Category Archives: Uncategorized

  • 0

ภาษีร้านค้าออนไลน์ แม่ค้าทั้งหลายไม่รู้ไม่ได้แล้ว


Tags : 

เรื่องต้องรู้เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์

เมื่อคุณเป็นพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์เต็มตัวแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณต้องรู้และคำนึงถึง กฎเกณฑ์การขายของออนไลน์ต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ เรื่องการเสียภาษีของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งถือเป็นกฎหมายใหม่ล่าสุด หลังจากมีการพูดถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีกับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มาโดยตลอด ในที่สุดกฎหมายก็ได้คลอดออกมาแล้ว โดยมีชื่อว่า ภาษีอีเพย์เมนต์ พ.ศ. 2562 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ใจความสำคัญคือ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

 

ถ้าเราไม่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อข้างต้น ก็เพียงแค่ยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีปกติ เพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว หากรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ใช้เกณฑ์เดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7%

สำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรงเรื่องการเสียภาษีมาก่อน ควรเริ่มต้นเตรียมตัวอย่างไร ตรงนี้มีคำตอบ

  1. ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้ เมื่อคิดจะประกอบอาชีพค้าขายแล้ว คุณต้องระวังและใส่ใจรายละเอียดเรื่องตัวเลขเป็นอย่างมาก ถ้าไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ให้เครื่องมือวางแผนทางการเงินช่วยคุณได้
  2.  เก็บหลักฐานทุกอย่าง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการซื้อขายและกับธนาคาร จะเล็กน้อย หรือมากแค่ไหนก็ต้องเก็บรวบรวมไว้ให้หมด เพราะทุกหลักฐานจะต้องนำมาใช้ประกอบการยื่นภาษี
  3. ศึกษาเรื่องภาษีให้ละเอียด เช่น ร้านค้าของคุณเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ ฯลฯ

สำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่มียอดโอนเพื่อซื้อสินค้าไม่ถึง 3,000 ครั้ง/ปี หรือยอดเงินรวมไม่ถึง 2,000,000 บาท ก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะโดนภาษีอีเพย์เมนต์นี้ คุณเพียงแค่ยื่นภาษีรายปีแสดงรายได้ของตัวเองเท่านั้นเอง ปลอดภัยหายห่วงไม่โดนภาษีรายปีและภาษีย้อนหลังแน่นอน

Credit : www.krungsri.com


  • 1

การวิเคราะห์สินทรัพย์ระยะยาว


ต้นทุนของสินทรัพย์ประกอบด้วย
1.             ราคาซื้อ(ตามใบ Invoices)
2.             ภาษีขาย(Sale TAX)
3.             ค่าขนย้ายกับค่าประกัน
4.             ค่าติดตั้ง
ประเด็นโต้แย้งของหลักการในการรับรู้ต้นทุนของสิทรัพย์ระยะยาว
1.             ต้นทุนบางอย่างที่เกิดจากการได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้นควรนำมารวมเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ด้วยหรือไม่ เช่น ต้นทุนดอกเบี้ยของงานระหว่างก่อสร้าง
2.             ค่าใช้จ่าย R&Dและต้นทุนในการพัฒนา Software ควรนำมาCapเป็นสินทรัพย์หรือไม่
3.             ควรใช้วิธการบัญชีเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของต้นทุนของการได้มาซึ่งน้ำมันและแก๊สเป็นสินทัพนย์อย่างไร
*ในการเลือกนโยบายการับรู้ต้นทุนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ว่าจะ Cap           หรือว่าจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดทันทีนั้น ย่อมส่งผลกระทบต่อตัวเลขใน B/S P/L และ CF ซึ่งทำให้ส่งผลต่อการวิเคราะห์ Ratio ในระยะยาว
ผลกระทบของการCap หรือการรับรู้เป็น Expenseที่มีต่อตัวเลขในงยการเงิน
                เมื่อเปรียบเทียบบริษัท 2 บริษัทโดยบริษัทหรึ่งเลือกรับรู้ต้นทุนเป็นสินทรัพย์โดย Cap เป็นสินทรัพย์ กับ บริษัทที่รับรู้เป็นค่าใช้จจ่าย พบว่า
–         บริษัทที่เลือก Cap จะมี NI ที่ Smooth กว่า แต่กินการที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเลย NI จะมีค่าความผันผวนมากกว่า (Cap ความผันผวนของกำไร < ความผันผวนของกำไรที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย)
–         ROA ของบริษัทที่เลือก Cap ต้นทุน จะมีความสม่ำเสมอมากกว่าบริษัทที่เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเพราะว่าบรัทเลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจะทำให้ NI มีความผันผวนจึงมี ROA ที่มันผันผวน(CapความผันผวนของROA < ความผันผวนของROAที่ถือเป็นค่าใช้จ่าย)
–         CFO ของบริษัทที่เลือก Cap ต้นทุนจะสูงกว่าบริษัทที่เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเพราะ เมื่อบริษัทเลือกที่จะCap เป็นสินทรัพย์ถาวรจะส่งผลให้ ต้นทุนนั้นถูกแสดงเป็น CFI แต่ถ้าเลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของ CFO (Exp :   à    Low NI    à    Low CFO) จึงทำให้บริษัทที่เลือก Cap เป็นสินทรัพย์มี CFO สูงเกินไป (CFOCAP < CFOEXP)
**บริษัทที่มีการเลือกนโยบายในการรับรู้ต้นทุนบางอย่างของสินทรัพย์แตกต่างย่อมมีผลทำให้ตัวเลขของ Ratio ต่างกัน เช่นบริษัทสองบริษัทมีต้นทุนของสินทรัพย์ที่สามารถเลือกรับรู้ได้ซึงพบว่าบริษัท เลือกที่จะ Cap เป้นสินทรัพย์แต่ยริษัท B เลือกรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย จึงส่งผลดังนี้
                
