Tag Archives: Tax

  • 0

หนี้และทุน บริหารสมดุลให้ดี


Tags : 

การบริหารเงินในธุรกิจนอกจากกระแสเงินสดรับจ่ายในกิจการแล้ว เราต้องดูสัดส่วนระหว่างหนี้สินกับเงินทุนให้มีความพอดีกัน ซึ่งหาได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ (Debt to Equity Ratio) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า D/E Ratio เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่าธุรกิจมีหนี้เป็นกี่เท่าของเงินทุน ค่าที่ได้ยิ่งสูงเท่าไหร่ก็แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หนี้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดมากเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่เวลาเราไปขอสินเชื่อแล้วธนาคารจะทำการพิจารณาอัตราส่วนนี้เป็นอันดับแรกๆ

สำหรับค่า D/E Ratio ที่คำนวณได้นั้น จะสะท้อนถึงฐานะทางการเงินว่าเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ดำเนินธุรกิจนั้นมาจากหนี้สินหรือมาจากเงินลงทุนของเจ้าของ ถ้าค่าที่ได้ยิ่งสูง ก็แสดงว่าธุรกิจต้องพึ่งพาเงินกู้ยืมมาก ย่อมมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยมาก เท่ากับว่ากัดฟันสู้ทำธุรกิจมาเท่าไหร่ก็เอาไปใช้หนี้หมดเลย จึงมีความเสี่ยงสูงที่ธุรกิจจะเจ๊ง แต่หากค่าที่คำนวณได้มีค่าน้อย แสดงว่าธุรกิจดำเนินงานจากเงินทุนของเจ้าของ ถ้ากู้เงินทำธุรกิจ ก็กู้แค่พอประมาณ จึงมีภาระต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นน้อย กำไรที่หามาได้ก็เอามาต่อยอดทำธุรกิจได้

อย่างไรก็ดี D/E Ratio ไม่ได้มีค่ากำหนดที่แน่นอนตายตัวว่าเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะแต่ละธุรกิจแต่ละอุตสาหกรรมมีธรรมชาติในการทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ความเหมาะสมของค่า D/E Ratio ที่ได้นั้นแตกต่างกัน  นอกจากนี้การคำนวณหา D/E Ratio ในแต่ละปี ก็จะช่วยให้ธุรกิจเห็นแนวโน้มความเสี่ยงทางการเงินของตัวเองว่าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง รู้อย่างนี้แล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ไม่อยากก้มหน้าก้มตาทำงานใช้หนี้ ก็ต้องให้บริหารสัดส่วนของหนี้สินกับส่วนของเจ้าของให้สมดุลกันนั่นเอง

ERP product

 

Credit : www.kasikornbank.com


  • 0

สรรพากรชวนผู้ประกอบการเข้าระบบ VRT บน Blockchain คืน VAT ผ่านแอปพลิเคชัน


Tags : 

กรมสรรพากร เปิดเผยว่า “ในแต่ละวันกรมสรรพากรได้รับการยื่นขอคืน VAT จากนักท่องเที่ยวเฉลี่ยกว่า 5,000 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 5 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งเป็นการขอคืน VAT ด้วยการกรอกเอกสารกว่า 75% กรมสรรพากรจึงได้นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในการให้บริการคืน VAT ให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งจะช่วยให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกและได้รับ VAT คืนรวดเร็วขึ้น เป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาเที่ยวและใช้จ่ายในประเทศไทยมากขึ้น ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจก่อให้เกิดการลงทุนและจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ส่วนผู้ประกอบการที่เข้าระบบนี้จะได้รับความสะดวกในการบริหารจัดการคืนภาษีได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว สามารถจัดทำเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ร้านค้าลดขั้นตอนงานเอกสาร ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ

สำหรับคุณสมบัติของผู้สมัครต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว (Vat Refund For Tourists/VRT) ไม่มีประวัติเป็นผู้ออกหรือใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับกรมสรรพากรได้แบบทันที (Real Time)

ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครโดยยื่นแบบคำขออนุมัติจัดทำแบบคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.10) โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ที่กลุ่มบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว ชั้น 17 อาคารกรมสรรพากร ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ

Credit : www.pineapplenewsagency.com


  • 0

รู้ได้อย่างไร ว่านี่คือใบกำกับภาษีปลอม


Tags : 

