Tag Archives: ERP

  • 0

6 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ธุรกิจควรใช้ระบบคลาวด์


Tags : 

เหตุผลสำคัญ 6 ประการที่บริษัทโดยเฉพาะร้านค้า องค์กร ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ควรหันมาใช้บริการ ระบบคลาวด์

ช่วยให้คุณพุ่งความสนใจให้การทำธุรกิจได้มากขึ้น

เมื่อธุรกิจเริ่มดำเนินกิจการ สิ่งที่ลืมไม่ได้คือ หน่วยงานที่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจในช่วงเริ่มต้นคือ แผนก IT เช่นเดียวกับทนายความ หมอ หรือช่างประปา การซื้อบริการซอฟท์แวร์ในระบบคลาวด์ เช่น Microsoft Office 365 , Salesforce.com , G-suite หรือ Adobe.com ช่วยให้คุณได้รับประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าตั้งแต่แรก ด้วยโมเดลการใช้งานแบบจ่ายตามการใช้จริง คุณจะได้ระบบที่มีการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ช่วยให้คุณเริ่มต้นธุรกิจของคุณได้รวดเร็วขึ้น และสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพิ่มความคล่องตัวให้กับธุรกิจ

ธุรกิจที่มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก มักพบว่า ไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงในตลาดหรือทำให้ธุรกิจตอบสนองต่อแรงกดดันจากการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เป็นเพราะ ทุน แรงงาน หรือเวลา ที่มีจำกัด ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อการแข่งขันได้ทันท่วงที
บริการระบบคลาวด์เข้ามาช่วยให้ธุรกิจใช้เทคโนโลยีของตนอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่ายที่ซับซ้อน ซึ่งต่างจากเดิมที่ปกติจะต้องทำผ่านศูนย์กลางข้อมูลของบริษัท (Server) เท่านั้น

ลดค่าใช้จ่ายเงินลงทุน

การใช้เงินลงทุนจำนวนมากในช่วงเริ่มต้นของทุกธุรกิจเป็นเรื่องปกติ แต่เราสามารถลดหรือตัดออกด้วยการแบ่งชำระเงินรายเดือน ด้วยการทำให้จำนวนเงินถูกแบ่งเป็นรายจ่ายเป็นก้อนที่เล็กลง เปลี่ยนงบลงทุนด้าน IT ให้กลายเป็นงบค่าใช้จ่ายแทนได้ ระบบคลาว์จึงเป็นระะบบที่ช่วยให้ธุรกิจได้รับบริการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการจ่ายเงินก้อนโต สิ่งหนึ่งที่คุณต้องตระหนักไว้เสมอว่า ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธุรกิจ SMB) ในระยะเริ่มต้นการทำธุรกิจ การรักษาเงินทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเป็นสิ่งสำคัญมาก

ลด-ขยาย ขนาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

ธุรกิจที่มีลักษณะการขายสินค้าเป็นฤดูกาล (seasonal) หรือทำโปรเจคระยะสั้น 1-2 ปี ซึ่งมีความต้องการพนักงานในจำนวนที่แตกต่างกันแต่ละช่วงฤดูกาลขาย ธุรกิจประเภทนี้จะได้รับประโยชน์จากบริการคลาวด์มากที่สุด เพราะธุรกิจสามารถเพิ่มและลดเงินลงทุนจากการที่ไม่ต้องซื้อฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ใดๆ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างเช่นในปีนี้

เข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่

ความสามารถในการทำธุรกิจโดยอย่างไร้พรมแดนเป็นหนึ่งในประโยชน์หลักของบริการระบบคลาวด์ การให้พนักงานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันหรือข้อมูลของธุรกิจจากที่ใดก็ได้ในโลกที่มีสัญญาณอินเทอร์เนต เป็นความได้เปรียบทางธุรกิจ และไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะเราสามารถอนุญาตในการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นรายบุคคล

เพิ่มประสิทธิภาพในการรับพนักงาน

บริการระบบคลาวด์สามารถช่วยให้คุณจัดหาบุคลากรใช้ในงานตามความต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น เจ้าหน้าที่ด้านการพัฒนาโปรแกรม หรือเจ้าหน้าที่ด้านพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งแต่ละตำแหน่งจำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และไม่ใช่ส่งมอบงานให้ใครทำก็ได้ ดังนั้นพนักงานในลักษณะทำได้ทุกอย่างหรือ Admin อาจไม่จำเป็นสำหรับธุรกิจในช่วงเริ่มต้น

เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจในยุคดิจิตอลจะยังคงมีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ เราต้องเริ่มต้นให้เร็วที่สุด

