Tag Archives: Tax

  • 0

บริหารภาษีอากรอย่างไร ปี 2022


tax2022, tax
Tags : 

บริหารภาษีอากรอย่างไร ปี 2022 การบริหารภาษี

เป็นการบริหารจัดการภาษีอากรให้มีผลกระทบต่อกิจการน้อยที่สุดภายใต้เงื่อนไขถูกต้องตามประมวลรัษฎากรและป้องกันถูกประเมินย้อนหลัง ทุกครั้งที่กิจการต้องการบริหารภาษีอากรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของการเสียภาษีอากรที่ดีของธุรกิจดังต่อไปนี้

1. ถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมาย
ในการบริหารภาษีอากรผู้บริหารจะต้องมีความรู้ความเข้าในตัวบทกฎหมายอย่างชัดเจนถูกต้อง อย่ามองแง่ใดแง่หนึ่งเพียงแง่เดียว จะต้องมองรายละเอียดของภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ครอบคลุมทุกประเด็น และ ถูกต้องตามกฎหมาย

2. ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
ควรกำหนดทางเลือกในการนำเงื่อนไขทางกฎหมายมาใช้ในกิจการให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เช่น รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การส่งเสริมการขายกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับการยกเว้น

3. ปลอดภัยจากภาระที่อาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า
หากขาดความรอบคอบในการศึกษากฎหมายได้อย่างถูกต้องแล้ว อาจเกิดปัญหาได้ในอนาคตโดยถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบและประเมินภาษี ทำให้กิจการมีรายจ่ายเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด การบริหารภาษีจึงควรช่วยให้กิจการป้องกันความปลอดภัยจากการประเมินภาษีอากร

4. มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนและสมเหตุผล
เมื่อมีการบริหารภาษีอากรในเรื่องหนึ่งเรื่องใดจะต้องมีการยกกฎหมายมาอ้างอิงให้ชัดเจน สามารถตอบคำถามในปัญหาต่างๆ ได้โดยปราศจากข้อโต้แย้งทางภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายในประมวลรัษฎากร คำพิพากษา ข้อกำหนดกรมสรรพากร

5. ช่วยในการลดต้นทุน
กิจการที่มีการบริหารภาษีอากรจะทำให้กิจการสามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น การขอรับสิทธิการส่งเสริมการลงทุนทำให้กิจการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นภาษีอากรสำหรับส่วนแบ่งกำไรหรือเงินปันผล  การจัดซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนาที่ได้รับสิทธิในการคำนวณค่าเสื่อมราคามากกว่าปกติ และอื่นๆ จะช่วยในการลดต้นทุนของกิจการแล้วยังช่วยในการเพิ่มกำไรสุทธิของกิจการให้สูงขึ้นโดยการอาศัยการบริหารภาษีอากรที่ดี


  • 0

6 ภาษีที่ต้องรู้ สำหรับธุรกิจ


tax, ภาษี
Tags : 

6 ภาษีที่ต้องรู้ สำหรับธุรกิจ

1. ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่เก็บจากคนที่มีรายได้แบ่งเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล

2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีเมื่อมีการจ่ายเงินเกิดขึ้นแล้วเข้าเงื่อนไขที่กำหนด ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งให้กรมสรรพากรโดยอัตราภาษีที่ต้องหักนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าท่านจ่ายให้ใคร และจ่ายค่าอะไร 

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า แต่ต้องดูว่าธุรกิจที่เราทำได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับการยกเว้น จะจดเข้าระบบ หรือไม่จดเข้าระบบ ให้ดูที่รายได้ ว่าเกิน 1,800,000 บาทขึ้นไป ถ้าเกินกฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ ต้องจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มทันที ใช้กับธุรกิจบางธุรกิจเท่านั้น โดยทั่วไปก็เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคาร หรือโรงรับจำนำ แบบที่ใช้ คือ ภธ.40

4. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน คือ ภาษีที่เก็บจาก อาคาร หรือที่ดินเพื่อเช่า และมีรายได้จากการเช่า ท่านจะต้องเสียภาษีในอัตรา 12.5% ต่อปีของค่ารายปี โดยชำระที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

