บทที่7 โครงสร้างพื้นฐานของการวางแผนทรัพยากรองค์กร
การทำความเข้าใจขอบเขตของระบบในการวางแผนทรัพยากรองค์กร จากนิยามนั้นเป็นเรื่องยาก
ดังนั้นการได้เห็นตัวอย่างการทำงานของระบบจะช่วยให้จับคู่การทำงานของระบบกับกระบวนการดำเนินธุรกิจของจริงได้ง่ายขึ้น
ในเรื่องนี้จะนำโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กรหนึ่ง ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง ซึ่งน่าจะช่วยให้เห็นภาพรวมของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร โดยทั่วไปได้เป็นอย่างดี แต่นักศึกษาพึงศึกษาเพิ่มเติมจากโปรแกรมอื่นๆ ด้วย เนื่องจาก ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กรของแต่ละตัวจะมีขอบเขตและชื่อเรียกระบบย่อยที่แตกต่างกัน และมักจะมีจุดเด่นต่างกัน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ในที่นี้แต่ละระบบงานหรือโมดูล (module) อาจจะไม่ตรงกับชื่อที่ปรากฏในโปรแกรมจริง เนื่องจากผู้เขียนต้องการใช้เป็นชื่อกลางๆ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปมากกว่าการอิงอยู่กับชื่อที่เฉพาะเจาะจง
1. ระบบงานย่อยในการวางแผนทรัพยากรองค์กร
การวางแผนทรัพยากรองค์กรส่วนมากประกอบด้วยโมดูลที่ตอบสนองการทำงานของแต่ละหน่วยงานทางธุรกิจ (business unit) ขององค์กรทางด้านธุรกิจ ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่า งานส่วนหลัง (back office) ทั้งส่วนที่เป็นธุรกิจซื้อมาขายไป ธุรกิจบริการ หรืออุตสาหกรรมก็ตาม และมักจะมีโมดูลอื่นๆ เสริมเข้ามาเพื่อรองรับการใช้งานขององค์กร เช่น ระบบพีโอเอส (POS) ระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) ระบบการวางแผนวัตถุดิบ (MRP) ระบบควบคุมงบประมาณ (BOQ) ธุรกิจอัจฉริยะ (BI) เว็บท่าหรือเว็บพอร์ทัล (web portal) หรือโมดูลที่ขยายขอบเขตไปนอกสำนักงาน เช่น การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการโซ่อุปทาน เป็นต้น ตลอดจนแอพพลิเคชั่นบนมือถือ (mobile application)
การวางแผนทรัพยากรองค์กรเป็นระบบงานขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้น การนำระบบอื่นมาเชื่อมโยงกับการวางแผนทรัพยากรองค์กรย่อมสามารถทำได้เสมอ และข้อมูลทั้งหมดจะสามารถรวมกันบนมาตรฐานเดียวกันได้ ช่วยผู้บริหารจะสามารถควบคุมการทำงานและเรียกดูรายงานได้ตลอดเวลา
2. โมดูลต่างๆ ในระบบงานส่วนหลังของการวางแผนทรัพยากรองค์กร
จากการวางแผนทรัพยากรองค์กรที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น โมดูลต่างๆ ที่อาจพบได้ในระบบงานส่วนหลัง (back office) เช่น ระบบจัดซื้อ (PO) ระบบงานขาย (SO) ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง (IC) ระบบสินทรัพย์และการคำนวณค่าเสื่อม (FA) ระบบบัญชีทั่วไป (GL) ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (AP) ระบบบัญชีลูกหนี้ (AR) ระบบควบคุมเช็ค(CQ) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ระบบควบคุมการผลิต (MRP) ระบบภาษี (TAX) ระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ระบบวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อการจัดจำหน่าย(S&OP) และระบบบัญชีการเงิน (FI)
3. หน่วยงานตามความรับผิดชอบในระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
การวางแผนทรัพยากรองค์กรเป็นระบบที่ใช้ในระดับที่ครอบคลุมทั้งองค์กร (enterprise-wide) สามารถรองรับโครงสร้างองค์กรทั้งองค์กรได้ เป็นระบบที่เป็นศูนย์กลางของทุกระบบงานและทุกส่วนงานหรือโมดูล (modules) ต่างๆ ในระบบงานส่วนหลัง (back office) จึงสะท้อนโครงสร้างองค์กร เพื่อรองรับการดำเนินการและใช้ในการประเมินผลงานตามความรับผิดชอบ (performance base) ตามสายบังคับบัญชา ระบบงานส่วนหลังของการวางแผนทรัพยากรองค์กร จะสามารถกำหนดหน่วยงานตามความรับผิดชอบ (responsibility center) หรือหน่วยธุรกิจ (business unit) ให้เหมาะสมกับกิจการต่างๆ ได้ การวางแผนทรัพยากรองค์กรบางระบบสามารถรองรับองค์กรที่เป็นในรูปของกลุ่มบริษัท รองรับการบริหารงานแบบหลายมิติ (multi-dimensional) ได้ ช่วยให้การประเมินผลงานเป็นไปได้อย่างละเอียด ช่วยให้การจัดสรรทรัพยากร และการจัดสรรต้นทุน เป็นไปอย่างละเอียดและตรงตามความรับผิดชอบ และช่วยให้ประเมินไปถึงลูกค้าหรือคู่ค้าได้ สามารถเปรียบเทียบต้นทุนและผลกำไรแยกตามรายสินค้าได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้บริหารนำไปใช้ในการวางกลยุทธ์ขององค์กรทั้งในระยะสั้นไปจนถึง
บรรณานุกรม สมควร วานิชสัมพันธ์, ชุดวิชา 99701 ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์ หน่วยที่ 7 การวางแผนทรัพยากรองค์กร: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช