรวมพนักงานที่พาไปเลี้ยงด้วย) และรายจ่ายพวกนี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัทด้วย โดยเพดานของรายจ่ายตรงนี้สูงสุดอยู่ที่ 10 ล้านบาท นหมายความว่าไม่ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าแค่ไหนกว่าจะปิดดีลได้ แต่รายจ่ายตรงนั้นจะไม่สามารถเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีถ้าเกินเพดานที่ว่าไปครับ

3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ

รายจ่ายแบบที่สามที่ต้องห้ามเลยในการเอามาหักภาษี คือรายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ พูดง่ายๆ ก็คือ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนไปว่าจ่ายไปที่ใคร อันนี้อาจพบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างอุปกรณ์สำนักงาน ล้างแอร์บริษัท หรือกระทั่งการจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปส่งเอกสาร ประเด็นคือ รายจ่ายเหล่านี้ หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จให้ มันก็จะไม่มีหลักฐานใดๆ ว่ารายจ่ายพวกนี้จ่ายไปที่ใคร และจะไม่สามารถนำมาหักภาษีได้ครับ

4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายจ่ายแบบที่สี่ ที่บริษัทอาจนับเป็นรายจ่ายของบริษัท แต่สรรพากรไม่นับ คือรายจ่ายที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ มันจะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเก็บไว้เพื่อนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร เช่นบริษัทขายของได้ 100 บาท บริษัทก็ได้จริงๆ 93 บาท อีก 7 บาทต้องเก็บไว้นำจ่ายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากร ประเด็นคือ 7 บาทที่ว่านี้ ไม่สามารถเอามาคิดเป็น “รายจ่าย” ของบริษัทตอนเสียภาษีเงินได้นะครับ

5. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก

รายจ่ายแบบที่ห้าที่ห้ามนำไปหักเวลาคำนวณภาษี คือ รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก บริษัทจำนวนมากมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งในทางบัญชีปกติ บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน แต่ในทางภาษี ตามกฎหมายไทย บริษัทไม่ว่าจะแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกันในทางภาษี ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง จึงเป็นเรื่องของการไหลเวียนของเงินในบริษัท ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้

6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

รายจ่ายแบบที่หกที่ห้ามนำมาหักตอนเสียภาษาโดยเด็ดขาดก็คือ รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง บริษัทจำนวนมากมีทรัพย์สินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในทางบัญชีทั่วๆ ไปก็จะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ตลอด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมากขึ้นหรือลดลง ซึ่งกรณีที่มันลดลง ในทางบัญชีปกติก็อาจถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์บริษัทลดลง แต่ในทางภาษี เนื่องจากยังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น และการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่แน่นอนตายตัวในรายละเอียด ทางสรรพากรจึงห้ามเอาการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ซึ่งลดลงไปมาคิดเป็นรายจ่ายเด็ดขาด

7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป

รายจ่ายแบบที่เจ็ดที่ห้ามนำมาหักออกจากรายได้ในทางภาษีก็คือ รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป อันนี้เป็นในกรณีที่บริษัทสร้างรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ เช่น การขุดแร่หรือตัดไม้มาขาย แน่นอนว่าจากมุมของบริษัท เมื่อเอาทรัพยากรมาใช้แบบนี้ ทรัพยากรย่อมลดลง และในทางบัญชีโดยทั่วไปก็ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณกันไป แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ สิ่งเหล่านี้ ในทางภาษีไม่สามารถนำมานับเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะมันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป และถ้าเปิดโอกาสให้เอาส่วนนี้มาเป็นรายจ่าย บริษัทก็มีแนวโน้มจะประเมินมูลค่าทรัพยากรที่เสียไปเกินจริง

8. รายจ่ายค่าปรับ

รายจ่ายแบบสุดท้ายที่ห้ามเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีแน่ๆ ที่เราจะพูดถึงในที่นี้คือรายจ่ายค่าปรับครับ ค่าปรับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอกับบริษัทไม่ว่าบริษัทจะทำผิดกฎหมายระดับเล็กน้อยหรือมาก และเมื่อต้องเสียค่าปรับ ก็แน่นอนว่ามันเป็นเงินของบริษัทที่ต้องจ่ายออกไป และในทางบัญชีทั่วไปก็ต้องคิดเป็นรายจ่าย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบริษัทจะเสียไปตรงนี้จริง ในทางภาษีเราไม่สามารถเอาพวกค่าปรับต่างๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เพราะจากมุมของสรรพากร รายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ มันจึงเอามาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีของบริษัทไม่ได้

 

Credit : https://sme.ktb.co.th


  • 0

TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า


“รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า”  หรือ TFRS 15 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ดังนั้นนักบัญชีและผู้เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องความเข้ากับมาตรฐานใหม่นี้ไว้ให้ดีครับ

สภาวิชาชีพบัญชี ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง “รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า” ซึ่งมีผลบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่รวบรวมเรื่องรายได้ไว้ในที่เดียว และยกเลิกมาตรฐานเกี่ยวกับรายได้เรื่องอื่นๆ ที่เคยใช้มา เช่น สัญญาก่อสร้าง รายได้ หรือการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า สัญญาสำหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การโอนสินทรัพย์จากลูกค้า รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา การจัดทำมาตรฐานดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกาเพื่อให้มาตรฐานเรื่องรายได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้คือกิจการจะรับรู้รายได้เมื่อได้โอนการควบคุม (Transfer of control) ในสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าแล้ว หรือมองในมุมกลับกันคือลูกค้าได้ควบคุมสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว มาตรฐานฉบับนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากิจการอาจมีรายได้หลายประเภทรวมอยู่ในสัญญาที่ทำกับลูกค้า และอาจมีราคาที่เปลี่ยนแปลงได้ การรับรู้รายได้อาจมีวิธีการและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามภาระด้วยเงื่อนไขที่ทำกับลูกค้าหรือสถานการณ์บางอย่างได้เกิดขึ้น  มาตรฐานได้กำหนดขั้นตอนสำคัญในการรับรู้รายได้ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า