5. ภาษีป้าย คือ ภาษีที่เก็บจากป้ายชื่อ ซึ่งคิดตามขนาดของป้าย แต่ขั้นต่ำที่ต้องชำระ คือ 200 บาทโดยชำระที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ตั้งอยู่ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

6. อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่เก็บจากการทำสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาเช่าที่ การกู้ยืมเงิน เป็นต้น


  • 0

งบการเงิน


การส่งงบการเงิน
Tags : 

งบการเงิน (Financial Statement) คือรายงานทางการเงินและบัญชีที่แสดงถึงสถานะในการดำเนินงานและผลประกอบการของบริษัท สำหรับระยะเวลาแต่ละรอบบัญชี

การนำส่งงบการเงิน ของแต่ละประเภทธุรกิจ

การทำธุรกิจในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตน

ซึ่งหากกิจการนั้นไม่นำส่งงบการเงินตามรอบบัญชีอาจทำให้ถูกค่าปรับได้


  • 0

Digital Accounting


Digital Accounting
Tags : 

Digital Accounting คือการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการงานด้านบัญชี การทำงานเป็นแบบ Real Time ถูกต้อง และมีความแม่นยำ รวมถึงการชำระภาษี และการยื่นงบการเงินแบบออนไลน์

ทำไมต้อง Digital Accounting?

ในยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล รูปแบบการทำธุรกิจได้เปลี่ยนให้เข้ากับรูปแบบใหม่ ให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภค การทำงานของสำนักงานบัญชีจึงได้มีการยกระดับจากการทำบัญชีแบบดั้งเดิม สู่การนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการ เพื่อลดขั้นตอนและเวลาในการทำงาน สามารถทำงานได้อย่างอิสระ โดยทำงานได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

การเปลี่ยนไปใช้ โปรแกรมบัญชี on-line ทำให้งานธุรการอัตโนมัติและคล่องตัวได้อย่างง่ายดาย ยังช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลาและเงินได้อีกด้วย

สำนักงานบัญชีที่สนใจทำระบบสำนักงานบัญชีดิจิทัล และผู้ประกอบทั่วไปที่สนใจทดลองใช้งานฟรี ติดต่อได้ที่

💻 : http://nextosystem.com
📧 : helpdesk@nextosystem.com
📞: 02-665-2535


  • 0

สรรพากรประกาศยกเว้นภาษี “พักทรัพย์-พักหนี้” ช่วยธุรกิจฝ่าโควิด


Tags : 

สำหรับการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว จะทำให้ลูกหนี้ธุรกิจซึ่งมีทรัพย์สิน และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และต้องการสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลกับภาระภาษีที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนให้กับลูกหนี้ และสถาบันการเงิน และสามารถให้สินเชื่อแก่ประชาชนและธุรกิจต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น และช่วยในเรื่องของสภาพคล่อง

ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการสามารถซื้อทรัพย์สินกลับคืนได้ในราคาที่โอนไป และยังมีสิทธิเช่าทรัพย์นั้นกลับไปใช้ในการประกอบธุรกิจได้ ทำให้ไม่เกิดภาวะขาดสภาพคล่องหรือผิดนัดชำระหนี้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.rd.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161


  • 0

นิติบุคคล SME ลดหย่อนอะไรได้บ้าง


Tags : 

นิติบุคคล หรือ SME ส่วนใหญ่อาจจะสงสัยว่าการทำธุรกิจในรูปแบบนี้สามารถทำการลดหย่อนภาษีได้ไหม หากได้จะเป็นการลดหย่อนจากอะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่ารายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจ SME และ นิติบุคคลจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การจดทะเบียนบริษัท

ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนนิติบุคคล มีทุนในการจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะสามารถนำค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การจดทะเบียนบริษัทมาเป็นค่าลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า ในระยะเวลา 5 รอบบัญชีต่อเนื่อง หรือในระยะเวลา 5 ปีภาษี

โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์

อีกหนึ่งนโยบายที่กรมสรรพากรออกมาสนับสนุนให้ธุรกิจ SME นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน คือการลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจ SME ที่ซื้อ หรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ DEPA ซึ่งมีอัตราการหักภาษี 1 เท่าของรายจ่ายตามจริง แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่สรรพากรได้กำหนดไว้ และมีวงเงินไม่เกิน 100,0000 บาท ในแต่ละรอบบัญชี

ค่าเสื่อม ค่าสึกหรอภายในกิจการ

การลดหย่อนค่าสึกหรอถือเป็นตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะค่าสึกหรอที่ถูกหักจะถือเป็นค่าใช้จ่าย ที่สามารถนำมาหักภาษีได้ แต่การลดหย่อนค่าสึกหรอก็ไม่สามารถทำได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท เพราะสินทรัพย์ที่นำมาคิดได้มีดังนี้

– ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ ที่มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี คิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักได้ใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี

– ทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงาน มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 20 ปี โดยไม่รวมที่ดินที่มีราคาเกิน 200 ล้านบาท และคนงานไม่เกิน 200 คน คิดค่าเสื่อมที่อัตรา 25% ของต้นทุน โดยหัก 5% ต่อปี

– ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี คิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายในระยะเวลา 5 ปี

ลดหย่อนจากการบริจาค

สำหรับกิจการที่ชื่นชอบการบริจาค ผลบุญนี้ก็ส่งตรงถึงกิจการของคุณ เพราะคุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะทำการบริจาคให้กับองค์กร หรือกองทุนต่างๆ ดังต่อไปนี้

– การบริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินหรือมูลค่าที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

– บริจาคให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล

– บริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวม 4 กองทุน สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค เมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดแล้วต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

ลดหย่อนจากค่าจ้างลูกจ้างสูงอายุ

กรมสรรพากรได้มีมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยให้แก่บริษัทนิติบุคคล ที่ตรงตามเงื่อนไขการลดหย่อนจากการจ้างงานผู้สูงอายุที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

ลดหย่อนจากการทำประกันชีวิต

การทำประกันชีวิตให้กับกรรมการบริษัท เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณสามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษี เพราะนี่เป็นการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่จะต้องไม่ใช่การใช้จ่ายแบบเสน่หา การคำนวณภาษีจะถูกนำไปใช้เพื่อจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


แม้ภาษีนิติบุคคลจะเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถลดเวลาการทำงานในส่วนการทำบัญชีหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยระบบบัญชีสำเร็จรูป

Smartbizบัญชี-เงินเดือน-ผลิต

 


  • 0

มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย


Tags : 

มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบด้วย

1. กลุ่ม SMEs ต้องการสภาพคล่อง ประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้

1.1 โครงการ บสย. SMEs สร้างไทย โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงินค้ำประกัน 60,000 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชยความเสียหายไม่เกินร้อยละ 40 ของวงเงินค้ำประกัน สามารถค้ำประกันให้กับลูกหนี้ที่มีศักยภาพแต่มีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง รวมถึงลูกหนี้ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ( NPLs) ลูกหนี้ Re-finance ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และได้รับอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อสนับสนุนให้ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่องให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

1.2 โครงการ Transformation Loan เสริมแกร่ง (Soft Loan เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ระยะที่ 2) โดยธนาคารออมสิน เตรียมวงเงิน 15,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการร้อยละ 0.1 ต่อปี และสถาบันการเงินปล่อยกู้ต่อ คิดดอกเบี้ยกับ SMEs ร้อยละ 4 ต่อปีระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี ผู้ขอสินเชื่อให้รวมถึงธุรกิจ Supply Chain และธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากกลุ่มธุรกิจ 10 S-Curve และสามารถให้สินเชื่อกับลูกหนี้ที่เป็น NPLs แต่มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว รวมถึงเพิ่มเติมวัตถุประสงค์การกู้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนอย่างเดียวได้

