Tag Archives: SmartbizAccounting

  • 0

นิติบุคคล SME ลดหย่อนอะไรได้บ้าง


Tags : 

นิติบุคคล หรือ SME ส่วนใหญ่อาจจะสงสัยว่าการทำธุรกิจในรูปแบบนี้สามารถทำการลดหย่อนภาษีได้ไหม หากได้จะเป็นการลดหย่อนจากอะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่ารายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจ SME และ นิติบุคคลจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การจดทะเบียนบริษัท

ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนนิติบุคคล มีทุนในการจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะสามารถนำค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การจดทะเบียนบริษัทมาเป็นค่าลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า ในระยะเวลา 5 รอบบัญชีต่อเนื่อง หรือในระยะเวลา 5 ปีภาษี

โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์

อีกหนึ่งนโยบายที่กรมสรรพากรออกมาสนับสนุนให้ธุรกิจ SME นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน คือการลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจ SME ที่ซื้อ หรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ DEPA ซึ่งมีอัตราการหักภาษี 1 เท่าของรายจ่ายตามจริง แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่สรรพากรได้กำหนดไว้ และมีวงเงินไม่เกิน 100,0000 บาท ในแต่ละรอบบัญชี

ค่าเสื่อม ค่าสึกหรอภายในกิจการ

การลดหย่อนค่าสึกหรอถือเป็นตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะค่าสึกหรอที่ถูกหักจะถือเป็นค่าใช้จ่าย ที่สามารถนำมาหักภาษีได้ แต่การลดหย่อนค่าสึกหรอก็ไม่สามารถทำได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท เพราะสินทรัพย์ที่นำมาคิดได้มีดังนี้

– ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ ที่มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี คิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักได้ใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี

– ทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงาน มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 20 ปี โดยไม่รวมที่ดินที่มีราคาเกิน 200 ล้านบาท และคนงานไม่เกิน 200 คน คิดค่าเสื่อมที่อัตรา 25% ของต้นทุน โดยหัก 5% ต่อปี

– ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี คิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายในระยะเวลา 5 ปี

ลดหย่อนจากการบริจาค

สำหรับกิจการที่ชื่นชอบการบริจาค ผลบุญนี้ก็ส่งตรงถึงกิจการของคุณ เพราะคุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะทำการบริจาคให้กับองค์กร หรือกองทุนต่างๆ ดังต่อไปนี้

– การบริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินหรือมูลค่าที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

– บริจาคให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล

– บริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวม 4 กองทุน สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค เมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดแล้วต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

ลดหย่อนจากค่าจ้างลูกจ้างสูงอายุ

กรมสรรพากรได้มีมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยให้แก่บริษัทนิติบุคคล ที่ตรงตามเงื่อนไขการลดหย่อนจากการจ้างงานผู้สูงอายุที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

ลดหย่อนจากการทำประกันชีวิต

การทำประกันชีวิตให้กับกรรมการบริษัท เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณสามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษี เพราะนี่เป็นการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่จะต้องไม่ใช่การใช้จ่ายแบบเสน่หา การคำนวณภาษีจะถูกนำไปใช้เพื่อจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


แม้ภาษีนิติบุคคลจะเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถลดเวลาการทำงานในส่วนการทำบัญชีหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยระบบบัญชีสำเร็จรูป

Smartbizบัญชี-เงินเดือน-ผลิต

 


  • 0

การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

อาศัยอำนาจตามมาตรา ๖๕ วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ. ๒๕๒๗ อธิบดีกรมสรรพากร จึงมีคำสั่งวางทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๓.๑๓ ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. ๑/๒๕๒๘ เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

“๓.๑๓ การคำนวณรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ ๒ เว้นแต่รายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้นามารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับชำระ

ในกรณีรายได้ที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ (๔) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจาหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการออกจาหน่ายในครั้งแรกของตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น ให้นารายได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้น”

ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓

ฟรี ระบบบัญชี Smartbiz Accounting https://www.crystalsoftwaregroup.com/download/free-download/

