สรุปภาษีมรดกอย่างย่อ

  • 0

สรุปภาษีมรดกอย่างย่อ


Tags : 

สำหรับภาษีมรดกสรุปได้ดังนี้

  • กฎหมายที่มีผลต่อการเสียภาษีมรดก มี 2 ตัวที่สำคัญคือ พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฏากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558
  • ภาษีมรดกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ภาษีจากการรับมรดก (ผู้ให้เสียชีวิตแล้ว) และภาษีจากการรับให้ (ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่)

ภาษีจากการรับมรดก

  • ภาษีจากการรับมรดก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฎหมาย เงินฝาก ยานพาหนะ ทรัพย์สินทางการเงิน มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท บุคคลธรรมดาเสียภาษี 10% ของมรดกส่วนเกิน 100 ล้านบาท ส่วนบุพการีและผู้สืบสันดาน เสียภาษี 5% ของมรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี
  • ภาษีจากการรับมรดก ต้องยื่นแบบเสียภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดก หากไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา ปรับ 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ หากยื่นไม่ครบถ้วน ปรับ 0.5เท่าของภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม ไม่ชำระภาษีให้ครบภายในกำหนดเวลา เสียเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ไม่รวมเบี้ยปรับ หากไม่ยื่นแบบ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หากซ่อนเร้นปิดบัง ทำลายระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท ฯลฯ
  • บุคคลที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีได้แก่ ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ คู่สมรส ใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ หน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ

ภาษีจากการให้

สังหาริมทรัพย์

  • บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส เสียภาษี 5% จากมูลค่าทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ส่วนบุคคลอื่น เสียภาษี 5% จากมูลค่าทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท
  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนเกินหรือนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น
  • ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

อสังหาริมทรัพย์

  • บิดามารดาโอนกรรมสิทธิให้บุตรไม่รวมบุตรบุญธรรม เสียภาษี 5% จากมูลค่าส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท
  • ให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ในคราวเดียวกันที่มีมูลค่าเกิน 20 ล้านบาท โดยให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท

Credit : www.pptvhd36.com


Leave a Reply