Tag Archives: SMEs

  • 0

ส่องค่าใช้จ่ายแฝง ต้นเหตุทำ SME ทุนหายกำไรหด


Tags : 

“ค่าใช้จ่ายแฝง” ที่หลบซ่อนอยู่ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้ธุรกิจต้องสูญเงินไปอย่างมหาศาล ดังนั้น ก่อนเริ่มทำธุรกิจผู้ประกอบการควรต้องรับรู้ถึงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ดี

เริ่มจาก “ผลประโยชน์และสิทธิพิเศษของพนักงาน” อย่าคิดแค่การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกด้วยสำหรับพนักงานหนึ่งคน เพราะยังมีค่าประกันสังคมในส่วนที่นายจ้างต้องชำระ สวัสดิการต่างๆ ท่องเที่ยวประจำปี โบนัส ซึ่งผู้ประกอบการบางคนลืมคำนวณค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลงไป ทำให้ค่าใช้จ่ายพนักงานต่อเดือน จาก 15,000 บาท อาจกลายเป็น 18,000-20,000 บาทต่อคนไปเลยทีเดียว

และล่าสุดกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ ที่กำหนดให้การเกษียณอายุ เมื่อครบ 60 ปีคือการเลิกจ้าง ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้างที่อายุงาน 10 ปีขึ้น ไปได้รับเงินชดเชย 10 เดือน ซึ่งประเด็นนี้ ศิริรัฐ โชติเวชการ กรรมการผู้จัดการ Network Advisory Team Ltd. (NAT) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีและบัญชี บอกไว้ว่า ผู้ประกอบการ SME ควรต้องให้ความสำคัญและต้องเตรียมพร้อมที่จะตั้งสำรองจ่ายในส่วนนี้ไว้ล่วงหน้า เพราะไม่เช่นนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายจริง อาจจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

อย่างไรก็ดี ไม่เพียงแต่ผลประโยชน์และสิทธิพิเศษของพนักงานเท่านั้น บางครั้งการที่ผู้ประกอบการ ให้เงินเดือนตัวเองน้อยๆ เพื่อต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษี ก็มีผลที่จะทำให้ต้นทุนผิดเพี้ยนได้เช่นกัน

อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่มักจะแอบซ่อนอยู่โดยที่ผู้ประกอบการอาจจะมองข้าม นั่นคือ “ค่าสินค้าเสียหาย” ทั้งนี้ อาจชำรุดจากการขนส่ง หรือเสียหายจากหน้าร้าน หรือแม้แต่สินค้าหมดอายุจนไม่สามารถจำหน่ายได้ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหานี้คือ การประมาณการค่าสินค้าเสียหายล่วงหน้า และบวกเข้าไปในต้นทุนของสินค้าด้วย นอกจากนี้ ศิริรัฐ ยังบอกด้วยว่า การบริหารสต็อกที่ไม่เป็นระเบียบ ก็มีผลโดยตรงกับเรื่องของต้นทุน ซึ่งที่ผ่านมา SME ส่วนใหญ่มักจะจัดเก็บสต็อกไม่ค่อยเป็นระเบียบ เกิดการสูญหายของสินค้าไปโดยไม่รู้ตัว นำไปสู่ความเสียหายมากมาย นอกจากจะกระทบในแง่ของต้นทุนของตัวเองแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้น นั่นคือ กรณีที่มีกรมสรรพากรมาตรวจสอบ หากสต็อกไปเรียบร้อย พบว่าสินค้าเหลือน้อยกว่าบัญชี เขาจะถือว่าขายไปแต่ไม่ได้มีการลงบัญชี ซึ่งจะโดนปรับทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีนิติบุคคล

 

พร้อมกันนี้ ค่าที่ปรึกษาต่างๆ ก็เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายแฝงที่เกิดขึ้นได้ เพราะปัจจุบันการทำธุรกิจเพียงคนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องมีเพื่อนคู่คิด แต่เมื่อเป็นแบบนั้นแล้วก็จะพบว่ารายจ่ายมีโอกาสบานปลายตามไปด้วย ทั้งค่าที่ปรึกษาด้านการตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ การบัญชี นักกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่เราไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมีราคาสูงขนาดไหน

 