1.3 โครงการ GSB SMEs Extra Liquidity โดยธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนปรนภาระ
การจ่ายเงินต้นและเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 50 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นที่อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าชั้นดี (Minimum Loan Rate : MLR) ลบร้อยละ 1 (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของธนาคารออมสินอยู่ที่ร้อยละ 6.375 ต่อปี) ระยะเวลากู้สูงสุด 6 ปี ปลอดชำระเงินต้น 1 ปี

2. กลุ่ม SMEs ที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือทันที ผ่านโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 จะขยายระยะเวลาการค้ำประกันในโครงการ PGS 5 ถึง PGS 7 ออกไปอีก 5 ปี รวมถึงยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ บสย. จ่ายค่าประกันชดเชยเมื่อสถาบันการเงินดำเนินคดีกับ SMEs โดยให้สถาบันการเงินสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

3. กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพ ปัจจุบันมีมาตรการด้านการเงินเพื่อสนับสนุน SMEs ทั้งโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนและโครงการค้ำประกันสินเชื่อ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้

3.1 โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุน สสว. โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นผู้พิจารณาสินเชื่อ วงเงินคงเหลือ 5,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี ระยะเวลากู้ไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี โดยให้ สสว. ให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดสภาพคล่อง ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่เป็น NPLs แต่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วด้วย

3.2 โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy Loan) ของ ธพว. วงเงินคงเหลือ 20,000 ล้านบาท โดยปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายให้ลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPLs และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วสามารถเข้าโครงการได้

3.3 โครงการสินเชื่อ SME ประชารัฐสร้างไทย ของธนาคารออมสิน โดย ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562 มีวงเงินคงเหลือ 45,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ใน 2 ปีแรก โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี

3.4 โครงการสินเชื่อ กรุงไทย SME ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยเพิ่มวงเงินสินเชื่อ
อีก 10,000 ล้านบาท เป็น 60,000 ล้านบาท คิดอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 4 ต่อปี โดยกำหนดการจ่ายค่าธรรมเนียม
ค้ำประกันสินเชื่อแทน SMEs เป็นระยะเวลา 4 ปี

3.5 โครงการ PGS 8 ของ บสย. สำหรับวงเงินค้ำประกันโครงการที่เหลือ บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยให้กับสถาบันการเงินโดยสถาบันการเงินไม่ต้องดำเนินคดีกับ SMEs ก่อน เพื่อให้สถาบันการเงินช่วยลูกหนี้โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แทนการฟ้องดำเนินคดี รวมถึงขยายการค้ำประกันสินเชื่อให้ครอบคลุมถึงธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลิสซิ่ง และธุรกรรมแฟ็กเตอริงได้อีกด้วย

3.6 โครงการ Direct Guarantee ของ บสย. วงเงินค้ำประกัน 5,000 ล้านบาท วงเงินค้ำประกัน
ต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน โดย บสย. เป็นผู้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมค้ำประกันตามระดับความเสี่ยงของลูกค้า (Risk Based Pricing) ระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี

4. มาตรการอื่น

4.1 ธนาคารแห่งประเทศไทย พิจารณาแนวทางการกันสำรองที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในลักษณะเชิงป้องกันไม่ให้เป็น NPLs และกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่เป็น NPLs และมีการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มเติม ทั้งของสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

4.2 สมาคมธนาคารไทย ดึงธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมถึงพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้และลดดอกเบี้ย เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

4.3 มาตรการภาษีอากรและค่าธรรมเนียม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1) ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ลูกหนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้ ได้แก่ ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และธุรกิจสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ
2) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการโอน
หรือขายทรัพย์สิน การให้บริการ และการกระทำตราสาร เพื่อชำระหนี้ อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
3) ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์
ที่จำนองเป็นประกันหนี้กับสถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น เพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่สถาบันการเงิน (เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระ)
4) ยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
5) ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์
และห้องชุดจากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

กระทรวงการคลังมั่นใจว่ามาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย และความร่วมมือที่ดีจากสมาคมธนาคารไทยจะช่วยสนับสนุนและบรรเทาความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นต่อ SMEs เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะ SMEs ต่อไป

Credit : www.smartsme.co.th


  • 0

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดสูงสุด 50%


Tags : 