NI:          A ผันผวน< B
                                ROA:     A สม่ำเสมอกว่า B
                                CFO:      A> B
                                Asset:     A>B
                                D/E:       A<B
บริษัทที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่าย
                ð มีสินทรัพย์ที่ต่ำกว่า บริษัทที่เลือก Cap
                ðEquity ที่ต่ำกว่า บริษัทที่Cap
                ðD/E Ratio ต่ำกว่าบริษัทที่ Cap
ต้นทุนของดอกเบี้ยการกู้ยืมที่นำมา Cap ได้
                ตาม SFAS34 ต้นทุนของดอกเบี้ยการกู้ยืมที่นำมา Capได้จะต้องเป็นดอกเยี้บของสินทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างสาเหตุที่กำหนดเช่นนั้น
                 มีการโต้แย้งSFAS34 โดยให้เหตุผลว่าต้นทุนดอกเบี้ยจากการกู้ยืมนั้นไม่ควรนำมารวมเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ เพราะว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั้นเป็นผลมาจาก Financial Decision (การตัดสินใจด้านโครงสร้างทางการเงิน)ไม่ได้เกิดจาก Operating Decision เพราะฉะนั้นดอกเบี้ยจ่ายก็ควรจะต้องถือเป็น Financial Cost จึงไม่ควรนำมารวมเป้นสินทรัพย์
                ซึ่งถ้าบริษัทนำมารวมเป็นสินทรัพย์ ตาม SFAS34 ได้ระบุไว้นั้นก็จะกลายเป็นว่า สินทรัพย์ของบริษัทจะมากหรือนั้นนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ ทางโครงสร้างการเงินของผู้บริหาร ว่าต้องการให้มีสินทรัพย์สูงหรือต่ำ
                                                ต้องสินทรัพย์สูงà กู้เยอะ
ต้องสินทรัพย์ต่ำà กู้น้อย
                อาจารย์ White จึงสนับสนุนว่ากิจการควรรับรู้ดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่ายดีกว่า Cap เป็นสินทรัพย์ (ไม่เห็นด้วยกับSFAS34) ดังนั้นในการวิเคราะห์งบการเงินนักวิเคราะห์ควรจะสนใจดอกเบี้ยการกู้ยืมซึ่งต้องมีการ Adjust
1.             งบนั้นได้มีการนำดอกเบี้ยไปCap ไว้เป็นต้นทุนของสินทรัพย์ ก็ต้องลดสินทรัพย์ด้วยจำนวนที่ไปCapเป็นสินทรัพย์ไว้แล้วนำไปบวกเพิ่มในดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงใน P/L เพราะฉะนั้นใน P/Lจะมี NIลดลงด้วยจำนวนดอกเบี้ยที่นำไปCapไว้ (ในการลดสินทรัพย์ถาวรด้วยจำนวนดอกเบี้ยที่Capไว้นั้น ก็จะมีผลต่อDepreciation ซึ่งมีผลน้อยมากและไม่มีนัยสำคัญ จึวไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนแปลง Depreciation)
2.             ในการที่บริษัทเลือกCapดอกเบี้ยเป็นสินทรัพย์นั้น จะทำให้เกิดการจัดประเภทรายการที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้ เพราะว่าถ้ากิจการเลือกที่จะ Cap ดอกเบี้ย นั้นต้องรวมอยู่ใน CFI แต่ในความเป็นจริงแล้วดอกเบี้ยนั้นเกิดจากการกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน มันจึงไม่ต้องจัดอยู่ใน CFI แต่มันควรจัดอยู่ใน CFF หรือ CFO ก็ได้(ตามที่มาตรฐานไทยได้กำหนดไว้)
ในการจะคำนวน TIE or Interest Coverage Ratio ซึ่ง = NI/INT    INT ที่นำมาใช้ต้องเป็นตัวหลัง Adjust ดอกเบี้ยที่ได้ Cap ไว้แล้วส่วน NI ก็ควรจะให้ตัวหลัง Adjust เช่นกัน
ตามมาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับที่ 33(IAS23)
                นิยามสินทรัพยที่เข้าเงื่อนไข คือ สินทรัพยที่ต้องใช้ระบรเวลานานในการเตรียมพร้อมเพื่อนำมาใช้หรือนำไปขาย
                ต้นทุนการกูยืม คือ ดอกเบี้ยและต้นทุนอื่นที่เกิดจากการกู้ยืม
                แนวทางที่ถือปฏิบัติ คือ ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันที(เหมือนอาจารย์ White)
                แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ คือ ต้นทุนการกูยืมของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไขอาจ Cap เป็น ราคาทุนของสินทรัพย์ได้ (ถ้าเป็นไปตามหลักการรับรู้รายการ 2 ข้อ)
                กรณที่Capเป็นสินทรัพย์จะต้องหยุดรวมเมื่อ
1.             หยุดพัฒนาสินทรัพย์เป็นแวลาต่อเนื่อง
2.             ดำเนินการให้สินทรัพย์พร้อมใช้หรือพร้อมขายโดยส่วนใหญ่ได้เสร็จแล้ว
3.             เมื่อสร้างสินทรัพย์บางส่วนเสร็จแล้วได้ใช้บางส่วนแล้วต้องหยุดรวมในส่วนที่สร้างเสร็จ
สิ่งที่กิจการต้องเปิดเผยถ้าเลือกที่จะ Capเป็นสินทรัพย์
1.             นโยบายการบัญชีที่ใช้
2.             จำนวนชองต้นทุนในงวดนั้นที่ได้Capเป็นสินทรัพย์
3.             อัตราการตั้งขึ้นเป็นทุน(ดอกเบี้ยถัวเฉลี่ย)ที่ใช้ในการคำนวน
Intangible Asset (สินทรัพย์ไม่มีตัวตน)
                ประเด็นที่เป็นปัญหารของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนก็คือการจัดกการได้ยาก เช่น
1.             ในการจะแยกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อนำมา Cap นั้น ยังไม่สามารถแยกออกมาเป็นจำนวนได้ชัดเจน
2.             ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาถ้าเลือกที่จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายนั้นจะรับรู้กี่ปี ซึ่งไม่สามารถวัดได้ชัดเจนว่ามันสามารถให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้กี่ปี
3.             Brand Name ต่างถ้าจะรับรู้และจะรับรู้ซักกี่ปี
ตามมาตรฐานไทยฉบับที่ 51 (IAS38) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
                ได้ระบุการรับรู้ ค่าวิจัยและพัฒนา ว่า
                ค่าวิจัย รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันทีในงวดที่เกิดขึ้น
                ค่าพัฒนา สามารถ Cap เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้ถ้าเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้