สุดท้ายค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่สำคัญมากๆ ในการทำธุรกิจก็คือ ค่าบริหารจัดการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นค่าใช้จ่ายภายในสำนักงาน และค่าเดินทางในการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น  ค่าอุปกรณ์สำนักงาน อาทิ คอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ โทรศัพท์ ค่าโทรศัพท์รายเดือน หมึกพิมพ์ กระดาษ อุปกรณ์ทำความสะอาด ค่าเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าเลี้ยงรับรองแขก รวมถึงค่าซ่อมบำรุงวัสดุอุปกรณ์ ทั้งหมดนี้ อาจดูแล้วมีราคาไม่สูงมาก แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายรายปี เราจะพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้สามารถสร้างผลกระทบต่อกำไรในภาพรวมได้ไม่น้อย ดังนั้น พยายามประหยัด และตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายอย่างรอบคอบทุกเดือน

Credit : www.businesslinx.globallinker.com


  • 0

การจำแนกประเภทต้นทุนเพื่อการบริหาร(เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี)


Tags : 

การจำแนกต้นทุนมีหลายลักษณะซึ่งขึ้นอยู่กับประโยชน์ของการนำใช้โดยมีการแบ่งออกเป็นดังนี้

1. จำแนกตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์

2. จำแนกตามลักษณะต้นทุนการผลิต

3. จำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน

4. จำแนกตามความสัมพันธ์ของหน่วยต้นทุน

5. จำแนกตามสายงานการผลิต

6. จำแนกตามหน้าที่งานในกิจการ

7. จำแนกตามความสัมพันธ์กับเวลา

8. จำแนกตามลักษณะความรับผิดชอบ

9. จำแนกตามลักษณะของปัญหาเพื่อการตัดสินใจ

จะเห็นได้ว่ามีการจำแนกต้นทุนได้ถึง 9 ลักษณะตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้หรือผู้บริหารที่จะนำข้อมูลต้นทุนไปใช้ในการวางแผนและบริหารธุรกิจของตนเอง แต่การจำแนกต้นทุนที่นิยมใช้ในการวางแผนและดำเนินการมีเพียง 4 ลักษณะดังนี้

การจำแนกต้นทุนตามลักษณะส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์แต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีส่วนประกอบหลักเพียง 3 รายการคือ

1. วัตถุดิบ ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตก็จะแบ่งเป็นวัตถุดิบทางตรงและทางอ้อม

2. ค่าแรงงาน คือค่าจ้างคนทำงานในการผลิตสินค้านั้น โดยแบ่งเป็นค่าแรงงานทางตรง และค่าแรงงานทางอ้อม

3. ค่าใช้จ่ายในการผลิต คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการผลิตที่ไม่เกี่ยวกับวัตถุดิบและค่าแรงซึ่งเกิดขึ้นในการดำเนินงานด้านการผลิตของกิจการนั้นๆ

การจำแนกตามส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงสัดส่วนของการใช้ทรัพยากรทั้งสามรายการและสามารถวางแผนลดต้นทุนในแต่ละรายการได้ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการใช้วัตถุดิบให้ถูกลงหรือแพงขึ้นเพื่อการตั้งราคาสินค้าขายได้อีกด้วย

 

การจำแนกต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน การจำแนกต้นทุนประเภทนี้ก็เพื่อนำข้อมูลต้นทุนมาวิเคราะห์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุมและวัดผลดำเนินการได้ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนของการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ หรือการรับจ้างผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นทุนตามพฤติกรรมสามารถจำแนกออกได้ 3 ชนิดมีดังนี้

1. ต้นทุนผันแปร (Variable cost) ต้นทุนประเภทนี้จะแปรผันไปตามปริมาณการผลิตสินค้าโดยมีการใช้สัดส่วนของวัตถุดิบและค่าแรงงานที่แน่นอน ยิ่งผลิตมากต้นทุนนี้ก็จะมีปริมาณสูงขึ้นผันแปรตามการผลิตด้วย

2. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นคงที่ไม่ว่าจะมีการผลิตมากขึ้นหรือน้อยลงก็ตาม ทุกกิจการจะมีต้นทุนคงที่เกิดขึ้นแม้ว่าจะมีการขายสินค้านั้นได้หรือไม่ก็ตาม เช่น เงินเดือนผู้จัดการ ค่าเช่าโรงงาน เป็นต้น

3. ต้นทุนผสม (Mixed cost) มีการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ต้นทุนกึ่งผันแปร และต้นทุนกึ่งคงที่ ซึ่งต้นทุนกึ่งผันแปรจะเป็นค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าเครื่องจักรที่มีค่าใช้จ่ายคงที่จำนวนหนึ่งและมีค่าใช้จ่ายผันแปรเมื่อมีการผลิตที่มากขึ้นเป็นต้น

 