สัญญาเป็นข้อตกลงของบุคคลสองฝ่ายที่ทำให้เกิดสิทธิและภาระผูกพันที่ใช้บังคับได้ ซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษร วาจาหรือประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ประการคือ คู่สัญญาได้อนุมัติสัญญาแล้ว กิจการสามารถระบุสิทธิของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเกี่ยวกับสินค้าบริการที่จะส่งมอบ กิจการสามารถระบุเงื่อนไขการชำระสิ่งตอบแทนได้ สัญญามีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะเรียกเก็บสิ่งตอบแทนที่กิจการมีสิทธิที่จะได้รับ

2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา

ในวันเริ่มต้นสัญญากิจการต้องระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญาว่ากิจการจะส่งมอบสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกัน (Distinct) ซึ่งมีเงื่อนไข 2 ข้อคือ (1) ลูกค้าได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการนั้น หรือ ใช้ควบคู่ไปกับทรัพยากรที่ลูกค้ามี และ (2) ข้อตกลงนั้นแยกจากข้อตกลงในสัญญาอื่น  ตัวอย่าง เช่น กิจการขายเครื่องรับโทรทัศน์  ขายรถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการที่เป็นเอกเทศและสามารถนำไปใช้ได้ทันทีและแยกจากข้อตกลงในสัญญาอื่นๆ

นอกจากนี้ กิจการอาจส่งมอบชุดของสินค้าและบริการที่แตกต่างกันแต่มีลักษณะเนื้อหาโดยส่วนใหญ่เหมือนกันและรูปแบบการส่งมอบให้ลูกค้าเหมือนกัน (series) เช่น การให้บริการสร้างบ้าน มีวัสดุในการก่อสร้างที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาผสมผสานกันในการก่อสร้างจะกลายเป็นบ้านที่จะส่งมอบให้ลูกค้าได้

3. การกำหนดราคาของรายการ

กิจการต้องพิจารณาข้อตกลงในสัญญาและประเพณีปฏิบัติในธุรกิจในการกำหนดราคาของรายการ ซึ่งอาจเป็นสิ่งตอบแทนที่มีมูลค่าคงที่ มูลค่าผันแปรหรือทั้งสองแบบ   สิ่งตอบแทนคงที่ เช่น จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา สิ่งตอบแทนผันแปร เช่น ส่วนลดที่คำนวณจากปริมาณซื้อตามเป้าหมายที่กำหนด โดยใช้วิธีมูลค่าคาดหวังหรือวิธีจำนวนเงินที่เป็นไปได้สูงสุด สิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ลูกค้าชำระค่าสินค้าเป็นสินทรัพย์หรือหุ้น สิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้ลูกค้า เช่น คูปองหรือส่วนลด (กรณีของโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า) นอกจากนี้ กิจการต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญหรือไม่ หรือมีการคิดดอกเบี้ยในราคาสินค้าหรือบริการ ซึ่งต้องมีการแยกส่วนนี้ออกมาต่างหาก (มาตรฐานได้มีข้อผ่อนปรนในทางปฏิบัติหากการชำระหนี้มีระยะเวลาหนึ่งปีหรือสั้นกว่า กิจการไม่ต้องแยกองค์ประกอบดังกล่าว)

4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ

กิจการส่วนใหญ่จะรวมสินค้าและบริการหลายชนิดไว้ด้วยกันและขายในราคาที่ถูกกว่าการที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าและบริการแยกเป็นรายชิ้น ดังนั้น กิจการต้องปันส่วนโดยอาศัยราคาขายแบบเอกเทศเป็นเกณฑ์ในการปันส่วน (Stand-Alone Selling Prices) ให้กับสินค้าและบริการเนื่องจากกิจการอาจมีการปฏิบัติตามภาระที่แตกต่างกันและทำให้รับรู้รายได้ในเวลาและวิธีที่แตกต่างกัน กิจการอาจปันส่วนราคาโดยอาจใช้วิธีสำรวจราคาตลาดในกรณีที่หาได้ หรือถ้าไม่สามารถหาได้อาจใช้วิธีต้นทุนที่คาดไว้บวกอัตรากำไรหรือวิธีส่วนของราคาที่เหลือ

5. รับรู้รายได้เมื่อได้ทำตามภาระที่กำหนดไว้ในสัญญา 

ภาระที่กำหนดไว้ในสัญญาอาจมีลักษณะที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น (1) ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง (Point over time) หรือต้องปฏิบัตให้เสร็จสิ้น (2) ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Point in time)  ซึ่งกิจการต้องพิจารณาก่อนว่ามีภาระตามข้อแรกหรือไม่ หากไม่เข้าเงื่อนไขในข้อแรกจึงพิจารณาในข้อสองต่อไป

– 5.1 เงื่อนไขที่ใช้ในการพิจารณาแบบที่ (1) มีสามข้อ (เมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง) คือ 1. ลูกค้าได้รับและใช้ประโยชน์จากการทำงานพร้อมกันของกิจการทันทีที่ได้ปฏิบัติงาน เช่น การให้บริการทำความสะอาด หรือ 2. กิจการได้สร้างหรือทำให้สินทรัพย์ของลูกค้าเพิ่มขึ้น เช่น งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญาก่อสร้าง หรือ 3. การทำงานของกิจการไม่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ที่กิจการมีทางเลือกอื่นในการนำไปใช้ และกิจการมีสิทธิบังคับให้จ่ายชำระสิ่งตอบแทนสำหรับงานที่ได้ทำเสร็จสิ้นจนถึงปัจจุบัน เช่น งานบริการติดตั้งระบบเครือข่ายของกิจการ ที่หากมีการเลิกสัญญากิจการสามารถเรียกให้ลูกค้าชำระเงินสำหรับงานที่ทำจนถึงปัจจุบันได้  หากกิจการมีภาระที่เข้าเงื่อนไขแบบใดแบบหนึ่งข้างต้น กิจการต้องรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานโดยวัดระดับความก้าวหน้าของภาระงานโดยอาจวัดจากวิธีปัจจัยนำเข้า (Input Method) หรือวิธีผลลัพธ์ (Output Method) ซึ่งเราคุ้นเคยมาก่อนในการวัดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จในมาตรฐานเรื่องสัญญาก่อสร้างนั่นเอง