1.             มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคว่าสามารถพัฒนาสินทรัพย์นั้นมาใช้ประโยชน์หรือนำมาขาย
2.             มีความตั้งใจที่จะทำให้เสร็จเพื่อนำมาใช้ประโยชน์หรือขาย
3.             มีความสามารถในการใช้ประโยชน์หรือนำมาขาย
4.             สามารถแสดงให้เห็นวิธีที่จะนำสินทรัพย์ที่พัฒนาไปก่อประโยชน์ได้
5.             กิจการที่มีทรัพยากรต่างๆเพียงพอที่จะพัฒนาสินทรัพย์นั้นจนเสร็จและนำไปใช้ประโยชน์หรือนำไปขายได้
6.             สามารถวัดมูลค่าของรายจ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการพัฒนาได้อย่างน่าเชื่อถือ
กรณีเป็นไปตามเงื่อนไข หรือสามารถรับรู้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนได้แล้วก็ไม่สามารถถือสินทรัพย์นั้นไว้ตลอดได้ กิจการต้องทยอยรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดบัญชี โดยตามมาตรฐานไทยได้ระบุว่าในการตัดจำหน่ายสิทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายนั้นถ้าไม่สามารถกำหนดรูปแบบของการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้อย่างเชื่อถือืกิจการต้องใช้การตัดจำหน่ายตามวิธีเส้นตรงไม่เกิน 20 ปี
**ตาม SFAS5 ได้กำหนดให้บันทึกค่า R&D เป้นค่าใช้จ่ายทันที
**วิธีการบัญชีของ R&D คือ
–         รับรู้เป็นค่ใช้จ่ายทันทีในงวดที่เกิด(Write-Off)
–         ทยอยรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายตลอดอายุเชิงเศรษฐกิจ
 Asset Revaluation (การตีราคาสินทรัพย์ใหม่)
                เหตุผลของการตีราคาสินทรัพย์ถาวรใหม่ ก็เพื่อให้แสดงมูลค Market Value ซึ่งมันสามารถให้มัลค่าที่มีประโยชน์กว่าการแสดงด้วย Historical Cost
                ภายใต้ U.S.GAAP ไม่อนุญาติให้ทำการ Revaluation (การตีราคาสินทรัพย์ใหม่)
มาตรฐานไทย ฉบับที่ 32 (IAS16) ที่ดินอาคารอุปกรณ์
                แนวทางที่กำหนดให้ปฏับัติ คือ แสดงสินทรัพย์ถาวรด้วยราคาทุน หัก ค่าเสื่อราคาสะสมและค่าเผื่อการด้วยค่าสินทรัพย์
                แนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติ คือ อาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ซึ่งก็คือ มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ณ วันที่ตีราคาใหม่ หักด้วย ค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวนจากมูลค่ายุติธรรมและหักด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
                กรณีที่กิจการมีการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น จะเกิดส่วนเกินการตีราคาสินทรัพย์อยู่ในEquity ในงบดุล
                กรณีที่กิจการมีการตีราคาสินทรัพย์ลดลง เกิดขาดทุนจากการตีราคารับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
**อาจารย์ White จึงแนะนำว่าก่อนจพทำการวิเคราะห์งบการเงินก็ควรมีการ Adjust รายการบางรายการก่อน
ตัวอย่างที่อาจารย์ ไวท์ ยกให้เห็น
                ในอตสาหกรรมยารักษาโรคจะพบว่า ใน USA  อุตสาหกรรมที่ผลิตยาจะมี ROA ที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น ซึ่งมันเกิดจากการมีกำไรเยอะ และมีสินทรัพย์ต่ำจึงอาจเป็นไปได้ว่าในอุตสาหกรรมผลิตยานั้นจะมีค่า R&D เยอะมาก ซึ่ง GAAP US.ไม่ยอมให้ Cap R&D บางส่วนเป็นสินทรัพย์เลยต้องรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึ่งส่งผลให้ Low Asset ð High ROA
                ซึงผลดีอีกข้อหนึ่งที่ของการรับรู้เป้นค่าใช้จ่ายก็คือ จำทำให้ค่าใช้จ่ายสูงกำไรต่ำภาษีต่ำ
Note:  Mandatory = บังคับ
                ** กรณีที่บริษัทเลื่อที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายออย่างเดียวโดยไม่ Cap เลยนั้นมันอาจทำให้ความสามารถในการกู้ยืมของบริษัทลดลงได้เพราะ NI ต่ำ
                ** ได้มีหลักฐานงานวิจัย พบว่า การที่บริษัทสดงให้เห็นว่ามีการพยายามลงทุนลดลงหรือมีการลดลงของการจะขยายการลงทุนเพิ่ม คือ เป็นการส่งสัญญานดีต่อนักลงทุน
การขายหรือการตัดจำหน่ายสินทรัพย์
                มักจะเกิดรายกร กำไร/ขาดทุน จากการจำหน่ายสินทรัพย์ ซึ่งรายการนี้ถือว่าเป็นNonrecurring Item ซึ่งในการวิเคราะห์งบ ควรจะ Adjust รายการนั้นออกก่อน
                ในการสังเกตุเพื่อประโยชน์ในการวิเคาระห์ ถ้าพบว่ากิจการได้มีการขายสินทรัพย์ที่เป็นส่วนสำคัญของการผลิตหรือดำเนินงานมันอาจบอกให้เราทราบอ้อมๆว่ากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้
สำคัญ เช่น เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ หรืออาจปิดกิจการ
                ในบางครั้งรายการ กำไร /ขาดทุน จากการขายสินทรัพย์ถาวร ก็มีผลต่อการวิเคราะห์ของนักลงทุนได้ เช่น
–         ในกรณีที่มีกำไรจากการขายสินทรัพย์ นักวิเคราะห์อาจมองย้อนไปถึงวิธีการคิด ค่าเสื่อมราคาได้ว่า กิจการได้เบื่อกใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคา แบบ Conservative คือ จะรับรู้ค่าใช้จ่ายต่อปีมากๆไว้ก่อน จึงทำให้ตัดค่าเสื่อม ในแต่ละปีค่อนข้างสูง เวลาจะขายจึงทำให้สินทรัพย์ ณ วันที่ขายมีราคาที่ต่ำกว่า จึงมีกำไรจากการขายสินทรัพย์
–         ในกรณีที่มี ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ นักวิเคราะห์ก็อาจมองว่า เป็นไปได้มั้ยที่กิจการเลือกใช้วิธีการคิดค่าเสื่อมที่ทำให้มีค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี ต่ำๆเพื่อให้กำไรสูง ดังนั้น เวลาขายสินทรัพย์สุทธิ จึงแสดงมูลค่าที่สูงเกินไป(Over Value)จึงทำให้ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์
Credit : เก่งวิเคราะห์งบการเงิน