การจำแนกต้นทุนตามหน้าที่งานในกิจการ เป็นการคิดต้นทุนที่เกิดขึ้นตามการแบ่งหน้าที่งานในองค์กรหรือธุรกิจนั้น เจ้าของกิจการสามารถตั้งงบประมาณเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละหน้าที่งานในองค์กรได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 4 หน้าที่งานใหญ่ดังนี้

1. ต้นทุนของฝ่ายผลิต เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและฝ่ายงานผลิตทั้งหมด

2. ต้นทุนของฝ่ายขายและตลาด เป็นต้นทุนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการขาย เช่นค่าส่งเสริมการขาย ค่าคอมมิชชั่น ค่าโฆษณา เป็นต้น

3. ต้นทุนของฝ่ายการเงิน เป็นต้นทุนที่เกิดจากการจัดหาเงินทุนมาใช้ในกิจการเช่นดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมธนาคารเป็นต้น

4. ต้นทุนของฝ่ายบริหาร เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจการ การควบคุม การสั่งงานซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งหมดนั่นเอง

 

การจำแนกต้นทุนตามลักษณะของปัญหาเพื่อการตัดสินใจ เป็นต้นทุนที่ผู้บริหารจะให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจในธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นใช้ในการตัดสินใจเรื่องการซื้อเครื่องจักรใหม่ทดแทนเครื่องจักรเดิม, ใช้ในการตัดสินใจเรื่องหยุดการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง, ใช้ในการตัดสินใจเรื่องการลดราคาหรือจัดโปรโมชั่นสินค้าที่ล้าสมัย เป็นต้น ตัวเลขต้นทุนจึงมักถูกแบ่งเป็นประเภทต่างๆดังนี้

1. ต้นทุมจม (sunk cost) คือต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นต้นทุนที่เกิดจากการตัดสินใจในอดีต หรือได้จ่ายไปแล้วในอดีต ไม่มีผลต่อการตัดสินใจในปัจจุบัน แม้ว่าบริษัทจะเปลี่ยนวิธีการผลิตใหม่ก็ตามแต่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ค่าเช่าตามสัญญาเช่าระยะยาว ที่ทำไว้ตั้งแต่ในอดีต เป็นต้น

2. ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ คือต้นทุนที่จะประหยัดได้หากมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

3. ต้นทุนเสียโอกาส คือผลตอบแทนที่จะได้รับหรือค่าใช้จ่ายที่จะต้องสูญเสียไปเมื่อมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง

4. ต้นทุนส่วนแตกต่าง คือต้นทุนที่ผู้บริหารจะนำมาพิจารณาว่ามีความแตกต่างกันจำนวนเท่าใดถ้าตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง เช่นเลือกที่จะซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเดิม

5. ต้นทุนเพิ่มต่อหน่วย หมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณผลิตขึ้น 1 หน่วย หรือในทางกลับกันก็หมายถึงต้นทุนรวมที่ลดลงต่อหน่วยเมื่อลดปริมาณการผลิตลง 1 หน่วย เพื่อช่วยให้ผู้บริหารนำมาพิจารณาได้ว่าการเพิ่มการผลิตเพียง 1 หน่วยจะมีต้นทุนเพิ่มหรือลดลงจำนวนเท่าใด

ผู้ประกอบการธุรกิจและผู้บริหารควรเลือกวิธีจำแนกต้นทุนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่นำไปใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์กับกิจการของตนเองเพราะการจำแนกต้นทุนที่ผิดวัตถุประสงค์ก็อาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตามการจำแนกต้นทุนตามส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ก็เป็นการจำแนกต้นทุนตามพื้นฐานของทุกกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการควรมีการจัดทำขึ้นอย่างจริงจังและมีตัวเลขที่ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้วิธีการประมาณการเองจะทำให้เกิดปัญหาขาดทุนได้ภายหลัง การจำแนกต้นทุนจะต้องเริ่มต้นจากการที่กิจการมีการบันทึกและเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนอย่างถูกต้อง แม่นยำและเป็นระบบ เพื่อจะได้นำข้อมูลนั้นมาจำแนกได้ตามลักษณะที่ผู้บริหารต้องการนำไปใช้และช่วยในการตัดสินใจเลือกทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งได้

ERP product


  • 0

การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีและ ERP)


Tags : 

 

อยากจะออกใบกำกับภาษีทั้งที มีเทคนิค 3 ข้อที่ควรทำ คือ
1. รายการในใบกำกับภาษีครบถ้วนที่ถูกต้อง
2. ห้ามเขียนเพิ่ม!! ถ้าออกใบกำกับด้วยคอมพิวเตอร์
3. รายละเอียดต่างๆ ไม่มีขีดฆ่า ไม่มีแก้ไข

ทำ 3 ข้อนี้รับรองสบายใจแน่นอน
แต่อย่าลืมไปจด VAT

—–

รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษี เช็คให้ดี!!