ตอบโจทย์ Work From Home

D Account On Cloud https://www.crystalsoftwaregroup.com/products/d-account-on-cloud/

Formula Hybrid Cloud https://www.crystalsoftwaregroup.com/formula-hybrid-cloud/

Credit : www.gramdigital.net


  • 0

หนี้และทุน บริหารสมดุลให้ดี


Tags : 

การบริหารเงินในธุรกิจนอกจากกระแสเงินสดรับจ่ายในกิจการแล้ว เราต้องดูสัดส่วนระหว่างหนี้สินกับเงินทุนให้มีความพอดีกัน ซึ่งหาได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า D/E Ratio เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าธุรกิจมีหนี้เป็นกี่เท่าของเงินทุน ค่าที่ได้ยิ่งสูงเท่าไหร่ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดมากเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่เวลาเราไปขอสินเชื่อแล้วธนาคารจะทำการพิจารณาอัตราส่วนนี้เป็นอันดับแรกๆ

สำหรับค่า D/E Ratio ที่คำนวณได้นั้น จะสะท้อนถึงฐานะทางการเงินว่าเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ดำเนินธุรกิจนั้นมาจากหนี้สินหรือมาจากเงินลงทุนของเจ้าของ ถ้าค่าที่ได้ยิ่งสูง ก็แสดงว่าธุรกิจต้องพึ่งพาเงินกู้ยืมมาก ย่อมมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมาก เท่ากับว่ากัดฟันสู้ทำธุรกิจมาเท่าไหร่ก็เอาไปใช้หนี้หมดเลย จึงมีความเสี่ยงสูงที่ธุรกิจจะเจ๊ง แต่หากค่าที่คำนวณได้มีค่าน้อย แสดงว่าธุรกิจดำเนินงานจากเงินทุนของเจ้าของ ถ้ากู้เงินทำธุรกิจ ก็กู้แค่พอประมาณ จึงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นน้อย กำไรที่หามาได้ก็เอามาต่อยอดทำธุรกิจได้

อย่างไรก็ดี D/E Ratio ไม่ได้มีค่ากำหนดที่แน่นอนตายตัวว่าเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะแต่ละธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมมีธรรมชาติในการทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ความเหมาะสมของค่า D/E Ratio ที่ได้นั้นแตกต่างกัน  นอกจากนี้การคำนวณหา D/E Ratio ในแต่ละปี ก็จะช่วยให้ธุรกิจเห็นแนวโน้มความเสี่ยงทางการเงินของตัวเองว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง รู้อย่างนี้แล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่อยากก้มหน้าก้มตาทำงานใช้หนี้ ก็ต้องให้บริหารสัดส่วนของหนี้สินกับส่วนของเจ้าของให้สมดุลกันนั่นเอง

ERP product

 

Credit : www.kasikornbank.com


  • 0

5 ข้อดีของการทำบัญชีชุดเดียว (ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและERP)


Tags : 

ประโยชน์ของบัญชีชุดเดียว มีอะไรบ้าง? 
1.ลงบัญชีได้ง่าย ตัวเลขถูกต้อง ไม่สับสน

การลงบัญชีจากเดิมที่ต้องคอยกังวลในการลงบัญชีผิดพลาด หรือสับสนกับบัญชีที่มีหลายเล่มซึ่งอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกบัญชีและสะดวกในการทำธุรกรรมในแต่ละธนาคาร แต่โดยส่วนมากก็ถูกจับตามองว่าเป็นการกระทำเพื่อเลี่ยงภาษี โดยหากเปลี่ยนเป็นการใช้บัญชีเพียงชุดเดียวผู้ประกอบการก็จะสามารถลงบัญชีได้ง่ายขึ้น มีตัวเลขที่ถูกต้องเพียงตัวเลขเดียว ไม่ยุ่งยากในการตรวจสอบ และไม่เปิดช่องโหว่ให้เกิดการโกงจากพนักงานบัญชี

2.ประเมินผลประกอบการได้ชัดเจน 

เจ้าของกิจาการจะรู้รายได้และที่มารายได้ทั้งหมด  รู้ต้นทุนในการดำเนินกิจการที่แท้จริง นำไปวางแผนได้มีประสิทธภาพ รวมถึงสามารถทราบว่าต้องใช้กลยุทธ์ในช่วงนั้นอย่างไร จะสู้หรือตั้งรับหรือจะถอยทัพนั่นเอง

3.เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้

เนื่องจากบัญชีเดียวจะสะท้อนผลประกอบการที่โปร่งใส เป็นผลให้คู่ค้าไม่ลังเลที่จะเลือกคุณเป็นคู่ทำธุรกิจหากผลประกอบการคุณเข้มแข็ง

