Tag Archives: Tax

  • 0

ซื้อ-ขายใบกำกับภาษีปลอม มีโทษหนัก ปรับจริง ติดคุกยาว


Tags : 

การประกาศซื้อขายใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและมีความผิดตามกฎหมาย โดยทางอาญามีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 7 ปี และถูกปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท และรับโทษทางแพ่ง ต้องเสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษี และเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษีอีกด้วย

“กรมสรรพากรได้ดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญากับผู้ประกอบการทั้งที่เป็นผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยในปี    ที่ผ่านมาได้ดำเนินคดีทางแพ่งโดยมีการประเมินภาษีผู้ออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย มีจำนวน 15 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 1.9 พันล้านบาท และประเมินภาษีผู้ใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมายจำนวน 408 ราย มูลค่าความเสียหายกว่า 4.1 พันล้านบาท รวมทั้งได้มีการดำเนินคดีอาญากรณีความผิดฐานออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิออกจำนวน 59 ราย มีมูลค่าความเสียหายกว่า 1.8 พันล้านบาท จึงขอแจ้งเตือนผู้ทำผิดกฎหมายทุกรายให้ยุติการกระทำในลักษณะดังกล่าว และปัจจุบันกรมสรรพากรได้นำระบบ Data Analytics มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยเฉพาะฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยจะติดตามตรวจสอบตลอดจนจับกุมผู้เสียภาษีที่เป็นผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่มีการซื้อขายสินค้าจริงมาลงโทษตามกฎหมาย และหากพบเห็น การกระทำใด ๆ ที่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี ขอให้แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ www.rd.go.th > เมนู  “แจ้งเบาะแสข้อมูลแหล่งภาษี” เพื่อที่กรมสรรพากรจะได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้เสียภาษีทุกรายที่มีการปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้องต่อไป”

ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center)  โทร. 1161

Credit : www.rd.go.th


  • 0

มาตรการบัญชีชุดเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs


Tags : 

โดยเนื้อหาตามพระราชกำหนดฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้

  •  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ไม่เกิน 500 ล้านบาท และจดแจ้งการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพ ที่แท้จริงของกิจการ (บัญชีชุดเดียว) ต่อกรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง ทั้งนี้ กรมสรรพากรจะเปิดให้มีการจดแจ้งการใช้บัญชีชุดเดียวผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของ กรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559 ถึง 15 มีนาคม พ.ศ. 2559
  •  กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดอยู่ระหว่างถูกการตรวจสอบภาษีอากร เป็นผู้ออก ใบกำกับภาษีปลอม หลีกเลี่ยงภาษีอากร หรืออยู่ในระหว่าง
  • การดำเนินคดีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2559 บริษัทฯ ยังคงสามารถจดแจ้งการใช้บัญชีชุดเดียวต่อกรมสรรพากรได้ โดยกรมสรรพากรจะดำเนินการเฉพาะกรณีนั้นๆ ต่อไปจนกว่าจะแล้วเสร็จ
  •  สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต้องไม่มีรอบระยะเวลาบัญชีใดที่มีทุนช าระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 5 ล้านบาท และมี รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีเกิน 30 ล้านบาท และได้มีการจดแจ้งต่อ กรมสรรพากรในการใช้บัญชีชุดเดียว จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 รอบระยะเวลาบัญชีดังนี้ – ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปี2559 – ยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2560 ดังนี้

(1) ส าหรับกำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และ

(2) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 10 ของก าไรสุทธิส าหรับก าไรสุทธิ ส่วนที่เกิน 300,000 บาท

  • กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข บริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะถูกเพิกถอนจากการยกเว้นการตรวจสอบภาษีอากรย้อนหลัง และให้ถือว่าบริษัทฯ นั้น ไม่เคยได้รับสิทธิใดๆ ตามพระราชกำหนดฉบับนี้
  •  ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการเพื่อให้สถาบันการเงินที่อยู่ใน กำกับดูแล ใช้บัญชีและงบการเงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแสดงต่อกรมสรรพากรในการยื่นรายการ ภาษีเงินได้ เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมทางการเงินและขออนุมัติสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป

e-Accounting

Credit : https://www.rd.go.th


  • 0

ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก


Tags : 
ข้อควรรู้ภาษีการรับมรดก

1. ทำไมต้องมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ?

ภาษีการรับมรดกช่วยสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยการลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ช่วยกระจายภาระภาษี หารายได้เข้ารัฐ และช่วยให้การใช้ทรัพยากรของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และโดยหลักการจะไม่กระทบต่อคนยากจน และคนที่มีฐานะปานกลาง

2. ภาษีกองมรดก กับ ภาษีการรับมรดก แตกต่างกันอย่างไร ?

“ภาษีกองมรดก” เป็นภาษีที่จัดเก็บจากกองมรดก ก่อนการแบ่งกองมรดกให้แก่ทายาท แต่ “ภาษีการรับมรดก” เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ที่ได้รับมรดก หลังการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทตามจำนวนทรัพย์มรดกที่แต่ละคนได้รับ

3. ภาษีการรับมรดกเก็บจากใคร ?