1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” เห็นชัดจัดเต็ม
2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคนขาย
3. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของคนซื้อ
4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี หรือ เล่มที่ (ถ้ามี)
5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
6. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
7. วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี

เพิ่มเติมตั้งแต่ 1 มกราคม 2558
– ข้อ 2 และ 3 อย่าลืมระบุว่าเป็น “สำนักงานใหญ่” หรือ “สาขา”
– กรณีข้อ 3 ถ้าผู้ซื้อไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ได้ใช้ใบกำกับภาษี ไม่จำเป็นต้องกรอกเลขประจำผู้เสียภาษีหรือบัตรประชาชน

ERP product


  • 0

รู้หรือไม่ SMEs เป็นนิติบุคคล เสียภาษีถูกกว่า 15 เปอร์เซ็นต์


Tags : 

หากเปรียบเทียบกันระหว่างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะเห็นว่าการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประหยัดภาษีมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะนิติบุคคล เสียภาษีสูงสุด 20% ขณะที่บุคคลธรรมดา เสียภาษีสูงสุด 35% เท่ากับนิติบุคคลเสียภาษีถูกกว่าถึง 15%

สำหรับนิติบุคคล (ที่มีเงื่อนไข) เป็น SMEs หรือกิจการขนาดเล็ก ✓ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ✓ รายรับไม่เกิน 30 ล้านบาท

SMEs จะได้รับ “โอกาส” และ “แต้มต่อ” มากกว่า !!! เช่น ✓ ยกเว้นภาษี (กำไรสุทธิไม่เกิน 3 แสนบาท) ✓ หักค่าใช้จ่ายของกิจการเป็นพิเศษได้ 2 เท่า (เช่น ค่าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี)

Credit : https://www.smebank.co.th


  • 0

ปัจจัยสำคัญ เมื่อต้องเลือกสำนักงานบัญชี สำหรับเจ้าของธุรกิจใหม่


Tags : 

ในแต่ละปี มีเจ้าของธุรกิจ จดทะเบียนนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน มากกว่า 40,000 – 70,000 แห่งทั่วประเทศ แต่ละนิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน จำเป็นต้องมีผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชีอนุญาต เพื่อทำงบการเงินประจำปี ทางเลือกที่ดีของเจ้าของธุรกิจใหม่ คือ สำนักงานบัญชี คำถามที่ตามมา คือ อะไรคือปัจจัยที่สำคัญ เมื่อต้อง เลือกสำนักงานบัญชี ครั้งแรก  พนักงานบัญชีจบใหม่ 1 คนมีค่าใช้จ่าย และถือเป็นต้นทุนคงที่ทุกเดือนอย่างน้อย 9,000 – 15,000 บาท ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา แต่ไม่รวมประสบการณ์ ถ้าต้องการจ้างพนักงานบัญชีที่สามารถทำบัญชีปิดงบได้ต้นทุนอาจขยับถึง 35,000 – 50,000 ต่อคนต่อเดือน ไม่รวมผู้สอบบัญชีอนุญาต ที่ต้องหาเอง และมีต้นทุนสูง สำนักงานบัญชี เป็น ตัวเลือกที่เหมาะกับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีเงินทุนน้อย หรือต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ปัญหาของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หรือSMEsส่วนใหญ่ คือ สำนักงานบัญชีที่ดีเป็นอย่างไร และอะไรคือปัจจัยในการเลือกสำนักงานบัญชี

ความน่าเชื่อถือ สำนักงานบัญชี เปรียบเสมือนเพื่อนทางธุรกิจ หรือพาร์ทเนอร์ เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย ค่าภาษี และงบการเงินประจำปี ถูกกำหนดโดยสำนักงานบัญชี ดังนั่นความน่าเชื่อถือของสำนักงานบัญชีจึงเป็นเรื่องสำคัญ

วิธีที่ดีที่สุด เพื่อค้นหาความน่าเชื่อถือ และประสบการณ์ของสำนักงานบัญชี คือ การดูข้อมูลสำนักงานบัญชี รวมทั้งประวัติของเจ้าของสำนักงานบัญชีในแต่ละแห่งว่าจบการศึกษาด้านใด มีประสบการณ์ในการทำงานด้านบัญชี และภาษีกี่ปี มีลูกค้ากี่หลาย และลูกค้าทำกิจการอะไรบ้าง คุณต้องสอบถามข้อมูลในแต่ละอย่างให้ครบถ้วน ยิ่งคุณใส่ใจ เท่ากับว่าธุรกิจของคุณมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ และยั่งยืนสูง