– 5.2 ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการพิจารณาแบบที่ (2) กิจการต้องพิจารณาข้อบ่งชี้ในการโอนอำนาจการควบคุมสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น กิจการมีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินสำหรับสินทรัพย์ หรือลูกค้ามีกรรมสิทธิ์ทางกฏหมายในสินทรัพย์ หรือกิจการได้ส่งมอบสินทรัพย์แล้ว หรือกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญให้ลูกค้าแล้ว หรือลูกค้าได้ยอมรับสินทรัพย์แล้ว หากมีข้อบ่งชี้ดังกล่าว กิจการก็สามารถรับรู้รายได้จากการโอนการควบคุมสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า ณ เวลานั้นได้ เช่น การขายสินค้าทั่วไป กิจการก็ส่งมอบสินค้าและลูกค้ายอมรับสินค้านั้นแล้ว กิจการจึงรับรู้รายได้ หากกิจการได้รับชำระเงินมาก่อนแต่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า กิจการก็ยังไม่สามารถรับรู้รายได้จนกว่าจะทำการส่งมอบสินค้าให้อยู่ในการควบคุมของลูกค้า

Credit : www.daa.co.th


  • 0

 กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

EBIT (Earnings Before Interest and Taxes) คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income) มันเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทโดยไม่คำนึงถึง ภาษี และ ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ซึ่งทำให้การนำ EBIT ไปใช้วิเคราะห์ หรือเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure) ที่แตกต่างกันออกไปนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง

EBIT = Revenue – Operating Expenses – COGS

โดยตามสูตรด้านบนแล้ว เราสามารถคำนวณหา EBIT หรือ กำไรจากการดำเนินงาน ได้จากการนำรายรับมาหักออกด้วยต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ERP product

Credit : www.hoondb.com


  • 0

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์


Tags : 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์ แบ่งได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

Credit : https://www.rd.go.th


  • 0

การจำแนกประเภทต้นทุนเพื่อการบริหาร(เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี)


Tags : 

การจำแนกต้นทุนมีหลายลักษณะซึ่งขึ้นอยู่กับประโยชน์ของการนำใช้โดยมีการแบ่งออกเป็นดังนี้

1. จำแนกตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์

2. จำแนกตามลักษณะต้นทุนการผลิต

3. จำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน

4. จำแนกตามความสัมพันธ์ของหน่วยต้นทุน

5. จำแนกตามสายงานการผลิต

6. จำแนกตามหน้าที่งานในกิจการ

7. จำแนกตามความสัมพันธ์กับเวลา

8. จำแนกตามลักษณะความรับผิดชอบ

9. จำแนกตามลักษณะของปัญหาเพื่อการตัดสินใจ

จะเห็นได้ว่ามีการจำแนกต้นทุนได้ถึง 9 ลักษณะตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้หรือผู้บริหารที่จะนำข้อมูลต้นทุนไปใช้ในการวางแผนและบริหารธุรกิจของตนเอง แต่การจำแนกต้นทุนที่นิยมใช้ในการวางแผนและดำเนินการมีเพียง 4 ลักษณะดังนี้

การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบหลักเพียง 3 รายการคือ

1. วัตถุดิบ ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็จะแบ่งเป็นวัตถุดิบทางตรงและทางอ้อม

2. ค่าแรงงาน คือค่าจ้างคนทำงานในการผลิตสินค้านั้น โดยแบ่งเป็นค่าแรงงานทางตรง และค่าแรงงานทางอ้อม

3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิตที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุดิบและค่าแรงซึ่งเกิดขึ้นในการดำเนินงานด้านการผลิตของกิจการนั้นๆ

การจำแนกตามส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงสัดส่วนของการใช้ทรัพยากรทั้งสามรายการและสามารถวางแผนลดต้นทุนในแต่ละรายการได้ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการใช้วัตถุดิบให้ถูกลงหรือแพงขึ้นเพื่อการตั้งราคาสินค้าขายได้อีกด้วย

 

การจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนประเภทนี้ก็เพื่อนำข้อมูลต้นทุนมาวิเคราะห์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุมและวัดผลดำเนินการได้ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือการรับจ้างผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นทุนตามพฤติกรรมสามารถจำแนกออกได้ 3 ชนิดมีดังนี้

1. ต้นทุนผันแปร (Variable cost) ต้นทุนประเภทนี้จะแปรผันไปตามปริมาณการผลิตสินค้าโดยมีการใช้สัดส่วนของวัตถุดิบและค่าแรงงานที่แน่นอน ยิ่งผลิตมากต้นทุนนี้ก็จะมีปริมาณสูงขึ้นผันแปรตามการผลิตด้วย

2. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นคงที่ไม่ว่าจะมีการผลิตมากขึ้นหรือน้อยลงก็ตาม ทุกกิจการจะมีต้นทุนคงที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะมีการขายสินค้านั้นได้หรือไม่ก็ตาม เช่น เงินเดือนผู้จัดการ ค่าเช่าโรงงาน เป็นต้น

3. ต้นทุนผสม (Mixed cost) มีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนกึ่งผันแปร และต้นทุนกึ่งคงที่ ซึ่งต้นทุนกึ่งผันแปรจะเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าเครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนหนึ่งและมีค่าใช้จ่ายผันแปรเมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นเป็นต้น

