ภาษีขายของออนไลน์ที่ควรรู้

  • 0

ภาษีขายของออนไลน์ที่ควรรู้


Tags : 

รู้จักกับภาษีออนไลน์

การจ่ายภาษีคือหน้าที่ของประชาชนทุกคนทุกประเทศ ทว่าในปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจว่าหากเราทำการขายของผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งคงต้องอธิบายชัดเจนตรงนี้เลยว่าอย่างไรก็ต้องเสียในรูปแบบของภาษีเงินได้

ภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีที่ร้านค้านั้นๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท

โดยการคิดอัตราภาษีนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกับการจ่ายภาษีตามปกติ คือคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้

  1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมา ขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
  2. หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน
  3. หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้

ซึ่งคนทั่วไปก็สามารถคิดภาษีด้วยตัวเองได้ หรือใช้โปรแกรมในการคำนวณได้ ด้วยสูตร (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) และแน่นอนว่าหากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็มีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน

ข้อควรรู้ของภาษีออนไลน์

ทางสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับทำให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ แต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี ลองมาดูเงื่อนไขกันว่าสรรพากรจะตรวจสอบอย่างไร

  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

ในส่วนนี้ขอขยายความว่า หากเป็นผู้ชื่นชอบในการซื้อของออนไลน์ การโอน ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ สิ่งสำคัญที่ทางสรรพากรสนใจคือ การรับโอน ต่างหาก ดังนั้นบรรดาขาช็อปทั้งหลายสามารถสบายใจกับกฎหมายนี้ได้

ข้อมูลที่กรมสรรพากรจะได้

  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ชื่อ สกุล
  • เลขบัญชีเงินฝาก
  • จำนวนครั้งของการฝากหรือโอน
  • ยอดรวมจากการฝากหรือโอน

ซึ่งสรรพากรจะไม่เพียงตรวจสอบผู้ที่เป็นร้านค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติจนน่าสงสัยอีกด้วย

Credit : www.ngerntidlor.com


Leave a Reply