ผู้ได้รับมรดก ที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย ไม่ว่าเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล คือทั้งตัวคนและบริษัท ห้างที่เป็นไทย หรือหากมิใช่สัญชาติไทยแต่ได้รับมรดกเป็นทรัพย์สินหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จะถูกจัดว่าเป็นผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี

4. ภาษีการรับมรดกจัดเก็บในอัตราใด ?

ความรับผิดชอบในการเสียภาษีการรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีแต่ละราย (เป็นลูก)ได้รับมรดกจากเจ้ามรดก (เช่น คุณพ่อเสียชีวิต) ไม่ว่าในคราวเดียวหรือหลายคราวรวมกันเกิน 100 ล้านบาท ให้เสียภาษีในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทนั้น โดยจะเสียภาษีในอัตรา ดังนี้

  • ร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก (ผู้สืบสันดานนี้ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม)
  • ร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี สำหรับกรณีอื่นๆ เช่น ผู้รับพินัยกรรม เป็นต้น
  • ร้อยละ 0 หรือไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก สำหรับคู่สมรส หรือกรณีที่ยกให้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา กิจการสาธารณประโยชน์ หรือหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรระหว่างประเทศที่ทำเรื่องเหล่านี้ (ได้รับยกเว้น)

5. ทรัพย์มรดกประเภทใด ที่จะต้องเสียภาษีการรับมรดก ?

มรดกที่ต้องเสียภาษี มีทรัพย์สินทั้งหมด 5 ประเภท คือ

  • อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทั้งหลาย
  • หลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ
  • เงินฝาก หรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน
  • ยานพาหนะ ที่มีหลักฐานทางทะเบียน ได้แก่ รถ เรือ มอเตอร์ไซค์
  • ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎหมายในอนาคต (ถ้ามี)
6. ราคาของทรัพย์มรดกจะใช้ราคาใด ?

การคำนวณมูลค่าของทรัพย์มรดก เวลาจะพิจารณาว่าถึง 100 ล้านบาทหรือไม่

  •  อสังหาริมทรัพย์ ใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน
  •  หลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ให้ใช้ราคาปิด ณ สิ้นวัน ในวันที่ได้รับมรดก
  •  ทรัพย์สินอื่นให้เป็นไปตามกฎกระทรวงจะประกาศกำหนด
  • ถ้าต้องคำนวณเป็นเงินตราต่างประเทศ จะเป็นไปตามที่กรมสรรพากร ประกาศกำหนด
7. ผู้ที่ได้รับมรดกจะต้องเสียภาษีการรับมรดกเมื่อใด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกต้องยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับมรดก ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เจ้าพนักงานจะดำเนินการประเมินภาษี เพื่อดูว่าจะต้องเสียเท่าไหร่ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี แต่หากมีเหตุจำเป็นและสมควร อาจจะเพิ่มเวลาได้ แต่ไม่เกิน 3 ปี ทั้งนี้ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกมีสิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีการรับมรดกได้เป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี
8. จะเริ่มมีการจัดเก็บภาษีการรับมรดกเมื่อใด ?
เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 (โดยทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
9. จะเกิดอะไรขึ้นหากเสียภาษีการรับมรดกไม่ครบถ้วน หรือไม่ยื่นแบบเสียภาษีการรับมรดก ?
  • เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษี (1-3 ปี กรณียื่นแบบและ 10 ปี กรณีไม่ยื่นแบบ) และเรียกเก็บภาษีให้ครบถ้วน พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
  • หากไม่เสียภาษีตามกำหนด อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์มรดกโดยไม่ต้องขอศาล
10. การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดกจะมีโทษหรือไม่ อย่างไร ?
การหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก (เช่น จงใจยื่นข้อความเท็จ ใช้อุบายหลีกเลี่ยงภาษี) ถือเป็นความผิดอาญา จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวรวมถึงผู้แนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำการเช่นว่านั้นด้วย
Credit : www.checkraka.com

  • 0

ความแตกต่างระหว่างบัญชีบริหารและบัญชีการเงิน


Tags : 

การบัญชีการเงิน คือ การบัญชีที่เกี่ยวกับการจัดเก็บรวบรวม จำแนก และรายงานข้อมูลทางการเงินของกิจการที่เกิดขึ้นในอดีตให้กับบุคคลภายนอกที่ต้องการข้อมูลทางการเงิน
การบัญชีการบริหาร จะมีหลักการเกี่ยวกับการให้ข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารภายในกิจการใช้ในการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจในการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของกิจการ
ความแตกต่างระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร
บัญชีการเงิน
1. เสนอข้อมูลแก่บุคคลภายนอก
2. จัดทำภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย
3. จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่วไป
4. ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ
5. เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
6. เสนอข้อมูลในภาพรวมของกิจการ
7. เสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับรายการดำเนินงาน
8. ข้อมูลจะถูกเสนอตามรอบบัญชี
บัญชีบริหาร
1. เสนอข้อมูลแก่ผู้บริหาร
2. ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย
3. ยืดหยุ่นตามประเด็นของปัญหาการตัดสินใจ
4. เน้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
5. เน้นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต
6. เน้นเสนอข้อมูลของกิจการโดยเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของกิจการ
7. เสนอข้อมูลทั้งทางด้านเชิงคุณภาพและข้อมูลจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะเศรษฐกิจ
8. ข้อมูลจะเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารเกิดความต้องการ

e-Accounting

 