 

Credit : https://www.ryt9.com


  • 0

9 ข้อภาษีที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ (เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี)


Tags : 

9 ข้อภาษีที่ควรรู้ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องจดจำ และอาจจะได้นำไปใช้จริงในการทำธุรกิจ

1. ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้คือภาษีที่เก็บจากเงินได้ สำหรับคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถทำการเสียภาษีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งจะคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) และการเสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล ซึ่งจะคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี

2. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากสิ่งปลูกสร้างอย่างอาคาร ตึกแถว บ้าน ร้านค้า สำนักงาน โรงแรม ฯลฯ การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจะถูกเรียกเก็บในกรณีที่เกิดการให้เช่าทรัพย์สิน หรือให้ผู้เข้ามาอยู่อาศัย และในกรณีที่ใช้อสังหาริมทรัพย์ (ตึกแถว บ้าน) เป็นสถานประกอบการเชิงพาณิชย์

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บกับธุรกิจธนาคาร หรือที่ประกอบกิจการคล้ายกับธนาคารพาณิชย์อย่าง ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ตลอดจนถึงการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการค้า หรือการหากำไร

4. ภาษีอากรแสตมป์

ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีที่มาในรูปแบบของดวงแสตมป์ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการ หรือหนังสือสัญญาอย่าง สัญญาการเช่าโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ เงินกู้ ฯลฯ

5. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เป็นภาษีที่จะต้องถูกหักทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย คือคนที่ทำการจ่ายเงิน

6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีที่ถูกเก็บจากรายได้การขายสินค้า หรือการให้บริการ โดยมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

7. ภาษีสรรพสามิต

เป็นภาษีที่จะถูกเรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิต หรือถูกนำเข้า ตลอดจนการบริการทางธุรกิจตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้อย่าง ภาษีน้ำมัน ภาษีน้ำหอม และภาษีรถยนต์

8. ภาษีศุลกากร

เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากการที่นำสินค้า หรือสิ่งของเข้า ออกผ่านเขตแดนหนึ่ง ไปอีกเขตแดนอื่น โดยจะถูกเก็บตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

9. ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จะต้องเสียเมื่อทำการติดตั้งป้ายตามที่กฎหมายกำหนดอย่างป้ายบิลบอร์ด ป้ายผ้าใบ ป้ายไฟ หรือป้ายที่ใช้โฆษณาเพื่อหารายได้

เมื่อรู้จักกับ 9 ข้อภาษีที่ควรรู้กันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจที่ดีคือการเสียภาษีอย่างถูกต้อง หากธุรกิจคุณจำเป็นต้องเสียภาษีในข้อใด ก็ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ฟรีโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Smartbiz Accounting https://www.crystalsoftwaregroup.com/download/free-download/

Credit : www.smemove.com


  • 0

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี


Tags : 

   อาชีพทางการบัญชี ถือเป็น หนึ่งอาชีพที่ติดอันดับในประชาคมอาเซียน เลยที่เดียว นั้นหมายความว่า ถ้าหาก เยาวชนไทยคนใดที่มีความสนใจ ในการศึกษาวิชาการด้านการบัญชี ก็จะเป็นบุคลากรเป้าหมายของประเทศในกลุ่มอาเซียน

วันนี้ ดิฉันในฐานะอาจารย์ผู้สอนวิชาด้านการบัญชี จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ มาศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี  นั้นคือ ความหมายของ  สินทรัพย์   หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้ที่สนใจในการศึกษาวิชาการบัญชี ควรต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรก โดยมีสาระ  เบื้องต้นดังนี้

สินทรัพย์(Assest)  หมายถึง  สิ่งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินโดยมีบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ  เช่น  เงินสด  เงินฝากธนาคาร  สลากออมสิน  พันธบัตรรัฐบาล  สัมปทานเหมืองแร่  ลิขสิทธิ์เพลง เป็นต้น