4.ใช้วางแผนภาษีได้ง่ายขึ้น

หลักการคิดภาษีนิติบุคคลคือ (รายได้-ค่าใช้จ่าย=กำไร) ซึ่งจะนำกำไรไปคิดภาษีที่ต้องจ่าย หากเราสามารถหาค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นนั่นหมายความว่า ภาษีที่ต้องจ่ายก็จะลดลง ซึ่งค่าใช้จ่ายของเจ้าของกิจการเองก็สามารถวางแผนเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจได้ เช่น เงินเดือน ค่าอบรมสัมมนาซึ่งสามารถนำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายได้มากถึงสองเท่า

5.เพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อได้ และลดต้นทุนการเงิน

หลังจากที่รัฐบาลออกมาตรการดังกล่าวออกมา ก็มีการขานรับจากหลายธนาคารเรื่องการให้สินเชื่อในอัตราพิเศษสนับสนุน SMEs ที่ใช้บัญชีชุดเดียวเนื่องด้วยธนาคารเล็งเห็นว่า การใช้บัญชีชุดเดียวจะสะท้อนความสามารถในการดำเนินงานของกิจการอย่างแท้จริง กลายเป็นผลดีให้กับ SMEs ที่สามารถกู้ได้ถูกลง ลดต้นทุนทางการเงินของกิจการ

 

ERP product

 

Credit : www.kiatnakin.co.th

 


  • 0

การคำนวนค่าเสื่อมราคาตามวิธีอัตราเร่งที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

วิธีอัตราเร่ง ( Accelerated Method ) หมายถึง หรือวิธีอัตราลดลง ( Decreasing Charge Method ) หมายถึง   ซึ่งมีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่

1. วิธีผลรวมจำนวนปีของอายุการใช้งานคงเหลือ ณ วันต้นปีทุกปี ( Sum of the Year’s Digit )

2. วิธียอดลดลงทวีคูณ ( Double Declining Balance Method )

วิธีผลรวมจำนวนปีของอายุการใช้งานคงเหลือ ณ วันต้นปีทุกปี ( Sum of the Year’s Digit ) วิธีนี้จะถือจำนวนปีหรืออายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรเป็นเกณฑ์โดยใช้ผลบวกรวมทั้งสิ้น ในรูปของเศษส่วนและจำนวนเศษส่วนจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจำนวนค่าเสื่อมราคาประจำงวดบัญชี การคำนวณ

1. ผลรวมจำนวนปี = n ( n + 1 ) /2

2. ราคาสุทธิ = ราคาทุน – ราคาซาก หมายเหตุ  n = จำนวนปีที่คาดว่าสินทรัพย์จะใช้งานได้

วิธียอดลดลงทวีคูณ ( Double Declining Balance Method ) หลักการคำนวณ คือ จะคำนวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาต่อปีและปรับจำนวนเป็น 2 เท่า นำอัตรา 2 เท่าที่คำนวณได้ไปคำนวณหาค่าเสื่อมราคาประจำงวด โดยคำนวณจากราคาตามบัญชี ( Book Value )ของสินทรัพย์ถาวรที่ลดลงทุกปี และวิธีนี้ไม่นำราคาซากมาเกี่ยวข้องกับการคำนวณ การคำนวณ ค่าเสื่อมราคา = ( 2 x อัตราร้อยละของวิธีเส้นตรง ) x ราคาตามบัญชี ณ วันต้นงวด

ERP product

 

 


  • 0

5 ส่วนสำคัญของงบการเงินที่เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจ


Tags : 

5 ส่วนสำคัญของงบการเงิน ในแต่ละส่วนบอกอะไรเกี่ยวกับธุรกิจบ้าง?

1.งบดุล

พูดถึงงบทางการเงิน งบที่พื้นฐานที่สุดก็คงหนีไม่พ้นงบดุล ซึ่งคนเรียนบัญชีต้องเรียนเป็นสิ่งแรกๆ ซึ่งงบดุลนั้นเกิดจากพื้นฐานของสมการ สินทรัพย์ = หนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งทำให้งบดุลถูกแบ่งเป็น 2 ฝั่งคือส่วนสินทรัพย์ และส่วนของหนี้สินรวมกับส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งตามหลักแล้วทั้ง 2 ฝั่งจะต้องเท่ากันเป๊ะ