 

การจำแนกต้นทุนตามหน้าที่งานในกิจการ เป็นการคิดต้นทุนที่เกิดขึ้นตามการแบ่งหน้าที่งานในองค์กรหรือธุรกิจนั้น เจ้าของกิจการสามารถตั้งงบประมาณเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละหน้าที่งานในองค์กรได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 4 หน้าที่งานใหญ่ดังนี้

1. ต้นทุนของฝ่ายผลิต เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและฝ่ายงานผลิตทั้งหมด

2. ต้นทุนของฝ่ายขายและตลาด เป็นต้นทุนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการขาย เช่นค่าส่งเสริมการขาย ค่าคอมมิชชั่น ค่าโฆษณา เป็นต้น

3. ต้นทุนของฝ่ายการเงิน เป็นต้นทุนที่เกิดจากการจัดหาเงินทุนมาใช้ในกิจการเช่นดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมธนาคารเป็นต้น

4. ต้นทุนของฝ่ายบริหาร เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจการ การควบคุม การสั่งงานซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมดนั่นเอง

 

การจำแนกต้นทุนตามลักษณะของปัญหาเพื่อการตัดสินใจ เป็นต้นทุนที่ผู้บริหารจะให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจในธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นใช้ในการตัดสินใจเรื่องการซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องจักรเดิม, ใช้ในการตัดสินใจเรื่องหยุดการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง, ใช้ในการตัดสินใจเรื่องการลดราคาหรือจัดโปรโมชั่นสินค้าที่ล้าสมัย เป็นต้น ตัวเลขต้นทุนจึงมักถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้

1. ต้นทุมจม (sunk cost) คือต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจในอดีต หรือได้จ่ายไปแล้วในอดีต ไม่มีผลต่อการตัดสินใจในปัจจุบัน แม้ว่าบริษัทจะเปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่ก็ตามแต่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว ที่ทำไว้ตั้งแต่ในอดีต เป็นต้น

2. ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ คือต้นทุนที่จะประหยัดได้หากมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

3. ต้นทุนเสียโอกาส คือผลตอบแทนที่จะได้รับหรือค่าใช้จ่ายที่จะต้องสูญเสียไปเมื่อมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

4. ต้นทุนส่วนแตกต่าง คือต้นทุนที่ผู้บริหารจะนำมาพิจารณาว่ามีความแตกต่างกันจำนวนเท่าใดถ้าตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นเลือกที่จะซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเดิม

5. ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย หมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณผลิตขึ้น 1 หน่วย หรือในทางกลับกันก็หมายถึงต้นทุนรวมที่ลดลงต่อหน่วยเมื่อลดปริมาณการผลิตลง 1 หน่วย เพื่อช่วยให้ผู้บริหารนำมาพิจารณาได้ว่าการเพิ่มการผลิตเพียง 1 หน่วยจะมีต้นทุนเพิ่มหรือลดลงจำนวนเท่าใด

ผู้ประกอบการธุรกิจและผู้บริหารควรเลือกวิธีจำแนกต้นทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่นำไปใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับกิจการของตนเองเพราะการจำแนกต้นทุนที่ผิดวัตถุประสงค์ก็อาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามการจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก็เป็นการจำแนกต้นทุนตามพื้นฐานของทุกกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการควรมีการจัดทำขึ้นอย่างจริงจังและมีตัวเลขที่ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้วิธีการประมาณการเองจะทำให้เกิดปัญหาขาดทุนได้ภายหลัง การจำแนกต้นทุนจะต้องเริ่มต้นจากการที่กิจการมีการบันทึกและเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนอย่างถูกต้อง แม่นยำและเป็นระบบ เพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นมาจำแนกได้ตามลักษณะที่ผู้บริหารต้องการนำไปใช้และช่วยในการตัดสินใจเลือกทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ERP product


  • 0

วางแผนเกษียณ เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง


Tags : 

ควร วางแผนเกษียณ เมื่อใด?

คำถามนี้อาจจะไม่ได้อยู่ในความคิดของคุณเลยด้วยซ้ำ ยิ่งเป็นวัยรุ่นวัยเริ่มต้นทำงานยิ่งลืมไปได้เลย ว่าเราควรจะเตรียมตัวเกษียณตั้งแต่เมื่อไหร่ จริง ๆ แล้วนั้นคุณควรจะวางเป้าหมายชีวิตวัยเกษียณอย่างคร่าว ๆ ไว้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ เพื่อที่คุณจะได้มีเป้าหมายในการวางแผนชีวิต ให้เป็นไปตามเป้าหมายของคุณ โดยอาจจะปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาบ้าง ซึ่งเป้าหมายการเกษียณของแต่ละคนก็อาจจะไม่เท่ากัน อย่างบางคนอาจจะตั้งเป้าเกษียณอายุไว้ เมื่อมีอายุ 45 ปี 50 ปี 55 ปี หรือ 60 ปี อันนี้ก็แล้วแต่คุณจะวางแผนเอาไว้ แต่สุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องเข้าสู่ช่วงชีวิตที่เป็นวัยชราหรือวัยเกษียณกันทั้งนั้น

ดังนั้น การวางแผนไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญประการแรก ๆ เพื่อจะได้เตรียมแผนชีวิตให้ดี และไม่มีปัญหาในบั้นปลายของชีวิตนั่นเอง สำหรับขั้นตอนการวางแผนเกษียณนั้น คุณควรจะเริ่มวางแผนตามช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของแต่ละคน ซึ่งแนะนำว่าคุณควรจะวางแผนเกษียณตั้งแต่ที่อายุยังน้อย เพื่อที่จะได้มีเวลาทำตามแผนได้ตามเป้าหมายที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

การคำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

ขั้นตอนแรกของการวางแผนเกษียณก็คือ การคำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ แล้วมาประเมินว่าในปัจจุบันคุณมีรายรับเท่าไหร่และรายจ่ายเท่าไหร่ จากนั้นก็จัดการวางแผนการเงิน โดยแบ่งส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ใช้เก็บเพื่อเกษียณอายุ รวมถึงแบ่งเงินอีกจำนวนหนึ่งไว้ใช้ลงทุนหรือเข้ากองทุนเพื่อการออมต่าง ๆ เมื่อคุณได้เงินเก็บสักก้อนหนึ่งก็สามารถนำเงินนั้นไปลงทุนในด้านอื่น ๆ ต่อไป เพื่อหวังผลกำไรเป็นรายได้อีกทาง หากว่าเป้าหมายหลังเกษียณของคุณนั้นใช้เงินจำนวนมาก และรายได้ในปัจจุบันเมื่อนับปีไปแล้วคาดว่าจะไม่เพียงพอ สิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือการหารายได้เสริมเพื่อมาช่วยเพิ่มเงินออม และเพิ่มสภาพคล่องในการใช้ชีวิตของคุณนั่นเอง

ตัวอย่างการเตรียมตัวเกษียณอายุ

คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าคุณอยากจะใช้ชีวิตแบบไหน เมื่อคุณเข้าสู่ช่วงเกษียณอายุ เพราะจะทำให้คุณรู้ว่าต่อเดือนคุณจะใช้เงินเท่าไหร่ ถ้าหากอยากให้ชีวิตหรูหราฟู่ฟ่า ไปเที่ยวต่างประเทศ คุณก็ต้องเตรียมเงินมากหน่อย แต่หากอยากใช้ชีวิตแบบชิล ๆ เข้าสู่ธรรมชาติ ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเตรียมเงินเยอะมากนัก โดยการคำนวณเงินที่ต้องเตรียมสำหรับเกษียณอายุนั้น ใช้เพียง 2 สิ่งเป็นหลักในการคำนวณ นั่นก็คือ

1. ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ดูง่าย ๆ คือ ดูจากค่าใช้จ่ายต่อเดือนในปัจจุบันของคุณ โดยบางตำราจะกล่าวว่า 70% ของรายได้ปัจจุบันของคุณ แต่สูตรนี้เป็นเพียงสูตรคร่าว ๆ เท่านั้น ยังต้องคำนึงถึงไลฟ์สไตล์หลังเกษียณของคุณด้วยว่า จะใช้ชีวิตแบบไหน และนอกจากนั้น ยังต้องคำนึงภาวะเงินเฟ้อ ภาวะค่าเงิน ค่าครองชีพที่แตกต่างและอาจจะเพิ่มขึ้นตามกาลเวลาอีกด้วย

2. จำนวนปีที่คุณคิดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ค่าเฉลี่ยของชีวิตมนุษย์โดยทั่วไปคือ 80 ปี ดังนั้น แต่เนื่องด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน อาจทำให้มนุษย์มีชีวิตยาวนานขึ้น เราจึงขอยกตัวอย่างการออมเงินเพื่อการเกษียณ ที่อายุ 90 ปี

 

Credit : www.moneyguru.co.th


  • 0

สรุปแนวความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร


Tags : 
  1. ความหมายของภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากรอาจแบ่งเป็น 2 แนว

แนวที่หนึ่ง อธิบายว่า ภาษีอากรคือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร

แนวที่สอง อธิบายว่า ภาษีอากรคือเงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล  แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล

  1. วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีอากร

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้  ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า  รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน  หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล  (เช่น  การศึกษา  การสวัสดิการสังคม  นโยบายประชากร)  ด้วย

  1.    ลักษณะของภาษีอากรที่ดี

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น  มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง  เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากรและให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้

        3.1   มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคนประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล

        3.2    มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ

        3.3   มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร

        3.4    มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด

        3.5   มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

        3.6   มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 

  1.  โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร

กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้อสำคัญอันเป็นโครงสร้างของกฎหมายฉบับนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  6 หัวข้อด้วยกัน  คือ

        4.1   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร หรือผู้อยู่ในข่ายเสียภาษีอากร จะเป็นใครบ้างย่อมแล้วแต่กฎหมายนั้นๆ จะกำหนด แต่โดยทั่วไปมักได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

        4.2  ฐานภาษีอากร  ในความหมายอย่างกว้าง  หมายถึงสิ่งที่เป็นมูลเหตุให้ต้องเสียภาษีอากร  เช่น การมีรายได้  การมีทรัพย์สิน  หรือการใช้จ่าย  เป็นต้น  ในความหมายอย่างแคบ   หมายถึง  สิ่งที่รองรับอัตราภาษีอากร  (ภาษีอากรที่ต้องเสีย =  ฐานภาษีอากร  ×  อัตราภาษีอากร)

        4.3  อัตราภาษีอากร  แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ  คือ  แบบคงที่  แบบก้าวหน้า แบบถดถอย  ทั้งนี้โดยการพิจารณาว่าอัตราภาษีอากรมีการเปลี่ยนแปลงไป  กล่าวคือ  ถ้าจำนวนของฐานภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง  แต่อัตราภาษีอากรยังคงเท่าเดิม เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้เรียกว่าอัตราภาษีอากรแบบคงที่ เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบันและ  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  แต่ถ้าฐานภาษีอากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นและอัตราภาษีอากรก็เพิ่มขึ้นด้วย  เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้ว่าอัตราภาษีอากรแบบก้าวหน้า  เช่น  อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และถ้าฐานภาษีอากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่อัตราภาษีอากรกลับลดลง เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้ว่าอัตราภาษีอากรแบบถดถอย  เช่น  อัตราภาษีบำรุงท้องที่

