Category Archives: Uncategorized

  • 2

“กรมสรรพากร” มีหน้าที่อย่างไร


Tags : 

กรมสรรพากร (The Revenue Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ที่เริ่มก่อตั้งในสมัย รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2433

   กรมสรรพากร มีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศ ตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาล เพื่อนำมาใช้พัฒนาประเทศได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีมูลค่าเพิ่ม อากรแสตมป์ จากหน้าที่ดังกล่าวเมื่อมีเหตุจลาจล กรมสรรพกรจึงมักถูกวางเพลิงเสมอ อาทิเหตุการณ์ 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ จนเป็นหน่วยงานของรัฐที่ถูกวางเพลิงมากที่สุดหน่วยงานหนึ่ง

นอกจากนั้นยังพิจารณาปรับปรุงตัวบทกฎหมาย และระบบการบริหารจัดเก็บภาษีเพื่อส่งเสริมการออม การลงทุนและการแข่งขันในการผลิตและการส่งออกกับนานาประเทศ ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ และเสริมสร้างความสมัครใจในการเสียภาษี และยังทำความตกลงระหว่างประเทศเพื่อขจัดการเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

Credit : th.wikipedia


  • 2

ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น (ภพ.30)


Tags : 

ถ้ายื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
  • โดยเงินเพิ่มที่เสียต้องไม่เกินจำนวนภาษี
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

3. ค่าเบี้ยปรับ

  • กรณี ยื่นแบบภาษีเพิ่มเติม ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 1 เท่าของเปอร์เซ็นเบี้ยปรับ (หากลืมยื่นภาษีซื้อ ไม่ต้องขอยื่นเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน เพราะสามารถนำมาขอยื่นได้ในเดือนถัดไป ไม่เกิน 6 เดือนของวันที่ตามใบกำกับภาษี)
  • กรณี ไม่ได้ยื่นแบบภาษี ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 2 เท่าของเปอร์เซ็นต์เบี้ยปรับ
  • ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท
  • ไม่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  • ไม่เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  • ไม่ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า

Credit : https://www.ztrus.com


  • 0

ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด แตกต่างกันอย่างไร


ห้างหุ้นส่วนจำกัด  และ  บริษัทมหาชนจำกัด  แตกต่างกันอย่างไร

จำนวนผู้เริ่มจดจัดตั้ง 

บจก. : 3 คนขึ้นไป

หจก. : อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป (จำกัดและไม่จำกัด อย่างน้อยจำพวก ละ 1 คน)

เงื่อนไขความรับผิดชอบ  

บจก. : ทุกคนจำกัดความรับผิดชอบ

หจก. :  มีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ จำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ

ความรับผิดชอบในหนี้สิน 

บจก. : รับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนที่ยังไม่ได้ชำระ

หจก. : หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบตามเงินลงทุน ส่วนหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด (รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวด้วย)

กรบริหารงาน :

บจก. : บริหารงานโดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง

หจก. : การตัดสินใจต้องมีการเห็นขอบจากหุ้นส่วน

ผู้เซ็นต์รับรองงบการเงินประจำปี 

บจก. : CPA เป็นผู้เซ็นต์รับรองงบ

หจก. : TA หรือ CPA เป็นผู้เซ็นต์รับรองงบ

การรับรองงบการเงินประจำปี

บจก. : ต้องมีการประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ปีละครั้ง

หจก. : ไม่ต้องมีการประกาศเชิญด้วยการลงโฆษณา

 ความแตกต่างของคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิที่จะจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้  ห้างหุ้นส่วนสามัญจำแนกเป็น 2 ประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน  และ  ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ใช้คำคำนำหน้าชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ห้างหุ้นส่วนนี้มีหุ้นส่วนประเภทเดียวคือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงให้มีผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการขก็ได้

ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เป็นบุคคลธรรมดา ใช้คำคำนำหน้าชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ถ้าไม่ได้ระบุลงในสัญญาห้าง ตามกฎหมายให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิจัดการได้

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญ

• จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้

• มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน

• ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้

• ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้

• เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้

• เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ได้แก่ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด

หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนประเภทนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างได้

หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่ได้

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด

• ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

• มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ

• ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน และไม่สามารถลงทุนเป็นแรงงานได้ รวมถึงเมื่อตาย ลาออก ล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ

• เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

 

Credit : www.daa.co.th


  • 0

สิทธิในการอุทธรณ์ภาษีอากร


Tags : 

ผู้ถูกประเมินภาษีอากรสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อใคร?

1.ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง

2.ในต่างจังหวัด ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน

 

ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นอย่างไร?

เมื่อได้มากวินิฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์นั้น เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก้ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้

1. ให้ ปลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

2. ให้ ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินบางส่วนถูกต้องและบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน

3. ให้ ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

4. ให้ เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์ ปรากฎว่า การประเมินถูกต้องแต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้

 

หากผู้อุทธรณ์ยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีก ผู้อุทธรณ์ยังมิสิทธิ์ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน 30วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อีกด้วย

สรุปได้ว่า เรื่องการอุทธรณ์ภาษีอากรในกรณีหากเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิที่จะคัดค้านการประเมินนั้นได้โดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดอุทธรณ์แจ้งไปยังผู้อุทธรณ์แล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อไปได้อีกโดยการฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

 

 

Credit : www.rd.go.th


  • 0

ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า


Tags : 

กำหนดให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพิ่มขึ้นโดยสามารถลงเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3 เท่าของรายจ่ายจริง โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. ผู้ประกอบการที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และจะต้องไม่นำรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้ ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2. ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นภาษี เฉพาะเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า จึงเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปจริง[4]

3. ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นภาษีเพิ่มอีก 1 เท่าจากข้อ 2 สำหรับเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินในข้อ 2. แล้วต้องไม่เกินร้อยละของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี

Credit : https://www.dlo.co.th