ซึ่งในรายละเอียด ส่วนของสินทรัพย์จะแยกเป็นสินทรัพย์ระยะสั้น หรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง (เช่น เงินสด, เงินฝาก, หุ้นของบริษัทในบริษัทอื่น) กับสินทรัพย์ระยะยาว หรือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ (เช่น อสังหาริมทรัพย์, เครื่องจักรต่างๆ, ยานพาหนะ) และส่วนของหนี้สินจะแยกเป็นหนี้สินระยะสั้น (ที่ต้องชำระภายใน 1 ปี) และหนี้สินระยะยาว (ที่ต้องชำระในระยะเวลาเกิน 1 ปี)

งบดุลเป็นสิ่งที่จะทำให้เราเห็นภาพใหญ่ของธุรกิจ ผ่านสินทรัพย์ และแหล่งที่มาของเงินทุนของบริษัทจากส่วนของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งตรงนี้งบดุลที่มีหน้าตาเหมาะสมก็คือ งบดุลที่มีความสมส่วนกันสองข้าง เช่น มีหนี้สินระยะสั้นไม่มากไปกว่าสินทรัพย์ระยะสั้น (มิเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาสภาพคล่อง หรือไม่สามารถหาเงินสดมาชำระหนี้ได้ตามกำหนด) หรือมีการขยายตัวของสินทรัพย์ระยะยาวไปพร้อมๆ กับหนี้สินระยะยาว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทก่อหนี้ได้ถูกประเภทของการได้มาซึ่งสินทรัพย์ เป็นต้น

2.งบกำไรขาดทุน

แม้ว่างบดุลจะมีความสำคัญเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของธุรกิจ แต่บางทีผู้บริหารก็อาจต้องการมองภาพย่อยให้เห็นภาพเร็วๆ มากกว่าที่จะต้องไปดึงตัวเลขจากงบดุลมาวิเคราะห์อีกที งบการเงินตามมาตรฐานปัจจุบันทั่วไปจึงมีมากกว่างบดุล และงบส่วนต่อมาที่ควรจะกล่าวถึงก็คือ งบกำไรขาดทุน

งบกำไรขาดทุนก็คือ การแสดงให้เห็นยอดขายหรือรายได้ของธุรกิจ แล้วเอามาหักลบด้วยต้นทุนต่างๆ ของธุรกิจ แล้วแสดงผลต่างออกมาเป็นกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของธุรกิจ

งบกำไรขาดทุนสามารถแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เช่น การแยกรายได้จากการขาย และรายได้จากการบริการ ไปจนถึงรายได้จากเงินปันผลในหุ้นของบริษัทอื่นๆ ที่บริษัทถือไว้ หรือส่วนของต้นทุน ก็อาจแยกได้เป็นต้นทุนการขาย ต้นทุนการบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งจะแยกอย่างไรก็เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจเป็นหลัก

อย่างไรก็ดีรายละเอียดที่สำคัญที่สุดของงบกำไรขาดทุนที่สำคัญคือ ส่วนของต้นทุนขาย และ ค่าใช้จ่ายในการบริหารธุรกิจ ซึ่งหากพิจารณาปีต่อปีมันจะทำให้เห็นหลายประเด็น ตัวอย่างเช่น การที่ยอดขายเพิ่มขึ้น  แต่อัตราผลกำไรกลับลดลง มันก็อาจเกิดจากการขยายตัวของต้นทุนขายหรือค่าใช้จ่ายการขายที่โตเร็วกว่ายอดขายก็ได้ เป็นต้น

3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

งบส่วนนี้เป็นงบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงความมั่งคั่งของเจ้าของบริษัท ซึ่งรายละเอียดมันอธิบายง่ายๆ  ก็คือ การแสดงมูลค่าหุ้นพื้นฐานตามราคาจดทะเบียน มูลค่าของหุ้นที่เกิดขึ้นตามราคาตลาด ผลกำไรของบริษัท และเงินปันผลสำหรับผู้ถือหุ้น

งบส่วนนี้เหมาะกับการพิจารณาของนักลงทุนว่าควรจะลงทุนในบริษัทดีหรือไม่ เพราะการพิจารณาปีต่อปีก็จะทำให้เห็นเน้นไปที่ส่วนของผู้ถือหุ้นที่จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้โดยตรง และจะทำให้เรามองเห็นชัดว่ามันเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากองค์ประกอบใดในส่วนของผู้ถือหุ้น และทำให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ตามความต้องการ เช่น นักลงทุนที่เน้นเงินปันผลควรจะดูงบการเงินส่วนนี้ของบริษัทต่างๆ เพื่อให้เงินนโยบายด้านเงินปันผลของบริษัทในแต่ละปีเมื่อเทียบกับผลกำไรสุทธิ หรือนักลงทุนที่ไม่เน้นเงินปันผลแต่เน้นมูลค่าของหุ้นก็อาจเลือกลงทุนในบริษัทที่จ่ายปันผลน้อย แต่ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากกำไรสะสมของบริษัท เป็นต้น

