Category Archives: Uncategorized

  • 0

Tax News 2025


Tags : 

คู่มือผู้ประกอบการ กรณีขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการควรรู้
อ่านและดาวน์โหลดคู่มือ >> https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/newsbanner/2025/03/vat_refund.pdf


  • 0

Smartbiz 366 On Cloud โปรแกรมบัญชี ฟรี!


Smartbiz 366 On Cloud โปรแกรมบัญชี ฟรี!

ที่จะเปลี่ยนโลกบัญชีของคุณไปตลอดกาล!

ทำไมต้อง Smartbiz 366
->ฟรี! ไม่มีเงื่อนไข: ฟรีจริง! ไม่จำกัดบริษัท!
->เร็วแรง : ระบบ Cloud ที่เสถียร ทำงานได้รวดเร็วทันใจ
->ครบเครื่องเรื่องบัญชี: บันทึกบัญชี, ออกบิล, จัดการภาษี, รายงานทางการเงิน ครบจบในที่เดียว
->ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา: Cloud 100% ทำงานจากที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้
->ล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยี: อัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆ อัตโนมัติ ก้าวทันทุกการเปลี่ยนแปลง
->ฉีกกฎการทำบัญชี: ออกรายงานได้ในราคา 5 บาทเท่านั้น

Smartbiz 366 เหมาะสำหรับ:
– ผู้ประกอบการยุคดิจิทัล
– ธุรกิจที่ต้องการความคล่องตัวสูง
– นักบัญชีที่ต้องการเครื่องมือที่ทรงพลัง

ฟีเจอร์สุดเจ๋ง:
– ระบบบัญชี Cloud ที่เร็วที่สุด
– ระบบออกบิลออนไลน์อัจฉริยะ
– ระบบจัดการภาษีที่แม่นยำ
– รายงานทางการเงินแบบเรียลไทม์
– ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง

การทำบัญชีไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป!
ใช้งานฟรี https://www.smartbiz366.app
ติดต่อเรา : https://www.crystalsoftwaregroup.com
Support Smartbiz 366 On Cloud : 086-355-4073


  • 0

ใกล้สิ้นปีแล้ว ผู้ทำบัญชีอย่าลืมต่ออายุสมาชิกสภา ของปีต่อไป


ประชาสัมพันธ์ถึงผู้ทำบัญชี

ขอให้ตรวจสอบอายุสมาชิกสภาฯ ว่าใกล้หมดอายุแล้วหรือยัง และ
อย่าลืม !!! ต่ออายุสมาชิกสภาฯ ของปีต่อไป ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567


  • 0

NEXTTO จับมือ DataOne เปิดตัวบริการ e-Tax Invoice & e-receipt แล้ววันนี้


การจัดการภาษีที่ยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อช่องทางติดตามข่าวสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NEXTTO
Facebook : Nextto System
Website : https://nexttosystem.com/
Instagram : nexttosystem
LINE : @Nextto
TikTok : @NEXTTOSystem


  • 0

e-With​holding Tax ช่องทางใหม่ในการนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย


e-With​holding Tax ช่องทางใหม่ในการนำส่งภาษี หัก ณ ที่จ่าย มาพร้อมคุณสมบัติและอัตราภาษีที่ลดลง

– ไม่ต้องจัดทำแบบ/ไม่ต้องนำส่งเอกสาร
– ลดอัตราภาษีเหลือ 1%


  • 0

5 เครื่องมือปรับปรุงกำไรทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี


เครื่องมือที่ 2.2 คู่มือประเด็นด้านต้นทุนและค่าใช้จ่าย
รายละเพิ่มเติม : https://www.rd.go.th/16552.html

เครื่องมือที่ 3 ตารางแผนที่ทางภาษีอากร (Tax Mapping)
ประเด็นทางด้านต้นทุน และค่าใช้จ่าย
รายละเพิ่มเติม : https://www.rd.go.th/32612.html


  • 0

มีรายได้เท่าไหร่ต้องยื่นแบบ?


หลายคนไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพราะอาจเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองไม่ต้องเสียภาษี แต่ความจริงแล้วนั้น กฎหมายได้กำหนดเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำเอาไว้ ถึงแม้ว่าคำนวณภาษีแล้วจะไม่ต้องเสียภาษี ก็ตาม

ตัวอย่างเช่น 

คนโสด ได้เงินเดือนอย่างเดียว รวมทั้งปี 120,000 บาท หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น ขายของชำ ขายอาหาร ขับวิน มีรายได้รวมทั้งปี 60,000 บาท กรณีนี้ไม่ต้องยื่นแบบ  แต่หากมีรายได้ตั้งแต่ 120,001 บาท หรือ 60,001 บาท กรณีนี้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบตามที่กฎหมายกำหนด

คนมีคู่สมรส (จดทะเบียนสมรส) มีเงินเดือนอย่างเดียว 2 คน รวมกัน ทั้งปี 220,000 บาท หรือมีรายได้อื่นๆ เช่น ขายของชำ ขายอาหาร ขับวิน มีรายได้รวมทั้งปี 120,000 บาท กรณีนี้ไม่ต้องยื่นแบบ แต่หากมีรายได้ตั้งแต่ 220,001 บาท หรือ 120,001 บาท กรณีนี้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบตามที่กฎหมายกำหนด

สรุปว่า  หากมีรายได้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 ถึงแม้ว่าจะไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ตาม


  • 0

ยกระดับบริการทางภาษี My Tax Account ด้วยการยืนยันตัวตนผ่าน Digital ID


  • ครอบคลุมระบบ Prefill ทุกประเภทเงินได้ / ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • พร้อมอัปเดตข้อมูลสิทธิลดหย่อนในปีภาษี 2566 และบริการทางภาษีอื่น ๆ อีกมากมาย

(กรณีนำส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร เท่านั้น!!)


  • 0

ช่องทางการส่ง e-Tax Invoice & e-Receipt


ผู้ประกอบการที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) สามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

1. ** Web Upload นําส่งข้อมูลด้วยวิธีการอัปโหลดผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
2. **ผ่าน Tax Service Provider เป็นวิธีการนำส่งข้อมูลโดยผ่านผู้ให้บริการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
3. **Host to Host นําส่งข้อมูลผ่านระบบนําส่งที่ผู้ประกอบการเชื่อมต่อกับกรมสรรพากรโดยตรง

การเลือกช่องทางนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีและใบรับอิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ประกอบการสามารถเลือกช่องทางที่เหมาะสมกับความต้องการและความพร้อมของตนเอง โดยสามารถพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปริมาณข้อมูลที่ต้องการนำส่ง เป็นต้น

ข้อดีและข้อจำกัดของช่องทางการนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์

ช่องทางข้อดีข้อจำกัด
Web Uploadผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้เองผู้ประกอบการต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
Tax Service Providerผู้ประกอบการไม่ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
สะดวก รวดเร็ว
มีธรรมเนียมการให้บริการขึ้นอยู่กับ Tax Service Provider แต่ละเจ้า
Host to Hostผู้ประกอบการสามารถควบคุมระบบนำส่งข้อมูลได้เองผู้ประกอบการต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสูง

การนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการจัดทำและนำส่งเอกสารภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารกระดาษ ช่วยให้กระบวนการทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้น และลดภาระในการเก็บรักษาเอกสารกระดาษ

ผู้ประกอบการที่ต้องการนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/emag/flipbook/01_Overview.pdf

หรือติดต่อสอบถามได้ที่ Call Center 1161


  • 0

e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt by Tax Service Provider


กิจการทั่วไปสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ 2 แบบ คือ

1. แบบ e-Tax Invoice by Email
เป็นวิธีที่ผู้ประกอบการสามารถจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตนเอง โดยผู้ประกอบการจะต้องจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร จากนั้นจึงส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปยังผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทางอีเมล

2. แบบ e-Tax Invoice & e-Receipt by Tax Service Provider
เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด โดยผู้ประกอบการสามารถติดต่อผู้ให้บริการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (Tax service provider) เพื่อขอใช้บริการได้ โดยผู้ให้บริการจะเป็นผู้จัดเตรียมระบบและดำเนินการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ครบถ้วนตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่เพียงส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ให้บริการเท่านั้น

ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้บริการที่ตรงกับความต้องการและงบประมาณได้

** ปัจจุบันมี Tax Service Provider หลายรายลดราคาค่าบริการ e-Tax Invoice ลงมา หรือใช้ฟรี ทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกที่หลากหลาย

หมายเหตุ หากผู้ประกอบการมีรายได้เกิน 30 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องเลือกแบบ e-Tax Invoice & e-Receipt by Tax Sevice Provider เท่านั้น

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/emag/flipbook/01_Overview.pdf
หรือติดต่อสอบถามได้ที่ Call Center 1161