  • 0

กฎหมายภาษีแก้ไขใหม่ ใครสุ่มเสี่ยง โดนตรวจสอบ


Tags : 

ประมวลรัษฎากรที่เพิ่งแก้ไขใหม่ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 และมีผลให้ผู้มีหน้าที่รายงานข้อมูลจะต้องรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรครั้งนี้ เชื่อว่าอาจจะมีผลกระทบกับผู้ที่มีเงินฝากหรือรับเข้าบัญชีธนาคารเกือบทุกคนครับ

ตามประมวลรัษฎากรฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้กำหนดหน้าที่ให้กับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลลูกค้าที่มีลักษณะพิเศษให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 3 สัตตรส เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีหน้าที่รายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะพิเศษในปีที่ล่วงมาที่อยู่ใน ความครอบครองให้กรมสรรพากรภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

(1) สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
(2) สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(3) ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยระบบการชำระเงิน ธุรกรรมลักษณะพิเศษตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ธุรกรรมที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดในปีที่ล่วงมาดังต่อไปนี้
(1) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สามพันครั้ง
(2) ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่สี่ร้อยครั้ง และมียอดรวมของ ธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่สองล้านบาทขึ้นไป

Credit : www.thairath.co.th


  • 0

ส่องค่าใช้จ่ายแฝง ต้นเหตุทำ SME ทุนหายกำไรหด


Tags : 

“ค่าใช้จ่ายแฝง” ที่หลบซ่อนอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ธุรกิจต้องสูญเงินไปอย่างมหาศาล ดังนั้น ก่อนเริ่มทำธุรกิจผู้ประกอบการควรต้องรับรู้ถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ดี

เริ่มจาก “ผลประโยชน์และสิทธิพิเศษของพนักงาน” อย่าคิดแค่การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกด้วยสำหรับพนักงานหนึ่งคน เพราะยังมีค่าประกันสังคมในส่วนที่นายจ้างต้องชำระ สวัสดิการต่างๆ ท่องเที่ยวประจำปี โบนัส ซึ่งผู้ประกอบการบางคนลืมคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลงไป ทำให้ค่าใช้จ่ายพนักงานต่อเดือน จาก 15,000 บาท อาจกลายเป็น 18,000-20,000 บาทต่อคนไปเลยทีเดียว

และล่าสุดกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ ที่กำหนดให้การเกษียณอายุ เมื่อครบ 60 ปีคือการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้างที่อายุงาน 10 ปีขึ้น ไปได้รับเงินชดเชย 10 เดือน ซึ่งประเด็นนี้ ศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการผู้จัดการ Network Advisory Team Ltd. (NAT) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีและบัญชี บอกไว้ว่า ผู้ประกอบการ SME ควรต้องให้ความสำคัญและต้องเตรียมพร้อมที่จะตั้งสำรองจ่ายในส่วนนี้ไว้ล่วงหน้า เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายจริง อาจจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่ผลประโยชน์และสิทธิพิเศษของพนักงานเท่านั้น บางครั้งการที่ผู้ประกอบการ ให้เงินเดือนตัวเองน้อยๆ เพื่อต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ก็มีผลที่จะทำให้ต้นทุนผิดเพี้ยนได้เช่นกัน

อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่มักจะแอบซ่อนอยู่โดยที่ผู้ประกอบการอาจจะมองข้าม นั่นคือ “ค่าสินค้าเสียหาย” ทั้งนี้ อาจชำรุดจากการขนส่ง หรือเสียหายจากหน้าร้าน หรือแม้แต่สินค้าหมดอายุจนไม่สามารถจำหน่ายได้ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้คือ การประมาณการค่าสินค้าเสียหายล่วงหน้า และบวกเข้าไปในต้นทุนของสินค้าด้วย นอกจากนี้ ศิริรัฐ ยังบอกด้วยว่า การบริหารสต็อกที่ไม่เป็นระเบียบ ก็มีผลโดยตรงกับเรื่องของต้นทุน ซึ่งที่ผ่านมา SME ส่วนใหญ่มักจะจัดเก็บสต็อกไม่ค่อยเป็นระเบียบ เกิดการสูญหายของสินค้าไปโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่ความเสียหายมากมาย นอกจากจะกระทบในแง่ของต้นทุนของตัวเองแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้น นั่นคือ กรณีที่มีกรมสรรพากรมาตรวจสอบ หากสต็อกไปเรียบร้อย พบว่าสินค้าเหลือน้อยกว่าบัญชี เขาจะถือว่าขายไปแต่ไม่ได้มีการลงบัญชี ซึ่งจะโดนปรับทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนิติบุคคล

 

พร้อมกันนี้ ค่าที่ปรึกษาต่างๆ ก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายแฝงที่เกิดขึ้นได้ เพราะปัจจุบันการทำธุรกิจเพียงคนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีเพื่อนคู่คิด แต่เมื่อเป็นแบบนั้นแล้วก็จะพบว่ารายจ่ายมีโอกาสบานปลายตามไปด้วย ทั้งค่าที่ปรึกษาด้านการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ การบัญชี นักกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่เราไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีราคาสูงขนาดไหน

 

สุดท้ายค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่สำคัญมากๆ ในการทำธุรกิจก็คือ ค่าบริหารจัดการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน และค่าเดินทางในการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น  ค่าอุปกรณ์สำนักงาน อาทิ คอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ โทรศัพท์ ค่าโทรศัพท์รายเดือน หมึกพิมพ์ กระดาษ อุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าเลี้ยงรับรองแขก รวมถึงค่าซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ ทั้งหมดนี้ อาจดูแล้วมีราคาไม่สูงมาก แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายรายปี เราจะพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้สามารถสร้างผลกระทบต่อกำไรในภาพรวมได้ไม่น้อย ดังนั้น พยายามประหยัด และตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบทุกเดือน

Credit : www.businesslinx.globallinker.com


  • 0

ป้าย แบบไหนบ้าง ที่ได้รับการ “ยกเว้น” ภาษีป้าย


Tags : 

ป้าย แบบไหนบ้าง ที่ได้รับการ “ยกเว้น” ภาษีป้าย

ป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย มีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน ทั้งจาก พ.ร.บ.ภาษีป้ายปี พ.ศ.2510 และฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2535

  1. ป้าย ที่ติดอยู่กับสินค้า บรรจุภัณฑ์สินค้า ติดไว้ที่คน และป้ายที่ติดไว้ที่สัตว์
  2. ป้าย ที่ติดอยู่ภายในตัวอาคาร หรือพื้นที่ส่วนตัว แต่ต้องมีขนาดไม่เกิดตามที่กำหมด
  3. ป้าย ที่ติดอยู่หน้าโรงมหรสพ เพื่อโฆษณามหรสพนั้นๆ และป้าย ที่ติดบริเวณงานที่จัดขึ้นชั่วคราว
  4. ป้าย ของหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ป้ายวัด และป้ายมูลนิธิ
  5. ป้าย ของธนาคารบางแห่ง และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  6. ป้าย ของโรงและและสถาบันอุดศึกษาเอกชน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณโรงและและสถาบันอุดศึกษาเอกชนนั้นๆ
  7. ป้าย ของผู้ประกอบการเกษตร ที่เป็นผลผลิตจากการเกษตรของตนเอง
  8. ป้าย ที่มีลักษณะเป็นล้อเลื่อน หรือติดอยู่กับรถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนตร์ รถบดถนน หรือรถแทรกเตอร์ รวมถึงยานพาหนะอื่นๆ ที่มีพื้นที่โฆษณาไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร

Credit : www.officemate.co.th


  • 2

สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการบริจาค กรณีผู้บริจาคเป็นบุคคลธรรมดา


Tags : 

 

Credit : https://www.rd.go.th


  • 0

8 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี


Tags : 

1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท

รายจ่ายแบบแรกที่ห้ามนำไปหักภาษีเด็ดขาดคือรายจ่ายของผู้บริหารบริษัทที่อยู่นอกระเบียบบริษัท เช่น ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบุญ งานบวช หรือกระทั่งงานศพของพนักงาน เป็นต้น รายจ่ายแบบนี้ ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจน ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นตามอำเภอใจและเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท

ดังนั้นในทางที่ดีถ้าบริษัทมองว่ารายจ่ายเหล่านี้ยังไงก็ต้องเกิดขึ้นและจะใช้เงินบริษัทมาจ่าย ก็ควรจะทำการระบุไว้ในระเบียบของบริษัทให้ชัดครับ เช่น ระบุว่าผู้บริหารจะมีค่าน้ำมันเดือนละเท่าไร หรือถ้าพนักงานไปบวชหรือเสียชีวิต บริษัทจะให้เงินช่วยเหล่าเท่าไรในฐานะของสวัสดิการพนักงาน เป็นต้น