4.งบกระแสเงินสด

สภาพคล่องเป็นประเด็นสำคัญของธุรกิจที่มักจะต้องพิจารณาแยกส่วนอื่นๆ เนื่องจากบริษัทที่เติบโตดี  ก็อาจมีสภาพคล่องต่ำได้ มันจึงมีงบกระแสเงินสดแยกออกมาจากงบการเงินส่วนอื่น เพื่อให้พิจารณาสภาพคล่องของบริษัทโดยเฉพาะ

องค์ประกอบของงบกระแสเงินสด ถ้าจะให้พูดในภาพใหญ่ก็คือ องค์ประกอบต่างๆ ของรายรับและรายจ่ายของบริษัทในปีๆ หนึ่งทั้งหมด โดยแยกตามแหล่งที่มาและที่ไปของเงินสด ทั้งนี้ความต่างหลักๆ ของงบกระแสเงินสดกับงบกำไรขาดทุนก็คือ ในงบกระแสเงินสด จะมีการแยกรายรับและรายจ่ายอย่างละเอียดกว่ามาก เช่น จะมีการแยกเลยให้เห็นว่ารายจ่ายส่วนของค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าซื้อสินค้า ค่าบำรุงรักษา ค่าสาธารณูปโภคอื่นๆ ฯลฯ อย่างละเอียด ซึ่งจุดเด่นของงบนี้ก็คือจะทำให้ผู้ดูสามารถเห็นรายจ่ายของบริษัทในส่วนต่างๆ ได้ละเอียดกว่างบการเงินส่วนอื่นๆ ที่มักจะพูดถึงรายจ่ายในภาพใหญ่

5.หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ส่วนสุดท้ายของงบการเงินก็คือ “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” ส่วนนี้เป็นส่วนที่จะทำการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ที่เราไม่เห็นในงบการเงินส่วนอื่น เช่น หลักการตีราคาสินทรัพย์ของบริษัท การคิดค่าเสื่อมราคาในรายการต่างๆ ไปจนถึงการควบรวมกิจการ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกอธิบายแยกไปในแต่ละส่วนของงบการเงินที่กล่าวมา

แม้ว่าชื่อจะเป็น “หมายเหตุ” แต่จริงๆ หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่และมีรายละเอียดมากที่สุดในงบการเงิน เพราะส่วนนี้จะเป็นส่วนที่บริษัทแจกแจงรายละเอียดการคิดบัญชีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการคิดค่าเสื่อมราคาหรือการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ไปจนถึงแจกแจงรายละเอียดของลูกหนี้บริษัท เจ้าหนี้บริษัท และการถือหุ้นของบริษัทในบริษัทอื่นๆ มันเป็นส่วนของงบการเงินที่จะทำให้ผู้พิจารณางบการเงินสามารถมองเห็นมิติทางการเงินของบริษัทในรายละเอียดได้จริง ดังนั้นมันเป็นส่วนที่สำคัญมากๆ สำหรับผู้ที่เห็นว่าส่วนอื่นๆ ของงบการเงินยังไม่สามารถให้ภาพทางการเงินของบริษัทได้อย่างชัดเจนเพียงพอ

ทั้งนี้ทั้งนั้น การพิจารณางบการเงินต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันไปในรายละเอียดของแต่ละอุตสาหกรรม เช่น ธุรกิจกลุ่มการเงินก็เป็นกลุ่มที่จะมีหนี้สินมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เป็นปกติ หรือกลุ่มงานบริการบางกลุ่ม ส่วนที่ต้องพิจารณามากกว่าการเติบโตของต้นทุนการขาย ก็คือการเติบโตของต้นทุนการบริหาร เป็นต้น

ERP product

Credit :  www.ktb.co.th


  • 0

ปัญหาใบกำกับภาษีที่ SMEs ควรทราบ!