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายลูกของ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภทในอัตรา 50% ของภาระภาษี ให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด ที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 1 ม.ค. 63 ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่บุคคลดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองมาโดยทางมรดก และได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นแล้วก่อนวันที่ 13 มี.ค. 62, ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตไฟฟ้า และโรงผลิตไฟฟ้า, ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นเขื่อนและพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับเขื่อน ที่ใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า

นอกจากนี้ ยังลดภาษีในอัตรา 90% ที่จะต้องเสียสำหรับที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่หน่วยงานดังต่อไปนี้รับมาเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี รับตั้งแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกเป็นของหน่วยงาน ได้แก่

  • สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  • สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
  • สถาบันการเงินประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันการเงินประชาชน
  • บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

อีกทั้งยังครอบคลุมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่กำลังพัฒนาเป็นโครงการจัดสรรเพื่อที่อยู่อาศัย หรือการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน เป็นเวลาไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินกล่าว, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด เป็นเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดดังกล่าว, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างของผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นเวลาไม่เกินสามปีนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้ดาเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน กฎหมายว่าด้วย อาคารชุด หรือกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแล้ว และผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายดังกล่าวยังไม่ได้ขายเป็นเวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ 13 มี.ค. 62, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในกิจการของสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในกิจการของโรงเรียนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นสถานที่ให้บริการแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป เช่น สวนสัตว์ สวนสนุก รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่ตั้งของถนนหรือทางยกระดับที่เป็นทางพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือเป็นทางหลวงสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงสัมปทาน

Credit : www.sanook.com


  • 0

9 ข้อภาษีที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจ (เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี)


Tags : 

9 ข้อภาษีที่ควรรู้ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องจดจำ และอาจจะได้นำไปใช้จริงในการทำธุรกิจ

1. ภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้คือภาษีที่เก็บจากเงินได้ สำหรับคนที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยสามารถทำการเสียภาษีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งจะคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) และการเสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล ซึ่งจะคำนวณจากกำไรสุทธิทางภาษี

2. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นภาษีที่จะเรียกเก็บจากสิ่งปลูกสร้างอย่างอาคาร ตึกแถว บ้าน ร้านค้า สำนักงาน โรงแรม ฯลฯ การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินจะถูกเรียกเก็บในกรณีที่เกิดการให้เช่าทรัพย์สิน หรือให้ผู้เข้ามาอยู่อาศัย และในกรณีที่ใช้อสังหาริมทรัพย์ (ตึกแถว บ้าน) เป็นสถานประกอบการเชิงพาณิชย์

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เป็นภาษีที่จะเรียกเก็บกับธุรกิจธนาคาร หรือที่ประกอบกิจการคล้ายกับธนาคารพาณิชย์อย่าง ประกันชีวิต โรงรับจำนำ ตลอดจนถึงการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นการค้า หรือการหากำไร

4. ภาษีอากรแสตมป์

ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีที่มาในรูปแบบของดวงแสตมป์ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการ หรือหนังสือสัญญาอย่าง สัญญาการเช่าโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ เงินกู้ ฯลฯ

5. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

เป็นภาษีที่จะต้องถูกหักทันทีเมื่อมีรายได้จากการให้บริการ ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย คือคนที่ทำการจ่ายเงิน

6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีที่ถูกเก็บจากรายได้การขายสินค้า หรือการให้บริการ โดยมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

7. ภาษีสรรพสามิต

เป็นภาษีที่จะถูกเรียกเก็บจากสินค้าที่ผลิต หรือถูกนำเข้า ตลอดจนการบริการทางธุรกิจตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้อย่าง ภาษีน้ำมัน ภาษีน้ำหอม และภาษีรถยนต์

8. ภาษีศุลกากร

เป็นภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากการที่นำสินค้า หรือสิ่งของเข้า ออกผ่านเขตแดนหนึ่ง ไปอีกเขตแดนอื่น โดยจะถูกเก็บตามอัตราที่กฎหมายกำหนด

9. ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จะต้องเสียเมื่อทำการติดตั้งป้ายตามที่กฎหมายกำหนดอย่างป้ายบิลบอร์ด ป้ายผ้าใบ ป้ายไฟ หรือป้ายที่ใช้โฆษณาเพื่อหารายได้

เมื่อรู้จักกับ 9 ข้อภาษีที่ควรรู้กันไปแล้ว ก็อย่าลืมนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพราะสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจที่ดีคือการเสียภาษีอย่างถูกต้อง หากธุรกิจคุณจำเป็นต้องเสียภาษีในข้อใด ก็ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ฟรีโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Smartbiz Accounting https://www.crystalsoftwaregroup.com/download/free-download/

Credit : www.smemove.com


  • 0

อากรแสตมป์ หนึ่งในภาษีที่ควรรู้จัก (เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี)


Tags : 

อากรแสตมป์ที่เป็นดวงๆ แบบนี้ เป็นวิธีการเก็บภาษีอีกรูปแบบหนึ่งนะครับ แต่จะมีวิธีเสีย หรือการใช้งานอย่างไรบ้าง มาดูกันครับ

อากรแสตมป์ที่เป็นดวงๆ แบบนี้ เป็นวิธีการเก็บภาษีอีกรูปแบบหนึ่งนะครับ ไม่ใช่แสตมป์สำหรับส่งไปรษณีย์อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจผิดกัน และที่สำคัญ เมื่อใช้อากรแสตมป์แล้ว ต้องขีดคร่อมที่อากรแสตมป์ด้วยนะครับจึงจะถือว่าสมบูรณ์

อากรแสตมป์ (Stamp Duty)

เป็นภาษีในรูปแบบหนึ่ง ที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร(เอกสารแสดงสิทธิ์ต่างๆ) หรือ ทำสัญญา

• ภาระภาษี จะเกิดขึ้นเมื่อกระทำตราสารหรือสัญญานั้นเสร็จสมบูรณ์ คือ การลงลายมือชื่อคู่สัญญา*

• ต้องเสียอากรแสตมป์ภายใน 15 วัน  หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์

• จัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์

• ตราสารหรือสัญญาที่กฎหมายกำหนด เช่น

  • สัญญาจ้างทำของ
  • สัญญากู้ยืมเงิน
  • สัญญาค้ำประกัน
  • สัญญาเช่าที่ดิน
  • สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement)
  • สัญญาร่วมลงทุน (Joint-venture Agreement)

• ตราสารหรือสัญญาที่ทำในประเทศไทย

• ตราสารหรือสัญญาที่ทำในต่างประเทศ แล้วนำกลับเข้ามาในประเทศไทย (ต้องเสียอากรภายใน 30 วัน)

การเสียอากรแสตมป์

ผู้ที่มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น

“สัญญาเช่าที่ดิน ผู้ให้เช่า เป็นผู้เสียอากร”

“สัญญากู้ยืมเงิน ผู้ให้กู้   เป็นผู้เสียอากร”

วิธีการเสียอากรแสตมป์

  • ปิดอากรแสตมป์ทับบนกระดาษแล้วขีดคร่อม
  • ใช้แสตมป์ดุนบนกระดาษ (ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม)
  • ชำระเป็นเงินสด* (สำหรับตราสาร 12 ประเภท ตามบัญชีอากรแสตมป์ ประมวลรัษฎากร)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์

• อากรแสตมป์เป็นเพียงเครื่องมือในการจัดเก็บภาษี ไม่ใช่กฎหมาย

• สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร

• สัญญาปากเปล่าไม่มีหนังสือ ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ (อากรแสตมป์ จัดเก็บจากการทำสัญญาเป็นหนังสือเท่านั้น)

• การไม่เสียอากร ไม่ได้ทำให้ตราสารนั้นไร้ผลทางกฎหมาย แต่มีผลทำให้ตราสารหรือตราสารนั้นใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้*

• อากรแสตมป์ไม่ใช่ดวงตราไปรษณียากร ไม่สามารถนำไปใช้ปิดซองจดหมายได้

Credit : www.dharmniti.co.th