        4.4  การประเมินจัดเก็บภาษีอากร ภาษีอากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง โดยประเมินหรือคำนวณตามวิธีการและตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากรตามจำนวนที่พึงต้องชำระ  ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรไม่ดำเนินการประเมินตนเองหรือประเมินตนเองอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่สมบรูณ์ก็จะมีการประเมินโดยเจ้าพนักงานซึ่งในกรณีหลังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก ภาษีอากรที่ต้องเสียในบางกรณีแม้ไม่ถึงกำหนดเวลาชำระภาษีอากร  เจ้าพนักงานประเมินก็อาจดำเนินการประเมินล่วงหน้าให้ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระภาษีอากรก่อนถึงกำหนดเวลาได้  นอกจากนี้ในหลายๆ กรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ภาษีเป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่ายแล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนดเวลา  ดังที่เรียกว่าการหักภาษี  ณ  ที่จ่าย ภาษีที่ถูกหักไว้นี้มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษี  ซึ่งสามารถนำไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียเมื่อถึงกำหนดเวลาหรืออาจได้รับคืนถ้าถูกหักไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสีย  อนึ่งเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนประเมินภาษีอากรและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร กฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้ที่กฎหมายกำหนดต้องปฏิบัติหน้าที่บางประการ เช่น  การจดทะเบียน  การมีและการใช้เลขประจำตัว  การจัดทำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานบางอย่าง  รวมทั้งให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจค้น  ยืด  หรืออายัดหลักฐานต่างๆ ในบางกรณีด้วย

         4.5  การอุทธรณ์ภาษีอากร  ในกรณีเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร  เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียหรืออำนาจการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร  และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่  กฎหมายมักกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วนเสียก่อน  มิฉะนั้นผู้เสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้  ตัวอย่าง เช่น  การประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  หรืออากรแสตมป์นั้น  ถ้าผู้เสียภาษีอากรไม่เห็นด้วยกับ การประเมินเรียกเก็บ  ก็จะต้องอุทธรณ์  การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เสียก่อนภายใน  30  วันนับตั้งแต่วันได้รับแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร  จะนำคดีขึ้นสู่ศาลทันทีไม่ได้

        4.6   เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ ผู้ไม่ชำระภาษีอากรจะต้องรับผิดชอบในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระพร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้นต่างหาก ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ กฎหมายมักให้อำนาจเจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างโดยไม่ต้องฟ้องคดีศาล นอกจากนี้ยังอาจต้องรับโทษทางอาญาอีกโสดหนึ่ง เช่น เสียค่าปรับและหรือต้องระวางโทษจำคุกอีกด้วย

  1.  การจำแนกประเภทภาษีอากร

ภาษีอากรซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลนั้น  จำแนกได้หลายประเภท  กฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรก็มีหลายฉบับ  และมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการจัดการเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ  เหล่านี้

การจำแนกเยอะแยะ  ภาษีอากรประเภทต่างๆ เพื่อจัดให้เป็นหมวดหมู่นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ จากลักษณะการรับภาษีอากร

การจำแนกประเภทภาษีอากร  โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

        ประเภทที่หนึ่ง  ภาษีทางตรง  ได้แก่  ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก  เช่น  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล

        ประเภทที่สอง  ภาษีทางอ้อม  ได้แก่  ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย  เช่น  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  ภาษีศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต

  1.  ประมวลรัษฎากร

ประมวลรัษฎากร เป็นชื่อของกฎหมายภาษีอากรฉบับหนึ่ง มีผลใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร  พ.ศ. 2481กฎหมายฉบับนี้เดิมเป็นที่รวมกฎหมายภาษีอากรสำคัญหลายประเภท แต่ปัจจุบันเป็นที่รวมของกฎหมายภาษีอากรเพียง  4 ประเภทด้วยกัน คือ

ประเภทที่ หนึ่ง ภาษีเงินได้ แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีนั้นจัดเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง

ประเภทที่สอง  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประเภทที่สาม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่นำมาบังคับใช้แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  พ.ศ. 2535 ภาษีเหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากฐานการใช้จ่ายบริโภคอุปโภคทั่วไปทั้งสิ้น

ประเภทที่สี่ อากรแสตมป์  จัดเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่ง

ภาษีอากรทั้ง 4 ประเภทซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่และ การควบคุมของกรมสรรพากร  อนึ่งการอ้างถึงเลขมาตราต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้  ล้วนหมายถึงเลขมาตราในประมวลรัษฎากร  ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

Credit : www.sheetchulathai.com


  • 0

ทำไมเราต้องเสียภาษี


Tags : 

ทำไมเราต้องเสียภาษี

ภาษีคือเงินที่บุคคลทั่วไปที่ทำงาน, ธุรกิจร้านค้า, ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และผู้ที่มีรายได้จากการลงทุน ทำการจ่ายให้กับรัฐบาล เงินนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อจะนำไปจ่ายช่วยเหลือในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้

  • เรื่องสุขภาพ
  • เรืองการศึกษา
  • เรื่องการป้องกันประเทศ
  • เรื่องการสร้างถนนและรางรถไฟ
  • เรื่องความปลอดภัยของสังคมและเงินที่ประชาชนได้รับจาก หน่วยงานของรัฐบาล

เราจะเสียภาษีเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับว่า

  • รายได้ใน “ปีภาษี” ของเรามีเท่าไหร่
  • เราเป็นผู้อยู่อาศัยตามความหมายในทางกฎหมายหรือไม่
  • เรามีหมายเลขผู้เสียภาษี หรือไม่

สิ่งที่เราต้องทำเกี่ยวกับภาษี คือ

  • กรมสรรพากร หรือ นักบัญชี เพื่อยื่นเรื่องการขอคือภาษีหรือ Tax Refund
  • ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารแจ้งยอดรายได้จากดอกเบี้ยธนาคารแก่กรมสรรพากรเมื่อสิ้นปีภาษี
  • นายจ้างตอนเราเริ่มทำงาน (อย่าระบุเลขนี้ในใบสมัครงานเด็ดขาด) เพื่อให้นายจ้างแจ้งยอดภาษีที่หักไว้กับทางกรมสรรพากร

เราจะได้เงินภาษีคืนหาก:

  • เราไม่ได้รายได้เกินจำนวนที่รัฐบาลกำหนดไว้ หรือ
  • นายจ้างหักภาษีจากค่าจ้างของเรามากเกินกว่าภาษีที่เราต้องเสียให้กับทางรัฐบาล
  • หากเรามีภาษีไม่พอเมื่อเทียบกับภาษีที่กรมสรรพากรต้องการจากเรา กรมสรรพากรจะส่งบิลให้เราสำหรับเงินที่เราค้างชำระกับทางกรมสรรพากร

Credit : hifivetaxservice


  • 0

การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ


Tags : 

1.   ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่

1.1   บุคคลซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยกิจการนั้นไม่ได้รับยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะ

1.2   ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรของผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร

1.3   ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราช อาณาจักรของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร

2.   แบบแสดงรายการที่ใช้

แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ธุรกิจเฉพาะได้แก่ แบบ ภ.ธ.40

3.   หน้าที่ในการจัดทำรายงาน

ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่จัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้อง เสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีรายงานดังกล่าวให้จัดทำตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดโดยให้ จัดทำเป็นรายสถานประกอบการทั้งนี้การลงรายการในรายงานให้ลง ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีรายรับเว้นแต่อธิบดี กรมสรรพากรเห็นสมควร สำหรับการประกอบกิจการบางประเภทหรือในกรณีจำเป็นเฉพาะรายอธิบดีจะกำหนดเป็นอย่าง อื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้

4.   หน้าที่ในการเก็บรักษารายงานและเอกสารหลักฐาน

ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเก็บและรักษารายงานพร้อมทั้งเอกสารประกอบ การลงรายงานหรือเอกสารที่อธิบดีกำหนดไว้ ณ สถานประกอบการจัดทำรายงานนั้นหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี

5.   หน้าที่ในการออกใบรับ

ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งได้รับเงิน หรือรับชำระราคาจากการขายสินค้า หรือการให้บริการหรือจากการกระทำกิจการรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้ง เกิน 100 บาท ต้องออกใบรับให้แก่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชำระราคาในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม

 

Credit : www.rd.go.th


  • 0

การซื้อและการรวมส่วนได้เสีย


การซื้อ ( purchase )และการรวมส่วนได้เสีย( pooling ) นั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า M&Aซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการเช่น การขยายกิจการ การเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มมูลค่ากิจการ ฯลฯ อย่างไรก็ดีประเด็นสำคัญที่นักวิเคราะห์ควรใส่ใจในเรื่องนี้ก็คือ การเปรียบเทียบกันของรายงานก่อนทำ M&A กับหลังทำ M&A ซึ่งผลกระทบของรายงานอาจมาจากการตัดสินใจในทางเลือกทางการบัญชี

การบัญชีสำหรับการซื้อ

  • การบัญชีเกี่ยวกับการซื้อจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงการควบคุม ซึ่งดูได้จากการได้มาซึ่งความเป็นเจ้าของอีกกิจการหนึ่ง
  • การซื้อจะต้องมีการซื้อทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน
  • การซื้อต้องมีการปันส่วนราคาซื้อของสิ่งที่จับต้องได้และไม่ได้ มาบันทึกในบัญชีของผู้ซื้อด้วยราคาตลาด ณ วันที่ซื้อ
  • งบดุลและงบกำไรขาดทุนในกิจการของผู้ซื้อก่อนและหลังซื้อจะเปรียบเทียบกันไม่ได้

สิ่งที่ pooling แตกต่างจาก purchase

  1. กิจการที่รวมกันถือว่าเท่าเทียมกัน ไม่มีกิจการผู้ซื้อกับผู้ถูกซื้อ
  2. งบการเงินที่นำมารวมกันจะไม่มีการ adj. รายการใด ๆ Fair market value จะไม่ถูกบันทึก
  3. ผลการดำเนินงานหลังจากการรวมกิจการแล้ว จะถูกบันทึกเหมือนรวมกันตั้งแต่วันต้นงวดของการรวมกิจการ

เงื่อนไขของการใช้วิธี pooling ตาม APB16

  1. กิจการทั้งสองที่รวมกันต้องเป็นอิสระกัน
  2. ต้องเป็นการแลกหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเท่านั้น
  3. ต้องไม่มีข้อตกลงที่จะมีการซื้อกลับ
  4. ต้องไม่มีการวางแผนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
  5. กิจการที่รวมกันต้องไม่มีความตั้งใจที่จะจำกัดส่วนงานที่สำคัญในการทำงาน ยกเว้นงานที่ซ้ำซ้อน