วิธีการดูใบกำกับภาษีที่อาจเป็นของปลอม มาดูกันว่ามีวีธีการตรวจสอบเบื้องต้นอย่างไร

1. เพ่งเล็งเป็นกรณีพิเศษประเภทสินค้าที่มีความเสี่ยงสูง เช่น วัสดุก่อสร้าง ผ้า พลาสติก กระดาษ
2. สินค้าที่ซื้อไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
3. ซื้อจากสถานที่มีความเสี่ยง เช่น สำเพ็ง คลองถม ร้านโชห่วย
4. ใบกำกับภาษีมูลค่าสูง, ราคาสินค้าหรือบริการไม่น่าเชื่อถือ, เขียนด้วยลายมือ, จ่ายชำระค่าสินค้าเป็นเงินสด
5. ซื้อจากผู้ประกอบการรายเดียว ในวันที่ติดๆ กัน หรือใกล้กัน
6. ใบกำกับภาษีซื้อที่มีการนำมาใช้ในช่วงปลายเดือน ปลายปี
7. ใบกำกับภาษีที่ไม่พิมพ์คำว่า “เล่มที่”
8. แบบฟอร์มใบกำกับภาษีคล้ายกันหรือลายมือที่เขียนคล้ายกันแต่ชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีต่างกัน
9. วิธีการซื้อสินค้า ไม่ได้ซื้อจาก Supplier โดยตรง แต่ซื้อจากเซลล์หรือพนักงานขายสินค้า

Credit : www.dst.co.th


  • 1

นำเงินได้จากต่างประเทศเข้าไทย ต้องเสียภาษีหรือไม่?


Tags : 

สำหรับผู้มีรายได้จากต่างประเทศ และต้องการนำเงินเข้าประเทศไทย แล้วไม่รู้ว่าต้องเสียภาษีหรือไม่ ลองไปดูรายละเอียดกันได้เลยครับ

เข้าข่ายเสียภาษี

สิ่งแรกที่คุณต้องรู้หากคุณทำงานอยู่ต่างประเทศ หรือมีรายได้จากต่างประเทศ และต้องการนำเงินได้เข้าประเทศไทย คือ

  • มีถิ่นที่อยู่ในประเทศหรือไม่ (อาศัยอยู่ในประเทศไทย มากกว่า 180 วัน ต่อปี)
  • นำเงินได้เข้าประเทศไทยในปีเดียวกันหรือไม่

เพราะประเทศไทยจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดาจากแหล่งนอกประเทศไทยก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยและนำเงินได้ที่ได้รับจากแหล่งนอกประเทศไทยของปีนั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีเดียวกัน

เสีย/ไม่เสียภาษีก็ต่อเมื่อ

ต้องเสียภาษี

  • นำเงินได้จากปี 2561 เข้ามาในประเทศไทย และอาศัยอยู่ ในประเทศไทยมากกว่า 180 วัน ในปีเดียวกัน

ไม่ต้องเสียภาษี

  • นำเงินได้จากปี 2561 เข้ามาในประเทศไทย และอาศัยอยู่ในประเทศไทยน้อยกว่า 180 วัน ในปีเดียวกัน
  • อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 180 วัน แต่นำเงินได้จากปี 2561 เข้ามาในประเทศไทยคนละปีกับเงินได้

Credit : www.dharmniti.co.th


  • 0

เริ่มเก็บภาษีจยย.อัตราใหม่ ตามค่าปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ


Tags : 

สำหรับโครงสร้างภาษีรถมอเตอร์ไซค์ใหม่ หากเป็นรถจักรยานยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า (อีวี) เก็บที่ 1% รถที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่เกิน 50 กรัมต่อกิโลเมตร เสียที่อัตรา 3% รถที่ปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ 51-90 กรัมต่อกิโลเมตร เสียที่อัตรา 5% รถที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ 91-130 กรัมต่อกิโลเมตร เสียที่อัตรา 9% รถที่ปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ เกิน 130 กรัมต่อกิโลเมตรขึ้นไป เสียที่อัตรา 18% ส่วนรถจักรยานยนต์ต้นแบบเพื่อการวิจัยพัฒนาเก็บที่ 0% รวมถึงรถมอเตอร์ไซค์อื่น ๆ เสียภาษีที่ 20%

ส่วนโครงสร้างภาษีรถจักรยานยนต์เดิม จะเก็บภาษีตามขนาดเครื่องยนต์ หากไม่เกิน 150 ซีซีเสียภาษีที่ 2.5% ขณะที่ 150-500 ซีซี เสีย4% ส่วน 500-1,000 ซีซี เสีย 8% และ 1,000 ซีซีขึ้นไป เสีย 17% แต่โครงสร้างภาษีรถจักรยานยนต์ใหม่ ได้เก็บตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซพิษ

Credit : www.thansettakij.com


  • 0

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ งัด”ภาษี-สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ” คาดเกิดลงทุน1.1 แสนล้าน


Tags : 

มาตรการทางการคลังเพื่อนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 เป็นมาตรการพิเศษที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นยาแรงเพื่อกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ โดยให้มากถึง 3 ต่อ  ซึ่งประกอบด้วย ต่อที่ 1 มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ต่อที่ 2 มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และต่อที่ 3 มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในเครื่องจักรได้ร้อยละ 250 หรือ 2.5 เท่า ของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่รวมถึงกรณีที่เป็นธุรกิจให้เช่าแบบลีสซิ่งและลงทุนในเครื่องจักรเพื่อให้เช่าเครื่องจักรนั้นแบบลีสซิ่ง โดยให้หักรายจ่ายร้อยละ 100 แรก หรือ 1 เท่าแรกของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง เป็นค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามเกณฑ์ที่ประมวลรัษฎากรกำหนด และทยอยหักรายจ่ายส่วนเพิ่มเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

2. มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ปัจจุบันเครื่องจักรส่วนใหญ่ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าอยู่แล้ว มาตรการยกเว้นอากรขาเข้าในครั้งนี้จะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรส่วนที่เหลืออีก 146 รายการ โดยของที่ได้รับยกเว้นอากรต้องเป็นของที่ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน และจะต้องนำไปใช้ในการประกอบกิจการของผู้นำของเข้าเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อการจัดจำหน่ายหรือใช้ในบ้านเรือนระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงการคลังมีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

3. มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับปรุงเครื่องจักรใหม่ หรือซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ คงที่ปีที่ 1 – 2 ร้อยละ 2 และปีที่ 3 – 5 ร้อยละ 4 วงเงินกู้สูงสุดต่อราย 100 ล้านบาท ภายใต้วงเงิน 5,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2563 พร้อมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จาก ธสน. เช่น ฟรีค่าธรรมเนียม Front-end-Free ฟรีค่าธรรมเนียมค้ำประกัน บสย. 4 ปี เป็นต้น ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การขอสินเชื่อและการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ ธสน. กำหนด

นอกจากนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐยังมีสินเชื่ออัตราพิเศษอีกมากกว่า 100,000 ล้านบาทเพื่อรองรับการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) กลุ่มธุรกิจ New S-Curve หรือธุรกิจที่เป็น Supply Chain ธุรกิจเกษตรแปรรูป และธุรกิจ Robotics

กระทรวงการคลังคาดว่า มาตรการการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 จะส่งผลก่อให้เกิดการลงทุนกว่า 110,000 ล้านบาท สนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 0.25 ส่วนมาตรการสินเชื่อจะเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาและปรับปรุงการผลิตสินค้า ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยี เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ รวมทั้งจะเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้กลับมาแข็งแกร่ง ยกระดับกระบวนการผลิตและเพิ่มศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ Industry 4.0 และมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

Credit : https://businesstoday.co


  • 0

3 ความเข้าใจผิดเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้


Tags : 

3 ความเข้าใจผิดเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. ยิ่งกำไรน้อย ยิ่งเสียภาษีน้อย

ความเข้าใจผิดแรกนั้น เริ่มต้นจากความคิดที่ว่า ธุรกิจที่ยิ่งกำไรน้อยเท่าไร ก็ยิ่งเสียภาษีน้อยเท่านั้น เอ๊า!! ถ้าแบบนี้เราก็ทำให้ “ธุรกิจขาดทุน” เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งคำพูดก็ถือว่าเป็นคำพูดที่ถูกครึ่งหนึ่งครับ แต่เราต้องไม่ลืมเงื่อนไขที่ว่า ขาดทุนที่เกิดขึ้นนั้น ต้องเป็น ขาดทุนทางภาษี ไม่ใช่ ขาดทุนทางบัญชี เพราะธุรกิจต้องมีการปรับปรุงรายการกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชีให้กลายเป็นกำไร (ขาดทุน) ทางภาษีเสียก่อน แล้วค่อยคำนวณโดยการคูณอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนดครับ

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีการขาดทุนทางบัญชี 1 ล้านบาท แต่พบว่ามีค่าใช้จ่ายจำนวน 2 ล้านบาทที่ไม่มีเอกสารหลักฐานการจ่าย และเป็นรายจ่ายส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจ ซึ่งรายจ่ายในส่วนนี้จะไม่สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ก็เลยกลายเป็นว่า ขาดทุนทางบัญชีจำนวน 1 ล้านบาทก็จะถูกบวกกลับเข้าไปด้วยค่าใช้จ่ายจำนวนดังกล่าว ทำให้บริษัทมีกำไรทางภาษี จำนวน 1 ล้านบาทแทน