 ค่าจ้าง

หลังจากเปิดบริษัท เจ้าของธุรกิจ อาจได้รับจดหมายจากสำนักงานบัญชีหลายแห่ง บางแห่งแสดงค่าบริการตั้งแต่ 500 บาท ราคาถึงแม้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ที่เงินลงทุนไม่มาก แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ รับทำบัญชีราคาถูก หมายความว่า สำนักงานบัญชีนี้ ต้องรับลูกค้าจำนวนเท่าไร เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่รอดมาคำนวนกันครับ

สำหรับสำนักงาน ที่รับบัญชีราคาถูก ต้องให้พนักงานทำงานอย่างน้อย  30 บริษัทต่อพนักงานหนึ่งคน ที่มีเงินเดือน 15,000 บาท ยังไม่รวมสวัสดิการอย่างอื่น ดังนั่นถ้าคุณต้องการต้องการงานอื่นๆ ที่นอกเหนือจาก ยื่นภาษีประจำเดือน และส่งงบการเงินประจำปี คุณคาดหวังได้ว่า สำนักงานบัญชีที่ทำบัญชีราคาถูก จะไม่สามารถทำรายงานทางบัญชี และรายงานกำไรขาดทุนในแต่ละเดือนได้อย่างแน่นอน

ขั้นตอนการทำงาน

ก่อนที่จะเริ่มตกลงจ้างสำนักงานบัญชี คำถามหนึ่งที่ต้องมี คือ “ขั้นตอนการทำงานของสำนักงานบัญชีในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง ช่วยอธิบายให้ฟังสั้นๆ” สำนักงานบัญชีที่ดี ต้องมีขั้นตอนที่แน่นอน และเป็นระบบ เช่น การรับ-ส่งเอกสารในแต่ละเดือน การเก็บเอกสาร การยื่นภาษี การชำระภาษี การชำระประกันสังคม รวมทั้งการจัดทำรายงานบัญชีในแต่ละเดือน ตัวแทนสำนักงานบัญชีต้องสามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานได้อย่างชัดเจน และครบถ้วน

ปัจจุบันหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ให้ความสำคัญกับสำนักงานบัญชีอย่างมาก จึงทำให้เกิดโครงการ “สำนักงานบัญชีคุณภาพ” ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวเลือกหนึ่งให้กับเจ้าของธุรกิจ และป้องกันปัญหาจากสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชีไม่ครบถ้วน และไม่ถูกต้อง

ให้คำปรึกษา

สำนักงานทำบัญชีสมัยใหม่ หรือยุค4.0 ต้องเป็นเหมือนพาร์ท หรือเพื่อทางธุรกิจ คือ มีความรู้สึกร่วมกับเจ้าของธุรกิจ ยินดีเมื่อเจ้าของธุรกิจมีกำไรมากขึ้น และเมื่อเห็นว่ามีสิ่งที่ไม่ดี เกิดขึ้นกับธุรกิจ ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาให้ได้ ในแต่ละเรื่อง เช่น วางระบบบัญชีภายใน ประหยัดภาษี สามารถอธิบายค่าใช้จ่ายที่สรรพากรยอมรับ และไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามได้ วิเคราะห์งบการเงินได้ อธิบายให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจวิธีอ่าน และเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ สามารถอธิบายจุดอ่อน ของหนี้สิน และค่าใช้จ่ายที่มีผลต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจได้

ท้ายสุด ผมอยากให้ข้อคิดสำหรับเจ้าของธุรกิจ เมื่อต้องทำงานรวมกับสำนักงานบัญชี ก็คือ ความครบถ้วนของเอกสาร ความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชี และสามารถใช้รายงานทางบัญชีได้อย่างทันการณ์ เจ้าของธุรกิจต้องใส่ใจบัญชี เพราะ บัญชี คือ “หัวใจของธุรกิจ”

Credit : www.myaccount-cloud.com

ERP product

 


  • 0

ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า


Tags : 

กำหนดให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพิ่มขึ้นโดยสามารถลงเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3 เท่าของรายจ่ายจริง โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. ผู้ประกอบการที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และจะต้องไม่นำรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้ ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2. ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นภาษี เฉพาะเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า จึงเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปจริง[4]

3. ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นภาษีเพิ่มอีก 1 เท่าจากข้อ 2 สำหรับเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินในข้อ 2. แล้วต้องไม่เกินร้อยละของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี

Credit : https://www.dlo.co.th