สมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรในองค์กร
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจาก การดำเนินกิจการต่างๆ ล้วนต้องอาศัยบุคลากรในองค์กรเป็นหลัก แม้จะมีการ ใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการทำงานแล้วก็ตาม การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ อุปนิสัยที่ดี
สมรรถนะของบุคลากรในองค์การ
การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการดำเนินกิจ การต่างๆ ล้วนต้องอาศัยบุคลากรในองค์กรเป็นหลัก แม้จะมีการใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการทำงานแล้วก็ตาม การมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ อุปนิสัยที่ดี และนำคุณสมบัติดังกล่าว มาสร้างสรรค์งานให้เกิดความสำเร็จและผลิตผลที่ดี ตอบสนองเป้าหมายขององค์การ สร้างความสำเร็จโดยรวมให้กับทั้งตัวเองและหน่วยงานที่ทำงานอยู่ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารของทุกองค์การต่างมุ่งหวัง
สมรรถนะ (Competency) คืออะไร
สมรรถนะ (Competency) เป็นคำศัพท์ร่วมสมัยเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับความสนใจนับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 โดยเฉพาะจากงานริเริ่มของ David C.McCelland (1973) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Harvard ที่เน้นย้ำให้วงการประเมินบุคคลหันมาให้ความสำคัญกับสมรรถนะมากกว่าสติปัญญา *
สมรรถนะ หมายถึง กลุ่มของคุณลักษณะใดๆที่อยู่ภายในบุคคลอันมีผลต่อการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานให้สำเร็จดีขึ้นได้ ดังมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น*
องค์ประกอบของสมรรถนะ หมายรวมถึง ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และ ความสามารถ (Ability) ซึ่งถือเป็นสมรรถนะที่ “Hard” เป็นส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งที่มีความชัดเจนเอื้อต่อการสังเกต การพัฒนาและการประเมิน มีความเกี่ยวข้องกับงานและบุคคล นอกจานี้ คุณลักษณะอื่นๆ (Others-O) ที่เป็นลักษณะเฉพาะบุคคล ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำทะเล อาทิ เช่น ลักษณะนิสัย แรงจูงใจ ความสนใจ เจตคติ ความเชื่อ ค่านิยม ภาพพจน์ของตน ซึ่งถือเป็นสมรรถนะที่ “Soft” ที่แปรผัน ยากแก่การวัด การฝึกฝนพัฒนา
แต่ละองค์การจะให้ความสำคัญต่อ KSAO ในสัดส่วนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญในด้านต่างๆ เช่น หากหน่วยงานให้ความสำคัญกับความเป็นคนดี คนเหมาะสม มากกว่า คนเก่ง นั่นหมายความว่า การวิเคราะห์รายการสมรรถนะจะต้องเน้นส่วนที่จมใต้น้ำมากว่า แต่ถ้าเน้นความเก่ง ก็จะวิเคราะห์เฉพาะส่วนที่อยู่ส่วนบนของภูเขาน้ำแข็ง ซึ่งส่วนใหญ่จะวัดและสังเกตได้ง่ายกว่า
* Boyatzis,1982; cooper, 2000; Dubois, 1993; Klemp, 1980; Parry,1996; Spencer& Spencer, 1993) * บทความ การพัฒนาโมเดลสมรรถนะเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดย ดร.วีระวัตน์ ปันนิตามัย คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
BY SmartIdea