2. จดทะเบียนเป็น SMEs ได้ลดอัตราภาษีแน่ๆ

เรื่องต่อมาก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราได้ยินกันบ่อยๆ กับคำว่า “SMEs ได้รับสิทธิลดอัตราภาษี” โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กที่มีเงื่อนไขตามที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ คือ “เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท” หรือพูดสั้นๆ ก็คือสำหรับธุรกิจที่มี “ทุนชำระไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อปี”

 

3. ภาษีครึ่งปี พี่ต้องจ่ายด้วยหรอ?

สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่คำนวณภาษีจากกำไรสุทธิทางภาษีนั้น นอกจากยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับรอบบัญชีแล้ว (ภ.ง.ด. 50) ยังมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้สำหรับรอบบัญชีครึ่งปี (ภ.ง.ด. 51) ภายใน 2 เดือนหลังจากวันครึ่งรอบบัญชี เช่น ถ้ารอบบัญชีของบริษัทคือวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม วันครึ่งรอบบัญชีคือวันที่ 30 มิถุนายน โดยต้องยื่นภาษีครึ่งปีให้ทันกำหนดเวลาภายในสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี มิฉะนั้นจะมีปัญหาทั้งค่าปรับ (สูงสุด 2,000 บาท) และเงินเพิ่ม (คิดจากภาษี) ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนอีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการประมาณกำไรสุทธิครึ่งปีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิจริง โดยไม่มีเหตุอันสมควร อาจจะทำให้ธุรกิจของเราต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของเงินภาษีอีกด้วยครับ

 

Credit : www.krungsri.com


  • 0

รู้มั้ย ภาษีเงินปันผล ขอคืนได้ด้วยนะ


Tags : 

ข้อควรรู้ในกรณีที่เราลงทุนในกิจการ (ลงทุนในหุ้น) และได้รับเงินปันผล คือ เราสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เราสามารถขอภาษีเงินปันผลคืนได้นั่นเอง ซึ่งในบทความนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร และเราจะขอคืนได้อย่างไร
เครดิตภาษีเงินปันผล เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่สามารถขอคืนภาษีจากกรมสรรพากรตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีเงินได้ และให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี กล่าวคือ เมื่อผู้ถือหุ้นลงทุนในบริษัทจำกัด (ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์) และได้รับเงินปันผล เงินปันผลที่ได้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10%

โดยมากบริษัทจะจ่ายเงินปันผลจากกำไรสุทธิ หรือกำไรสะสมของกิจการ นั่นหมายความว่า บริษัทต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อน ส่วนที่เหลือจะเป็นกำไรสุทธิหลังหักภาษีแล้ว จึงมาจ่ายเป็นเงินปันผล ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทต้องจ่ายภาษีถึง 2 ครั้ง (Double Tax) โดยครั้งแรก คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และครั้งที่ 2 คือ ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินปันผล หรือหากจะนำมารวมเป็นรายได้ของบุคคลธรรมดาตามมาตรา 40(4) ก็ต้องมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ถือเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน และไม่เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษี ดังนั้นนักลงทุนจึงสามารถขอเครดิตภาษีเงินปันผลคืนได้

Credit :  www.scb.co.th


  • 0

ภาษีขายของออนไลน์ที่ควรรู้


Tags : 

รู้จักกับภาษีออนไลน์

การจ่ายภาษีคือหน้าที่ของประชาชนทุกคนทุกประเทศ ทว่าในปัจจุบันหลายคนยังเข้าใจว่าหากเราทำการขายของผ่านช่องทางออนไลน์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี ซึ่งคงต้องอธิบายชัดเจนตรงนี้เลยว่าอย่างไรก็ต้องเสียในรูปแบบของภาษีเงินได้

ภาษีของการขายของออนไลน์นับเป็นภาษีเงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะมีการแบ่งการคำนวณเป็นสองประเภท คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีที่ร้านค้านั้นๆ มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท

โดยการคิดอัตราภาษีนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกับการจ่ายภาษีตามปกติ คือคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้

  1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมา ขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
  2. หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับบ้านที่มีการผลิตภายในร้าน
  3. หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้

ซึ่งคนทั่วไปก็สามารถคิดภาษีด้วยตัวเองได้ หรือใช้โปรแกรมในการคำนวณได้ ด้วยสูตร (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) และแน่นอนว่าหากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ก็มีโอกาสที่จะไม่ต้องเสียภาษีเช่นกัน