2. รายจ่ายเพื่อรับรองลูกค้าที่เกินโควต้า

รายจ่ายแบบที่สองที่ห้ามนำไปหักภาษี คือค่ารับรองลูกค้าที่เกินโควต้า คนทำธุรกิจโดยทั่วไปก็น่าจะเข้าใจว่ากว่าจะปิดดีลกับลูกค้าได้ ก็ต้อง “เลี้ยง” ลูกค้าไปหลายรอบ อย่างไรก็ดีการเลี้ยงเหล่านี้ในทางกฎหมายมีโควต้าว่าต้องเลี้ยงไม่เกินหัวละ 2,000 บาทต่อครั้งเท่านั้น (นับหัวรวมพนักงานที่พาไปเลี้ยงด้วย) และรายจ่ายพวกนี้จะต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้บริษัทด้วย โดยเพดานของรายจ่ายตรงนี้สูงสุดอยู่ที่ 10 ล้านบาท นหมายความว่าไม่ว่าบริษัทจะต้องเลี้ยงลูกค้าแค่ไหนกว่าจะปิดดีลได้ แต่รายจ่ายตรงนั้นจะไม่สามารถเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีถ้าเกินเพดานที่ว่าไปครับ

3. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ

รายจ่ายแบบที่สามที่ต้องห้ามเลยในการเอามาหักภาษี คือรายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ พูดง่ายๆ ก็คือ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนไปว่าจ่ายไปที่ใคร อันนี้อาจพบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างอุปกรณ์สำนักงาน ล้างแอร์บริษัท หรือกระทั่งการจ้างมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปส่งเอกสาร ประเด็นคือ รายจ่ายเหล่านี้ หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จให้ มันก็จะไม่มีหลักฐานใดๆ ว่ารายจ่ายพวกนี้จ่ายไปที่ใคร และจะไม่สามารถนำมาหักภาษีได้ครับ

4. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม

รายจ่ายแบบที่สี่ ที่บริษัทอาจนับเป็นรายจ่ายของบริษัท แต่สรรพากรไม่นับ คือรายจ่ายที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ มันจะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือต้องเก็บไว้เพื่อนำจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร เช่นบริษัทขายของได้ 100 บาท บริษัทก็ได้จริงๆ 93 บาท อีก 7 บาทต้องเก็บไว้นำจ่ายเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากร ประเด็นคือ 7 บาทที่ว่านี้ ไม่สามารถเอามาคิดเป็น “รายจ่าย” ของบริษัทตอนเสียภาษีเงินได้นะครับ

5. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก

รายจ่ายแบบที่ห้าที่ห้ามนำไปหักเวลาคำนวณภาษี คือ รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก บริษัทจำนวนมากมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งในทางบัญชีปกติ บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน แต่ในทางภาษี ตามกฎหมายไทย บริษัทไม่ว่าจะแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกันในทางภาษี ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง จึงเป็นเรื่องของการไหลเวียนของเงินในบริษัท ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้

6. รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง

รายจ่ายแบบที่หกที่ห้ามนำมาหักตอนเสียภาษาโดยเด็ดขาดก็คือ รายจ่ายค่าอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลง บริษัทจำนวนมากมีทรัพย์สินในรูปของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในทางบัญชีทั่วๆ ไปก็จะต้องมีการประเมินมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้ตลอด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าของสินทรัพย์ของบริษัทซึ่งมากขึ้นหรือลดลง ซึ่งกรณีที่มันลดลง ในทางบัญชีปกติก็อาจถือเป็นรายจ่ายในงบการเงินได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์บริษัทลดลง แต่ในทางภาษี เนื่องจากยังไม่มีการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้น และการประเมินมูลค่าก็ไม่มีหลักทางภาษีที่แน่นอนตายตัวในรายละเอียด ทางสรรพากรจึงห้ามเอาการที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทถืออยู่ซึ่งลดลงไปมาคิดเป็นรายจ่ายเด็ดขาด

7. รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป

รายจ่ายแบบที่เจ็ดที่ห้ามนำมาหักออกจากรายได้ในทางภาษีก็คือ รายจ่ายทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไป อันนี้เป็นในกรณีที่บริษัทสร้างรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตัวเองถืออยู่ เช่น การขุดแร่หรือตัดไม้มาขาย แน่นอนว่าจากมุมของบริษัท เมื่อเอาทรัพยากรมาใช้แบบนี้ ทรัพยากรย่อมลดลง และในทางบัญชีโดยทั่วไปก็ถือเป็นรายจ่ายที่ต้องคำนวณกันไป แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ สิ่งเหล่านี้ ในทางภาษีไม่สามารถนำมานับเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งเหตุผลก็น่าจะเป็นเพราะมันไม่มีเกณฑ์ชัดเจนในการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกใช้ไป และถ้าเปิดโอกาสให้เอาส่วนนี้มาเป็นรายจ่าย บริษัทก็มีแนวโน้มจะประเมินมูลค่าทรัพยากรที่เสียไปเกินจริง