Tags : 

กรณีถูกร้องขอให้ออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเนื่องจากมีข้อผิดพลาด ในรายละเอียดของใบกำกับภาษีควรปฏิบัติอย่างไร

1.วิธีการยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิม แล้วออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่
– เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิมและนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือขีดฆ่าแล้วเก็บต้นฉบับรวมไว้ในสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม
– จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่จะต้องลงวันที่  เดือน ปี ให้ ตรงกับ วันที่ เดือน ปี ตามใบกำกับภาษัฉบับเดิม และระบุหมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษี ฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่ แทนฉบับเดิมเลขที่ …เล่มที่…” และหมายเหตุการณ์ยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย

กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีระบบซอฟท์แวร์ในระบบงานจัดทำใบกำกับภาษีบันทึกเข้าระบบบัญชี แยกประเภท อัตโนมัติ ถ้าระบบซอฟท์แวร์ดังกล่าวไม่สามารถระบุ วันที่ เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม ลงในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ได้

ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีตีพิมพ์จากโรงพิมพ์ เพื่อให้สามารถระบุวันที เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิมได้

กรณีใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ที่บริษัท / ห้าง ได้ออกให้ลูกค้าแล้ว และลูกค้าแจ้งกลับมาเอกสารดังกล่าวสูญหาย ขอให้ออกฉบับใหม่ให้ ควรปฏิบัติอย่างไร

1. ให้ถ่ายสำเนาใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ที่ทางบริษัท / ห้างมีสำเนาเก็บไว้
2. ให้บันทึกรายการต่อไปนี้ลงในภาพถ่ายสำเนาเอกสารดังกล่าว
– ออกใบแทน  ออกให้ครั้งที่
– วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
– อธิบายอย่างย่อ ๆ ถึงสาเหตุการออกใบแทน
– ลายมือชื่อผู้ออกใบแทน ให้ผู้ออกใบแทนบันทึกรายการ ออกใบแทนในรายงานภาษีขาย ในเดือนที่มีการออกใบแทน โดยระบุชื่อผู้ซื้อ เลขที่-เล่มที่วันที่ออกใบกำกับภาษี  ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ ที่ได้มีการออกใบแทนนั้นด้วย
กรณีซื้อสินค้าและได้ใบกำกับภาษีมา เมื่อตรวจสอบกับ ทะเบียน ภ.พ.20 ที่ผู้ขายแนบมาเป็นหลักฐาน  มีรายละเอียดที่ตั้งบริษัทไม่ตรงกับใบ ภ.พ.20 ที่แนบมาด้วยกัน จะทำอย่างไร

มีปัญหาว่า หากใบกำกับภาษีมีความไม่ตรงกับในทะเบียน ภ.พ.20เช่น ใบทะเบียน ภ.พ.20 มีชื่อ…….เลขที่ …ถนน…..ตำบล….จังหวัด   แต่ใบกำกับภาษีมีแต่ ชื่อ………..เลขที่…..ถนน….ตำบล….ไม่มีชื่อจังหวัด

ดังนี้ ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจะนำไปหักได้หรือไม่

ปัญหานี้ กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว ว่าหากผู้ซื้อสินค้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ค้าเป็นใคร ผู้ซื้อก็มีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษีได้  แต่ผู้ออกใบกำกับภาษียังมีความผิดทางอาญา ฐานออกใบกำกับภาษีมีรายการไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

ERP product


  • 0

การจัดหมวดบัญชีและผังบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

หมวดบัญชีและผังบัญชี
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)
หมวดบัญชี คือ การรวบรวมสิ่งที่เหมือนกันเข้าไว้ในหมวดเดียวกัน และมีความหมายเหมือนกัน เช่น รถยนต์ เงินสด เป็นสิ่งที่กิจการครอบครอง ก็จะถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการ แต่ถ้าเป็นเจ้าหนี้ เงินกู้ ก็จะถือว่าเป็นหนี้สินของกิจการเพราะมีภาระผูกพันในอนาคต เป็นต้น
การจัดหมวดหมู่ของบัญชี แบ่งเป็น 5 หมวด ได้แก่
1. หมวดสินทรัพย์
2. หมวดหนี้สิน
3. หมวดส่วนของเจ้าของ (ทุน)
4. หมวดรายได้
5. หมวดค่าใช้จ่าย
ผังบัญชี คือ การจัดบัญชีและกำหนดเลขที่บัญชีให้เป็นหมวดหมู่การจำแนกแล้วแต่กิจการจะดำเนินในการจัดหมวหมู่ เพื่อใช้ในการอ้างอิงเมื่อผ่านรายการ จากสมุดรายวันทั่วไปไปบัญชีแยกประเภททั่วไป สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ตามความเหมาะสมในแต่ล่ะที่
เลข 1 สำหรับหมวดสินทรัพย์
เลข 2 สำหรับหมวดหนี้สิน
เลข 3 สำหรับหมวดส่วนของเจ้าของ
เลข 4 สำหรับหมวดรายได้
เลข 5 สำหรับหมวดค่าใช้จ่าย

ระบบบัญชีสำเร็จรูป ช่วยธุรกิจ ง่ายขึ้นเยอะ  https://www.crystalsoftwaregroup.com/products/erp-product/