หนี้สิน(Liability)  หมายถึง ภาระผูกพันที่บุคคลภายนอกพึงมีต่อกิจการอันเกิดจากการซื้อสินทรัพย์ หรือการใช้บริหารและยังไม่ได้ชำระเงินให้หรือชำระเพียงบางส่วน  เช่น ซื้อรถยนต์โดยผ่อนชำระ  ซื้อคอมพิวเตอร์โดยแบ่งชำระ  4 งวด ซื้อเฟอร์นิเจอร์โดยขอเครดิต1เดือน  ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้ายังไม่ได้นำเงินไปชำระ  เป็นต้น

ส่วนของเจ้าของ(Owner,s equity) หมายถึง กรรมสิทธิ์ที่บุคคลหรือกิจการมีในสินทรัพย์  ซึ่งคำนวณได้จาก     สินทรัพย์  – หนี้สิน  และในกรณีที่บุคคลหรือกิจการ    ไม่มีหนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ= สินทรัพย์     ดังนั้นส่วนของเจ้าของอาจเรียกว่าสินทรัพย์สุทธิ(Net Assets or  Net  Worth)

Smartbizบัญชี-เงินเดือน-ผลิต


  • 1

การออกใบกำกับภาษีต้องมีสาระสำคัญอย่างไร จึงจะถือว่าถูกต้อง


Tags : 

การขายสินค้าหรือการให้บริการ หลักฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งเป็นใบรับที่แสดงการรับชำระเงินหากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะต้องมีใบกำกับภาษีมาเกี่ยวข้องนอกเหนือจากใบเสร็จรับเงิน ลักษณะของใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษีจะต้องมีสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้จึงจะถือว่าถูกต้อง สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะใช้ใบกำกับภาษีกับใบเสร็จรับเงินในฉบับเดียวกันก็ได้

ทั้งนี้ นิยามคำว่า “ใบรับ” ตามมาตรา 103 แห่งประมวลรัษฎากร หมายความว่า

(ก) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับ ได้รับฝาก หรือได้รับชำระเงินหรือตั๋วเงิน หรือ

(ข) บันทึก หรือหนังสือใด ๆ ที่เป็นหลักฐานแสดงว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องได้ชำระหรือปลดให้แล้ว

บันทึก หรือหนังสือที่กล่าวนั้นจะมีลายมือชื่อของบุคคลใด ๆ หรือไม่ ไม่สำคัญ

สาระสำคัญและกฎหมายของใบกำกับภาษีและใบรับ สรุปได้ดังนี้

รายการ สาระสำคัญ กฎหมายอ้างอิง ตามประมวลรัษฎากร
ใบรับ

(ตัวอย่างใบรับ)

1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ

2. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ

3. เลขลำดับของเล่มและของใบรับ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบรับ

5. จำนวนเงินที่รับ

6. ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า ในกรณีการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าเฉพาะชนิดที่มีราคาตั้งแต่ หนึ่งร้อยบาทขึ้นไป

มาตรา 105 ทวิ
ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง

7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/4
ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

(ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ)

1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ หรือชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจด ทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี

3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)

4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ

5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจนว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว

6. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/6
ใบเพิ่มหนี้

(ตัวอย่างใบเพิ่มหนี้)

1. คำว่า “ใบเพิ่มหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบเพิ่มหนี้ และในกรณีตัวแทนเป็นผู้ออกใบเพิ่มหนี้ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบเพิ่มหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

มาตรา 86/9
ใบลดหนี้ 1. คำว่า “ใบลดหนี้” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบลดหนี้และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบลดหนี้ ในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย

3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ

4. วัน เดือน ปี ที่ออกใบลดหนี้

5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีเดิม รวมทั้งหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี) มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่แสดงไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว มูลค่าที่ถูกต้องของสินค้าหรือบริการ ผลต่างของจำนวนมูลค่าทั้งสองและจำนวนภาษีที่ใช้คืนสำหรับส่วนต่างนั้น

6. คำอธิบายสั้น ๆ ถึงสาเหตุในการออกใบลดหนี้

7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

 

ฟรี โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป https://www.crystalsoftwaregroup.com/download/free-download/

Credit : www.rd.go.th