8. รายจ่ายค่าปรับ

รายจ่ายแบบสุดท้ายที่ห้ามเอามาหักออกจากรายได้ตอนเสียภาษีแน่ๆ ที่เราจะพูดถึงในที่นี้คือรายจ่ายค่าปรับครับ ค่าปรับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอกับบริษัทไม่ว่าบริษัทจะทำผิดกฎหมายระดับเล็กน้อยหรือมาก และเมื่อต้องเสียค่าปรับ ก็แน่นอนว่ามันเป็นเงินของบริษัทที่ต้องจ่ายออกไป และในทางบัญชีทั่วไปก็ต้องคิดเป็นรายจ่าย อย่างไรก็ดี แม้ว่าเงินบริษัทจะเสียไปตรงนี้จริง ในทางภาษีเราไม่สามารถเอาพวกค่าปรับต่างๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เพราะจากมุมของสรรพากร รายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่มันเกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ มันจึงเอามาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีของบริษัทไม่ได้

 

Credit : https://sme.ktb.co.th


  • 0

TFRS 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า


“รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า”  หรือ TFRS 15 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ดังนั้นนักบัญชีและผู้เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องความเข้ากับมาตรฐานใหม่นี้ไว้ให้ดีครับ

สภาวิชาชีพบัญชี ได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง “รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า” ซึ่งมีผลบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่รวบรวมเรื่องรายได้ไว้ในที่เดียว และยกเลิกมาตรฐานเกี่ยวกับรายได้เรื่องอื่นๆ ที่เคยใช้มา เช่น สัญญาก่อสร้าง รายได้ หรือการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เช่น โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า สัญญาสำหรับการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ การโอนสินทรัพย์จากลูกค้า รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา การจัดทำมาตรฐานดังกล่าวเป็นความร่วมมือกันของคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศและคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกาเพื่อให้มาตรฐานเรื่องรายได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เนื้อหาสำคัญของมาตรฐานฉบับนี้คือกิจการจะรับรู้รายได้เมื่อได้โอนการควบคุม (Transfer of control) ในสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าแล้ว หรือมองในมุมกลับกันคือลูกค้าได้ควบคุมสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว มาตรฐานฉบับนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากิจการอาจมีรายได้หลายประเภทรวมอยู่ในสัญญาที่ทำกับลูกค้า และอาจมีราคาที่เปลี่ยนแปลงได้ การรับรู้รายได้อาจมีวิธีการและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ดังนั้น การรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นเมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามภาระด้วยเงื่อนไขที่ทำกับลูกค้าหรือสถานการณ์บางอย่างได้เกิดขึ้น  มาตรฐานได้กำหนดขั้นตอนสำคัญในการรับรู้รายได้ไว้ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า

สัญญาเป็นข้อตกลงของบุคคลสองฝ่ายที่ทำให้เกิดสิทธิและภาระผูกพันที่ใช้บังคับได้ ซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษร วาจาหรือประเพณีปฏิบัติทางธุรกิจ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ประการคือ คู่สัญญาได้อนุมัติสัญญาแล้ว กิจการสามารถระบุสิทธิของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายเกี่ยวกับสินค้าบริการที่จะส่งมอบ กิจการสามารถระบุเงื่อนไขการชำระสิ่งตอบแทนได้ สัญญามีเนื้อหาเชิงพาณิชย์ และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะเรียกเก็บสิ่งตอบแทนที่กิจการมีสิทธิที่จะได้รับ

2. ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา

ในวันเริ่มต้นสัญญากิจการต้องระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญาว่ากิจการจะส่งมอบสินค้าหรือบริการที่แตกต่างกัน (Distinct) ซึ่งมีเงื่อนไข 2 ข้อคือ (1) ลูกค้าได้รับประโยชน์จากสินค้าหรือบริการนั้น หรือ ใช้ควบคู่ไปกับทรัพยากรที่ลูกค้ามี และ (2) ข้อตกลงนั้นแยกจากข้อตกลงในสัญญาอื่น  ตัวอย่าง เช่น กิจการขายเครื่องรับโทรทัศน์  ขายรถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าหรือบริการที่เป็นเอกเทศและสามารถนำไปใช้ได้ทันทีและแยกจากข้อตกลงในสัญญาอื่นๆ

นอกจากนี้ กิจการอาจส่งมอบชุดของสินค้าและบริการที่แตกต่างกันแต่มีลักษณะเนื้อหาโดยส่วนใหญ่เหมือนกันและรูปแบบการส่งมอบให้ลูกค้าเหมือนกัน (series) เช่น การให้บริการสร้างบ้าน มีวัสดุในการก่อสร้างที่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาผสมผสานกันในการก่อสร้างจะกลายเป็นบ้านที่จะส่งมอบให้ลูกค้าได้

3. การกำหนดราคาของรายการ

กิจการต้องพิจารณาข้อตกลงในสัญญาและประเพณีปฏิบัติในธุรกิจในการกำหนดราคาของรายการ ซึ่งอาจเป็นสิ่งตอบแทนที่มีมูลค่าคงที่ มูลค่าผันแปรหรือทั้งสองแบบ   สิ่งตอบแทนคงที่ เช่น จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในสัญญา สิ่งตอบแทนผันแปร เช่น ส่วนลดที่คำนวณจากปริมาณซื้อตามเป้าหมายที่กำหนด โดยใช้วิธีมูลค่าคาดหวังหรือวิธีจำนวนเงินที่เป็นไปได้สูงสุด สิ่งตอบแทนที่ไม่ใช่เงินสด เช่น ลูกค้าชำระค่าสินค้าเป็นสินทรัพย์หรือหุ้น สิ่งตอบแทนที่จะจ่ายให้ลูกค้า เช่น คูปองหรือส่วนลด (กรณีของโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า) นอกจากนี้ กิจการต้องพิจารณาว่ามีองค์ประกอบการจัดหาเงินที่มีนัยสำคัญหรือไม่ หรือมีการคิดดอกเบี้ยในราคาสินค้าหรือบริการ ซึ่งต้องมีการแยกส่วนนี้ออกมาต่างหาก (มาตรฐานได้มีข้อผ่อนปรนในทางปฏิบัติหากการชำระหนี้มีระยะเวลาหนึ่งปีหรือสั้นกว่า กิจการไม่ต้องแยกองค์ประกอบดังกล่าว)