ข้อควรรู้ของภาษีออนไลน์

ทางสรรพากรจะรู้ได้อย่างไรว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น ในปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับทำให้ทางสถาบันการเงินต้องมีการส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า (e-Payment) ให้กับทางสรรพากรตรวจสอบ แต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี ลองมาดูเงื่อนไขกันว่าสรรพากรจะตรวจสอบอย่างไร

  • เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท

ในส่วนนี้ขอขยายความว่า หากเป็นผู้ชื่นชอบในการซื้อของออนไลน์ การโอน ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ สิ่งสำคัญที่ทางสรรพากรสนใจคือ การรับโอน ต่างหาก ดังนั้นบรรดาขาช็อปทั้งหลายสามารถสบายใจกับกฎหมายนี้ได้

ข้อมูลที่กรมสรรพากรจะได้

  • เลขประจำตัวประชาชน
  • ชื่อ สกุล
  • เลขบัญชีเงินฝาก
  • จำนวนครั้งของการฝากหรือโอน
  • ยอดรวมจากการฝากหรือโอน

ซึ่งสรรพากรจะไม่เพียงตรวจสอบผู้ที่เป็นร้านค้าเท่านั้น แต่รวมไปถึงผู้ที่มีการโอนเงินมากผิดปกติจนน่าสงสัยอีกด้วย

Credit : www.ngerntidlor.com


  • 0

ภาษีการให้เช่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

การเช่าทรัพย์สินกรณีผู้ให้เช่าและผู้เช่าอยู่ในประเทศไทย จะมีหน้าที่ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สรุปได้ดังนี้
– ผู้ให้เช่าทรัพย์สิน
– ภาษีเงินได้ การให้เช่าทรัพย์สินทั้งประเภทสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ผู้ให้เช่าที่เป็น
บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปี
ภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ต้องนำค่าเช่าทรัพย์สิน ภาษี หรือค่าธรรมเนียมอื่นใดที่ได้รับ
จากผู้เช่ามารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีผู้ให้เช่าทรัพย์สินเป็นบริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เช่าทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่นรถยนต์ เครื่องจักร เครื่องมือ
เครื่องใช้ เป็นต้น เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำค่าเช่าทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดที่ได้รับมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบ
ระยะเวลาบัญชี ไม่ว่าผู้ให้เช่าทรัพย์สินจะประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน
สามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น สำหรับ
การให้เช่าทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้าน อาคาร ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ไม่อยู่ใน
บังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม
– อากรแสตมป์ การทำสัญญาให้เช่าทรัพย์สินประเภทที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือ
แพ ผู้ให้เช่าทรัพย์สินต้องชำระอากรแสตมป์ตามวงเงินมูลค่าของสัญญาเช่า โดยชำระอากร
แสตมป์อัตราร้อยละ 1 ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาทแห่งค่าเช่าหรือ
เงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่าง รวมกันตลอดอายุการเช่า ในทางปฏิบัติจริงผู้ให้เช่าทรัพย์สินอาจ
ตกลงให้ผู้เช่าทรัพย์สินเป็นผู้ชำระอากรแสตมป์ก็ได้ อย่างไรก็ตามการให้เช่าทรัพย์สินที่ใช้ใน
การทำนา ไร่ สวน ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
– ผู้เช่าทรัพย์สินมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อจ่ายค่าเช่าจากการเช่าทรัพย์สินที่มีวงเงิน
ตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้น ผู้เช่าต้องหักภาษีณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ว่าทรัพย์สินที่เช่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริม
ทรัพย์ ทั้งนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะบังคับใช้กับผู้จ่ายเงินค่าเช่าที่เป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเท่านั้นในส่วนของผู้รับค่าเช่าที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอาจเป็นบุคคล
ธรรมดาบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นก็ได้ กรณีที่ผู้เช่าเป็นผู้จ่ายภาษีหรือค่า
ธรรมเนียมแทนผู้ให้เช่า ต้องนำภาษีหรือค่าธรรมเนียมที่จ่ายแทนรวมกับค่าเช่าทรัพย์สินเพื่อ
คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายด้วย

การเช่าทรัพย์สิน ผู้ให้เช่า และผู้เช่าต่างก็มีหน้าที่ทางภาษีตามที่กล่าวมาข้างต้น  เมื่อจ่ายค่าเช่าจากการเช่าทรัพย์สินที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้น ผู้เช่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า ไม่ว่าทรัพย์สินที่เช่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์

Credit : www.smeone.info