  • 0

 กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

EBIT (Earnings Before Interest and Taxes) คือ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี หรือมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า กำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income) มันเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัทโดยไม่คำนึงถึง ภาษี และ ต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ซึ่งทำให้การนำ EBIT ไปใช้วิเคราะห์ หรือเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ที่มีโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure) ที่แตกต่างกันออกไปนั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง

EBIT = Revenue – Operating Expenses – COGS

โดยตามสูตรด้านบนแล้ว เราสามารถคำนวณหา EBIT หรือ กำไรจากการดำเนินงาน ได้จากการนำรายรับมาหักออกด้วยต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

ERP product

Credit : www.hoondb.com


  • 0

การจำแนกประเภทต้นทุนเพื่อการบริหาร(เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี)


Tags : 

การจำแนกต้นทุนมีหลายลักษณะซึ่งขึ้นอยู่กับประโยชน์ของการนำใช้โดยมีการแบ่งออกเป็นดังนี้

1. จำแนกตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์

2. จำแนกตามลักษณะต้นทุนการผลิต

3. จำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน

4. จำแนกตามความสัมพันธ์ของหน่วยต้นทุน

5. จำแนกตามสายงานการผลิต

6. จำแนกตามหน้าที่งานในกิจการ

7. จำแนกตามความสัมพันธ์กับเวลา

8. จำแนกตามลักษณะความรับผิดชอบ

9. จำแนกตามลักษณะของปัญหาเพื่อการตัดสินใจ

จะเห็นได้ว่ามีการจำแนกต้นทุนได้ถึง 9 ลักษณะตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้หรือผู้บริหารที่จะนำข้อมูลต้นทุนไปใช้ในการวางแผนและบริหารธุรกิจของตนเอง แต่การจำแนกต้นทุนที่นิยมใช้ในการวางแผนและดำเนินการมีเพียง 4 ลักษณะดังนี้

การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบหลักเพียง 3 รายการคือ

1. วัตถุดิบ ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็จะแบ่งเป็นวัตถุดิบทางตรงและทางอ้อม

2. ค่าแรงงาน คือค่าจ้างคนทำงานในการผลิตสินค้านั้น โดยแบ่งเป็นค่าแรงงานทางตรง และค่าแรงงานทางอ้อม

3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิตที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุดิบและค่าแรงซึ่งเกิดขึ้นในการดำเนินงานด้านการผลิตของกิจการนั้นๆ

การจำแนกตามส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงสัดส่วนของการใช้ทรัพยากรทั้งสามรายการและสามารถวางแผนลดต้นทุนในแต่ละรายการได้ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการใช้วัตถุดิบให้ถูกลงหรือแพงขึ้นเพื่อการตั้งราคาสินค้าขายได้อีกด้วย

 

การจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนประเภทนี้ก็เพื่อนำข้อมูลต้นทุนมาวิเคราะห์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุมและวัดผลดำเนินการได้ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือการรับจ้างผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นทุนตามพฤติกรรมสามารถจำแนกออกได้ 3 ชนิดมีดังนี้

1. ต้นทุนผันแปร (Variable cost) ต้นทุนประเภทนี้จะแปรผันไปตามปริมาณการผลิตสินค้าโดยมีการใช้สัดส่วนของวัตถุดิบและค่าแรงงานที่แน่นอน ยิ่งผลิตมากต้นทุนนี้ก็จะมีปริมาณสูงขึ้นผันแปรตามการผลิตด้วย

2. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นคงที่ไม่ว่าจะมีการผลิตมากขึ้นหรือน้อยลงก็ตาม ทุกกิจการจะมีต้นทุนคงที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะมีการขายสินค้านั้นได้หรือไม่ก็ตาม เช่น เงินเดือนผู้จัดการ ค่าเช่าโรงงาน เป็นต้น

3. ต้นทุนผสม (Mixed cost) มีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนกึ่งผันแปร และต้นทุนกึ่งคงที่ ซึ่งต้นทุนกึ่งผันแปรจะเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าเครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนหนึ่งและมีค่าใช้จ่ายผันแปรเมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นเป็นต้น

 

การจำแนกต้นทุนตามหน้าที่งานในกิจการ เป็นการคิดต้นทุนที่เกิดขึ้นตามการแบ่งหน้าที่งานในองค์กรหรือธุรกิจนั้น เจ้าของกิจการสามารถตั้งงบประมาณเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละหน้าที่งานในองค์กรได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 4 หน้าที่งานใหญ่ดังนี้