4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติ

กิจการส่วนใหญ่จะรวมสินค้าและบริการหลายชนิดไว้ด้วยกันและขายในราคาที่ถูกกว่าการที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าและบริการแยกเป็นรายชิ้น ดังนั้น กิจการต้องปันส่วนโดยอาศัยราคาขายแบบเอกเทศเป็นเกณฑ์ในการปันส่วน (Stand-Alone Selling Prices) ให้กับสินค้าและบริการเนื่องจากกิจการอาจมีการปฏิบัติตามภาระที่แตกต่างกันและทำให้รับรู้รายได้ในเวลาและวิธีที่แตกต่างกัน กิจการอาจปันส่วนราคาโดยอาจใช้วิธีสำรวจราคาตลาดในกรณีที่หาได้ หรือถ้าไม่สามารถหาได้อาจใช้วิธีต้นทุนที่คาดไว้บวกอัตรากำไรหรือวิธีส่วนของราคาที่เหลือ

5. รับรู้รายได้เมื่อได้ทำตามภาระที่กำหนดไว้ในสัญญา 

ภาระที่กำหนดไว้ในสัญญาอาจมีลักษณะที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้น (1) ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง (Point over time) หรือต้องปฏิบัตให้เสร็จสิ้น (2) ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Point in time)  ซึ่งกิจการต้องพิจารณาก่อนว่ามีภาระตามข้อแรกหรือไม่ หากไม่เข้าเงื่อนไขในข้อแรกจึงพิจารณาในข้อสองต่อไป

– 5.1 เงื่อนไขที่ใช้ในการพิจารณาแบบที่ (1) มีสามข้อ (เมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง) คือ 1. ลูกค้าได้รับและใช้ประโยชน์จากการทำงานพร้อมกันของกิจการทันทีที่ได้ปฏิบัติงาน เช่น การให้บริการทำความสะอาด หรือ 2. กิจการได้สร้างหรือทำให้สินทรัพย์ของลูกค้าเพิ่มขึ้น เช่น งานระหว่างก่อสร้างตามสัญญาก่อสร้าง หรือ 3. การทำงานของกิจการไม่ก่อให้เกิดสินทรัพย์ที่กิจการมีทางเลือกอื่นในการนำไปใช้ และกิจการมีสิทธิบังคับให้จ่ายชำระสิ่งตอบแทนสำหรับงานที่ได้ทำเสร็จสิ้นจนถึงปัจจุบัน เช่น งานบริการติดตั้งระบบเครือข่ายของกิจการ ที่หากมีการเลิกสัญญากิจการสามารถเรียกให้ลูกค้าชำระเงินสำหรับงานที่ทำจนถึงปัจจุบันได้  หากกิจการมีภาระที่เข้าเงื่อนไขแบบใดแบบหนึ่งข้างต้น กิจการต้องรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานโดยวัดระดับความก้าวหน้าของภาระงานโดยอาจวัดจากวิธีปัจจัยนำเข้า (Input Method) หรือวิธีผลลัพธ์ (Output Method) ซึ่งเราคุ้นเคยมาก่อนในการวัดอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จในมาตรฐานเรื่องสัญญาก่อสร้างนั่นเอง

– 5.2 ข้อบ่งชี้ที่ใช้ในการพิจารณาแบบที่ (2) กิจการต้องพิจารณาข้อบ่งชี้ในการโอนอำนาจการควบคุมสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น กิจการมีสิทธิที่จะได้รับชำระเงินสำหรับสินทรัพย์ หรือลูกค้ามีกรรมสิทธิ์ทางกฏหมายในสินทรัพย์ หรือกิจการได้ส่งมอบสินทรัพย์แล้ว หรือกิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่มีนัยสำคัญให้ลูกค้าแล้ว หรือลูกค้าได้ยอมรับสินทรัพย์แล้ว หากมีข้อบ่งชี้ดังกล่าว กิจการก็สามารถรับรู้รายได้จากการโอนการควบคุมสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า ณ เวลานั้นได้ เช่น การขายสินค้าทั่วไป กิจการก็ส่งมอบสินค้าและลูกค้ายอมรับสินค้านั้นแล้ว กิจการจึงรับรู้รายได้ หากกิจการได้รับชำระเงินมาก่อนแต่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า กิจการก็ยังไม่สามารถรับรู้รายได้จนกว่าจะทำการส่งมอบสินค้าให้อยู่ในการควบคุมของลูกค้า

Credit : www.daa.co.th


  • 0

 กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

EBIT (Earnings Before Interest and Taxes) คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income) มันเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทโดยไม่คำนึงถึง ภาษี และ ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ซึ่งทำให้การนำ EBIT ไปใช้วิเคราะห์ หรือเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure) ที่แตกต่างกันออกไปนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง

EBIT = Revenue – Operating Expenses – COGS

โดยตามสูตรด้านบนแล้ว เราสามารถคำนวณหา EBIT หรือ กำไรจากการดำเนินงาน ได้จากการนำรายรับมาหักออกด้วยต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ERP product

Credit : www.hoondb.com


  • 0

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์


Tags : 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแสตมป์ แบ่งได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

Credit : https://www.rd.go.th