อนาคตอุตสาหกรรมไทยภายใต้เงา FTA

อนาคตอุตสาหกรรมไทยภายใต้เงา FTA

ในปัจจุบันคงไม่มีใครที่จะปฎิเสธได้ว่าเศรษฐกิจการค้าของโลกกำลังเดินหน้า เข้าไปสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ และอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าการเจรจา การค้าในกรอบเวทีขององค์การค้าระหว่างประเทศ (WTO) จะไม่มีแนวโน้ม ของความคืบหน้าและไม่ส่อแววของความสำเร็จแต่ประการใด

ในปัจจุบันคงไม่มีใครที่จะปฎิเสธได้ว่า เศรษฐกิจการค้าของโลกกำลังเดินหน้าเข้าไปสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ และอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าการเจรจาการค้าในกรอบเวทีขององค์การค้าระหว่างประเทศ (WTO) จะไม่มีแนวโน้มของความคืบหน้า และไม่ส่อแววของความสำเร็จแต่ประการใดในระยะเวลาอันใกล้นี้ก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างของสภาพทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ต่างกันมากในมวลหมู่สมาชิก ส่งผลทำให้ความสนใจ ผลประโยชน์ และความต้องการทางการค้าของประเทศต่างๆ แตกต่างกันมากจนยากและแทบจะไม่มีทางเป็นไปได้ ที่จะสร้างกรอบและกติกาความตกลงที่สามารถก่อให้เกิดเงื่อนไขที่ได้ประโยชน์ทุกประเทศ (win-win) ได้ หรืออย่างน้อยในเวลาอันใกล้นี้

เหตุผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญก็คือ ก็เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงเปรียบเทียบกับสินค้าของตนเอง เหนือประเทศคู่แข่งในตลาดประเทศที่ตนเองทำความตกลงด้วย เพราะสินค้าของตนเองจะเข้าตลาด ได้มากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องหรือเสียภาษีศุลกากรน้อยกว่าและสะดวกกว่า รวมทั้ง การเข้าสู่ตลาดก่อน คู่แข่งถือว่ามีความได้เปรียบในระดับแรก เนื่องสามารถเป็นที่รู้จักและสร้างฐานลูกค้าและเครือข่าย การค้าไว้แล้ว ผู้มาใหม่ ต้องออกแรงและลงทุนมากกว่าปกติเพื่อจะเข้ามาแข่งทีหลัง

ดังนั้นหลายประเทศจึงต้องเร่งทำความตกลงกับประเทศต่างๆ ให้มากและเร็วที่สุดที่จะทำได้ โดยเฉพาะ ประเทศที่จะเป็นหรือมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดสินค้าที่สำคัญของตนเอง และยิ่งประเทศต่างๆ เข้าสู่การ เจรจาการค้าเสรีมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นของประเทศ ต้องมีความตกลงการค้าเสรีกับ ประเทศอื่นๆ มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ไม่เสียเปรียบในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งในตลาดที่สำคัญ

ความก้าวหน้าและการขยายขอบเขตความตกลงของ FTA ในปัจจุบันมีการพัฒนาออกไปไกลกว่า เฉพาะการสร้างความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันเท่านั้น แต่จะครอบคลุมประเด็นที่สำคัญที่คู่เจรจาทุกฝ่ายพอใจ ตั้งแต่การลงทุน การบริการ และการพัฒนาด้านต่างๆ ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจคู่สัญญาจะสามารถได้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวได้อย่างเต็มที ซึ่งมักจะเรียกกันว่า ความร่วมมือใกล้ชิดทางเศรษฐกิจหรือ พันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Close Economic Partnership หรือ CEP) เพราะฉะนั้น ประเด็นต่างๆ ทั้งหมดจะมีการผูกโยงเข้าหากันในกระบวนการต่อรอง และจะมีการแลกเปลี่ยนกันข้ามสาขาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของแต่ละฝ่าย

โอกาสที่ต้องสร้าง

จากที่กล่าวข้างต้นทั้งหมดนั้นเป็นเพียงสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ในระยะสั้นในกระบวนวิวัฒนการของโลกที่ก้าวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดนมากขึ้น และประเทศไทยก็คงไม่อาจจะสามารถฝืนกระแสโลกได้ เหลือเพียงแต่ว่าภาคอุตสาหกรรมไทยจะวางแนวทางเพื่อให้ตัวเองมีความ พร้อมและสามารถทำให้ตนเองดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันที่รุนแรงได้อย่างเต็มที่

แนวทางการปรับตัวที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากสภาพดังกล่าวได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุด คือ

1. พัฒนาคุณภาพสินค้าเข้าสู่มาตรฐานสากลให้เร็วที่สุด เพราะผลของการเจรจาการค้าเสรีมาตรการที่จะเป็นด่านที่สำคัญท ี่ อุตสาหกรรมไทย จะฝ่าเข้าไปในตลาดประเทศคู่ค้าที่เหลืออยู่จะเป็นมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร เช่น มาตรฐานสินค้า และเงื่อนไขด้านมนุษยธรรม ฯลฯ ดังนั้น FTA จะต้องช่วยสร้างโอกาสเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาเพื่อยก ระดับการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานที่คู่ค้าต้องการจะเป็น โอกาสที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยเร่งการพัฒนาคุณภาพเข้าสู่ มาตรฐานสากลสำหรับประเทศอื่นๆ