1. ต้นทุนของฝ่ายผลิต เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและฝ่ายงานผลิตทั้งหมด

2. ต้นทุนของฝ่ายขายและตลาด เป็นต้นทุนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการขาย เช่นค่าส่งเสริมการขาย ค่าคอมมิชชั่น ค่าโฆษณา เป็นต้น

3. ต้นทุนของฝ่ายการเงิน เป็นต้นทุนที่เกิดจากการจัดหาเงินทุนมาใช้ในกิจการเช่นดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมธนาคารเป็นต้น

4. ต้นทุนของฝ่ายบริหาร เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจการ การควบคุม การสั่งงานซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมดนั่นเอง

 

การจำแนกต้นทุนตามลักษณะของปัญหาเพื่อการตัดสินใจ เป็นต้นทุนที่ผู้บริหารจะให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจในธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นใช้ในการตัดสินใจเรื่องการซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องจักรเดิม, ใช้ในการตัดสินใจเรื่องหยุดการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง, ใช้ในการตัดสินใจเรื่องการลดราคาหรือจัดโปรโมชั่นสินค้าที่ล้าสมัย เป็นต้น ตัวเลขต้นทุนจึงมักถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้

1. ต้นทุมจม (sunk cost) คือต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจในอดีต หรือได้จ่ายไปแล้วในอดีต ไม่มีผลต่อการตัดสินใจในปัจจุบัน แม้ว่าบริษัทจะเปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่ก็ตามแต่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว ที่ทำไว้ตั้งแต่ในอดีต เป็นต้น

2. ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ คือต้นทุนที่จะประหยัดได้หากมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

3. ต้นทุนเสียโอกาส คือผลตอบแทนที่จะได้รับหรือค่าใช้จ่ายที่จะต้องสูญเสียไปเมื่อมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

4. ต้นทุนส่วนแตกต่าง คือต้นทุนที่ผู้บริหารจะนำมาพิจารณาว่ามีความแตกต่างกันจำนวนเท่าใดถ้าตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นเลือกที่จะซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเดิม

5. ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย หมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณผลิตขึ้น 1 หน่วย หรือในทางกลับกันก็หมายถึงต้นทุนรวมที่ลดลงต่อหน่วยเมื่อลดปริมาณการผลิตลง 1 หน่วย เพื่อช่วยให้ผู้บริหารนำมาพิจารณาได้ว่าการเพิ่มการผลิตเพียง 1 หน่วยจะมีต้นทุนเพิ่มหรือลดลงจำนวนเท่าใด

ผู้ประกอบการธุรกิจและผู้บริหารควรเลือกวิธีจำแนกต้นทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่นำไปใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับกิจการของตนเองเพราะการจำแนกต้นทุนที่ผิดวัตถุประสงค์ก็อาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามการจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก็เป็นการจำแนกต้นทุนตามพื้นฐานของทุกกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการควรมีการจัดทำขึ้นอย่างจริงจังและมีตัวเลขที่ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้วิธีการประมาณการเองจะทำให้เกิดปัญหาขาดทุนได้ภายหลัง การจำแนกต้นทุนจะต้องเริ่มต้นจากการที่กิจการมีการบันทึกและเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนอย่างถูกต้อง แม่นยำและเป็นระบบ เพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นมาจำแนกได้ตามลักษณะที่ผู้บริหารต้องการนำไปใช้และช่วยในการตัดสินใจเลือกทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ERP product


  • 0

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและ ERP)


Tags : 

 

อยากจะออกใบกำกับภาษีทั้งที มีเทคนิค 3 ข้อที่ควรทำ คือ
1. รายการในใบกำกับภาษีครบถ้วนที่ถูกต้อง
2. ห้ามเขียนเพิ่ม!! ถ้าออกใบกำกับด้วยคอมพิวเตอร์
3. รายละเอียดต่างๆ ไม่มีขีดฆ่า ไม่มีแก้ไข

ทำ 3 ข้อนี้รับรองสบายใจแน่นอน
แต่อย่าลืมไปจด VAT

—–

รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษี เช็คให้ดี!!

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” เห็นชัดจัดเต็ม
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคนขาย
3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคนซื้อ
4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี หรือ เล่มที่ (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

เพิ่มเติมตั้งแต่ 1 มกราคม 2558
– ข้อ 2 และ 3 อย่าลืมระบุว่าเป็น “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขา”
– กรณีข้อ 3 ถ้าผู้ซื้อไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ได้ใช้ใบกำกับภาษี ไม่จำเป็นต้องกรอกเลขประจำผู้เสียภาษีหรือบัตรประชาชน

ERP product