ความแตกต่างระหว่าง TA กับ CPA
ปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตตแห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ผู้สอบบัญชี Tax Auditor(TA) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรผู้สอบบัญชีรับอนุญาต Certified Public Account (CPA) เป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบรับอนุญาตจากสถาบันวิชาชีพ
การขึ้นทะเบียน
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ต้องเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาต เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจากสภาวิชาชีพตามพระราชบัญญัติวิชาชีพ พ.ศ.2547
สิทธิในการปฎิบัติงาน
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก(ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
หลักเกณฑ์ในการปฎิบัติงาน
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามคำสั่งกรมสรรพากร ท.ป.122/2545ฯ สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ปฎิบัติงานตามที่สภาวิชาชีพกำหนดสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่ปฎิบัติงานตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากร สำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
การรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร จัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 สำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัยชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสำหรับการตรวจสอบและรับรองบัญชีบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดใหญ่จัดทำรายงานการตรวจและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรดำกนดเช่นเดียวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากรสำหรับการตรวจสอบห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
Credit : www.mindphp.com