วางแผนเกษียณ เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

  • 0

วางแผนเกษียณ เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง


Tags : 

ควร วางแผนเกษียณ เมื่อใด?

คำถามนี้อาจจะไม่ได้อยู่ในความคิดของคุณเลยด้วยซ้ำ ยิ่งเป็นวัยรุ่นวัยเริ่มต้นทำงานยิ่งลืมไปได้เลย ว่าเราควรจะเตรียมตัวเกษียณตั้งแต่เมื่อไหร่ จริง ๆ แล้วนั้นคุณควรจะวางเป้าหมายชีวิตวัยเกษียณอย่างคร่าว ๆ ไว้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ เพื่อที่คุณจะได้มีเป้าหมายในการวางแผนชีวิต ให้เป็นไปตามเป้าหมายของคุณ โดยอาจจะปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาบ้าง ซึ่งเป้าหมายการเกษียณของแต่ละคนก็อาจจะไม่เท่ากัน อย่างบางคนอาจจะตั้งเป้าเกษียณอายุไว้ เมื่อมีอายุ 45 ปี 50 ปี 55 ปี หรือ 60 ปี อันนี้ก็แล้วแต่คุณจะวางแผนเอาไว้ แต่สุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องเข้าสู่ช่วงชีวิตที่เป็นวัยชราหรือวัยเกษียณกันทั้งนั้น

ดังนั้น การวางแผนไว้ก่อนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญประการแรก ๆ เพื่อจะได้เตรียมแผนชีวิตให้ดี และไม่มีปัญหาในบั้นปลายของชีวิตนั่นเอง สำหรับขั้นตอนการวางแผนเกษียณนั้น คุณควรจะเริ่มวางแผนตามช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของแต่ละคน ซึ่งแนะนำว่าคุณควรจะวางแผนเกษียณตั้งแต่ที่อายุยังน้อย เพื่อที่จะได้มีเวลาทำตามแผนได้ตามเป้าหมายที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

การคำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

ขั้นตอนแรกของการวางแผนเกษียณก็คือ การคำนวณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ แล้วมาประเมินว่าในปัจจุบันคุณมีรายรับเท่าไหร่และรายจ่ายเท่าไหร่ จากนั้นก็จัดการวางแผนการเงิน โดยแบ่งส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ใช้เก็บเพื่อเกษียณอายุ รวมถึงแบ่งเงินอีกจำนวนหนึ่งไว้ใช้ลงทุนหรือเข้ากองทุนเพื่อการออมต่าง ๆ เมื่อคุณได้เงินเก็บสักก้อนหนึ่งก็สามารถนำเงินนั้นไปลงทุนในด้านอื่น ๆ ต่อไป เพื่อหวังผลกำไรเป็นรายได้อีกทาง หากว่าเป้าหมายหลังเกษียณของคุณนั้นใช้เงินจำนวนมาก และรายได้ในปัจจุบันเมื่อนับปีไปแล้วคาดว่าจะไม่เพียงพอ สิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือการหารายได้เสริมเพื่อมาช่วยเพิ่มเงินออม และเพิ่มสภาพคล่องในการใช้ชีวิตของคุณนั่นเอง

ตัวอย่างการเตรียมตัวเกษียณอายุ

คุณจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าคุณอยากจะใช้ชีวิตแบบไหน เมื่อคุณเข้าสู่ช่วงเกษียณอายุ เพราะจะทำให้คุณรู้ว่าต่อเดือนคุณจะใช้เงินเท่าไหร่ ถ้าหากอยากให้ชีวิตหรูหราฟู่ฟ่า ไปเที่ยวต่างประเทศ คุณก็ต้องเตรียมเงินมากหน่อย แต่หากอยากใช้ชีวิตแบบชิล ๆ เข้าสู่ธรรมชาติ ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องเตรียมเงินเยอะมากนัก โดยการคำนวณเงินที่ต้องเตรียมสำหรับเกษียณอายุนั้น ใช้เพียง 2 สิ่งเป็นหลักในการคำนวณ นั่นก็คือ

1. ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ดูง่าย ๆ คือ ดูจากค่าใช้จ่ายต่อเดือนในปัจจุบันของคุณ โดยบางตำราจะกล่าวว่า 70% ของรายได้ปัจจุบันของคุณ แต่สูตรนี้เป็นเพียงสูตรคร่าว ๆ เท่านั้น ยังต้องคำนึงถึงไลฟ์สไตล์หลังเกษียณของคุณด้วยว่า จะใช้ชีวิตแบบไหน และนอกจากนั้น ยังต้องคำนึงภาวะเงินเฟ้อ ภาวะค่าเงิน ค่าครองชีพที่แตกต่างและอาจจะเพิ่มขึ้นตามกาลเวลาอีกด้วย

2. จำนวนปีที่คุณคิดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ค่าเฉลี่ยของชีวิตมนุษย์โดยทั่วไปคือ 80 ปี ดังนั้น แต่เนื่องด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบัน อาจทำให้มนุษย์มีชีวิตยาวนานขึ้น เราจึงขอยกตัวอย่างการออมเงินเพื่อการเกษียณ ที่อายุ 90 ปี

 

Credit : www.moneyguru.co.th


Leave a Reply