มาตรฐานบัญชี 43 การรวมธุรกิจ ปรับปรุง ฉบับ ปี 50

เพิ่งจะมีการประกาศใช้ จุดสำคัญคือ ยกเลิกวิธีการรวมส่วนได้เสียเหลือวิธี purchase  ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมาก
มาตรฐานที่ 43 ที่ ปรับปรุงใหม่ มีดังนี้
1. การบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ
1.  การบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจ
–  การบันทึกบัญชีการรวมธุรกิจในทุกกรณีให้ปฏิบัติตามวิธีซื้อ
2.  การระบุผู้ซื้อ
–  ในการรวมธุรกิจทุกกรณี ต้องระบุให้ชัดเจนว่ากิจการใดเป็นผู้ซื้อ(เพราะถือว่ากิจการนั้นมีอำนาจในการควบคุม)
3. ต้นทุนการรวมธุรกิจ
3.1 ผู้ซื้อต้องวัดต้นทุนการรวมธุรกิจจาก
– มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์ที่ให้ไป หนี้สินที่รับมา และตราสารทุนที่ออกโดยผู้ซื้อ
– ต้นทุนอื่น ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรวมธุรกิจ
4. ค่าความนิยม
4.1 ณ วันที่ซื้อผู้ซื้อต้องปฏิบัติ ดังนี้
–  รับรู้ค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจเป็นสินทรัพย์(ซึ่งยังเหมือนเดิมก่อนจะปรับปรุง)
–  กิจการต้องมูลค่าเริ่มแรกของค่าความนิยมด้วยราคาทุน ซึ่งคือส่วนต่างของต้นทุนการรวมธุรกิจที่สูงกว่าส่าวนได้เสียของผู้

ซื้อในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิและหนี้สิน
4.2 หลังจากรับรู้ค่าความนิยมเริ่มแรกแล้วผู้ซื้อต้องวัดค่าความนิยมด้วยราคาทุนหักค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม
4.3 ผู้ซื้อต้องไม่ตัดจำหน่ายค่าความนิยมจากการรวมธุรกิจแต่ต้องทดสอบการด้อยค่าแทนทุกปี
5. ส่วนเกินของส่วนได้เสียของผู้ซื้อในมูลค่ายุติธรรมสุทธิของสินทรัพย์และหนี้สินที่สูงกว่าต้นทุน (เดิมคือค่าความนิยมติดลบ)
5.1 ถ้าส่วนได้เสียของผู้ซื้อสูงกว่าต้นทุนผู้ซื้อต้องปฏิบัติดังนี้
–  ประเมินการระบุและการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน ที่ระบุได้ของผู้ถูกซื้อใหม่ รวมทั้งการประเมินต้นทุนในการรวม

ธุรกิจใหม่ด้วย
– รับรู้ส่วนเกินที่คงเหลือหลังจากการประเมินใหม่ในกำไรหรือขาดทุนทันที
ผลกระทบ
งบดุล       – วิธี Purchase, net asset และ equity จะสูงกว่าเพราะในงบดุลของผู้ซื้อจะบันทึก asset ด้วยราคายุติธรรมเลยทำให้มีค่า

ความนิยม และมีผลให้ Equity  สูงขึ้นด้วย
– วิธี polling, net asset และ equity จะต่ำกว่า
งบกำไรขาดทุน   – วิธี  Purchase, Selling and Admin Exp. จะสูงเพราะการบันทึก asset ด้วยราคายุติธรรมทำให้ค่าเสื่อมสูง และ

ทำให้กำไรต่ำลงด้วย
– วิธี Polling , Selling and Admin Exp. จะต่ำกว่า ส่วนกำไรสูงกว่า
อัตราส่วนทางการเงิน 
วิธี Purchase   – turnover ต่ำเพราะ  Asset  สูงขึ้น

– ROA ต่ำ เพราะ  Asset  สูงขึ้น
– coverage ต่ำ เพราะ  EBIT ต่ำลง

งบกระแสเงินสด   – วิธี Purchase   จะมีการจ่ายเงินสดหรือออกหนี้เพื่อที่จะไปซื้อบริษัทผู้ถูกซื้อ ดังนั้น จะทำให้ cash outflow

ใน CFI สูงในการจ่ายซื้อ(CFO ต่ำ) และมี cash inflowใน CFF สูงจากการหาเงินมาจ่ายเช่นเดียวกัน(CFFสูง)

– วิธี polling จะไม่มีการจ่ายเงินสดหรือออกหนี้อย่างมากก็การแลกหุ้น
วิธี Polling จะนิยมใช้เมื่อ
1. ถ้าราคาซื้อสูงกว่ามูลค่าทุนตามบัญชีของกิจการที่ถูกซื้อจะเลือกวิธีการของ Polling
2. กิจการที่ถูกซื้อไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษีได้
3. กิจการที่ถูกซื้อมีหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่มีมูลค่าตลาดสูงกว่าราคาทุนเนื่องจากการรวมแบบ Polling จะบันทึกตามราคาทุนเดิมดังนั้นหลังจากการรวมกิจการแล้วจะมีการขายสินทรัพย์ ดังกล่าว ทำให้กำไรของกิจการที่ถูกซื้อเพิ่มสูงขึ้น
วิธี Purchase จะนิยมใช้เมื่อ
1. ราคาซื้อต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของกิจการผู้ถูกซื้อซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมอยู่ในระดับต่ำ กำไรจะสูงขึ้น
2. วิธีการ Purchase ต้องบันทึกรายการทีเป็น off-balance-sheet ของกิจการผู้ถูกซื้อด้วย เช่น กิจการที่ซื้อต้องประมาณการหนี้สินที่ต้องจ่ายชดเชยให้พนักงานเมื่อเกษียณอายุ ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในอนาคตลดลง
3. ผู้ถือหุ้นเดิมของกิจการผู้ซื้อ ไม่อยากจะสูญเสียหรือมีอำนาจในการควบคุมกิจการลดน้อยลง จากการออกหุ้นแลกกัน โดยผู้ถือหุ้นชอบที่จะใช้เงินสด หรือ หลักทรัพย์ที่ไม่มีผลต่อการออกเสียง ในการซื้อกิจการ
ผลจากการวิจัย

  • ถ้า  P >  BV จะใช้ Polling ได้ผลออกมาตามคาด
  • ถ้า  P <  BV จะใช้ Purchase ผลที่ออกมายังไม่ชัดเจน

การตอบสนองของตลาด
1. Polling, no market reaction (ไม่มีปฏิกิริยาการตอบสนอง)
2. Purchase, Positive reaction (มีการตอบสนองในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ)

 

Credit : เก่งวิเคราะห์งบการเงิน