Credit : www.med.swu.ac.th


  • 0

ระวัง!! ขอเงินภาษีคืน เสี่ยงเข้าข่ายฟอกเงิน


Tags : 

ราชกิจจานุเบกษาฉบับที่ 45  ประกาศออกมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอเงินภาษีมีใจความหลักๆว่า สำหรับคนที่มีการหลีกเลี่ยงภาษีอากรหรือการฉ้อโกงภาษีอากรเกิน  10 ล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป หรือมีการขอภาษีคืนเกินกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไปต่อปีภาษี และการขอภาษีคืนนั้นไม่เป็นความจริงหรือจงใจเลี่ยงภาษี ให้มีความผิดฐานฟอกเงิน !

หากคุณถูกตรวจพบว่า การยื่นขอเงินคืนภาษีของคุณไม่เป็นความจริงจะมีบทลงโทษได้แก่ โทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี และมีค่าปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท (ไม่รวมเบี้ยปรับเดือนละ 1.5% ที่ต้องชำระเพิ่มเติม)

การที่ออกกฎหมายนี้ออกมาก็น่าจะเป็นการป้องกันกลุ่มคนที่จ่ายภาษีไม่ตรงตามกฎหมาย เช่น ออกใบกำกับภาษีปลอม พยายามเลี่ยงภาษีมูลค่า (VAT) หรือออกบิลรายจ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ไม่ตามความเป็นจริง

หากดูจากเจตนากฎหมายฉบับนี้ น่าจะพุ่งเป้าไปที่กลุ่มนิติบุคคล (จดทะเบียนในรูปบริษัท) มากกว่า เพราะถ้ารายได้บุคคลสูงขนาดเสียภาษี 10 ล้านบาทส่วนใหญ่ก็น่าจะรับรายได้ในรูปนิติบุคคลมากกว่ารับในรูปบุคคลธรรมดา เพราะฐานภาษีสูงสุดที่เสียของบุคคลธรรมดาอยู่ที่ 35% ต่อปี เมื่อเทียบกับนิติบุคคลที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 20% ต่อปี

Credit : www.rabbitfinance.com


  • 0

การเลือกรูปแบบธุรกิจและพื้นฐานภาษี ที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี


Tags : 

สิ่งสำคัญที่ควรจะพิจารณาตั้งแต่แรกเริ่มก่อนทำธุรกิจก็ คือ “การเลือกรูปแบบธุรกิจ” เพราะธุรกิจแต่ละรูปแบบก็มีวิธีการจัดตั้งและข้อบังคับทางกฎหมายที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดภาระทางภาษีที่แตกต่างกันด้วย เช่น ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียวมีสถานะเป็น “บุคคลธรรมดา” หรือ ธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบบริษัทมี สถานะเป็น “นิติบุคคล” ซึ่งแบ่งเป็นการจดจัดตั้งเป็น 4 รูปแบบดังนี้

  1. เจ้าของคนเดียว

ธุรกิจเจ้าของคนเดียวเป็นการลงทุนคนเดียว การจัดตั้งทำได้ง่าย การบริหารคล่องตัวเพราะตัดสินใจคนเดียว กำไรจากกิจการไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่หากธุรกิจขาดทุน เจ้าของก็ต้องรับผิดชอบผลขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการรูปแบบนี้มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเจ้าของต้องแบกรับภาระของกิจการไว้ทั้งหมด ธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียวมีสถานะทางกฎหมายเป็น “บุคคลธรรมดา” ถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับตัวเจ้าของ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ “ภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดา” และหากธุรกิจเข้าข่ายกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ. ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของยังต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

กิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมกันลงทุน ผู้ที่มาลงทุนในกิจการเรียกว่า “หุ้นส่วน” ทุนที่หุ้นส่วนนำมาลงในกิจการอาจจะเป็นเงิน สินทรัพย์อื่น หรือแรงงาน ก็ได้ โดยหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญโดยเริ่มต้นแล้วมีสถานะเป็น “บุคคลธรรมดา” ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” และหากธุรกิจเข้าข่ายกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ ยังต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย

แต่ถ้าหากห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่งมีหน้าที่ยื่นแบบ “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” นอกจากนี้ในแง่ของการดำเนินคดีทางกฎหมาย เช่น หากเกิดคดีความฟ้องร้อง ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล ผู้ฟ้องจะฟ้องร้องหุ้นส่วนคนไหนก็ได้ แต่หากห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว การฟ้องร้องจะต้องฟ้องร้องตัว ห้างหุ้นส่วนก่อน หากห้างหุ้นส่วนมีทรัพย์สินไม่พอ จึงค่อยฟ้องร้องหุ้นส่วน

นอกจากนี้ห้างหุ้นส่วนสามัญยังมีข้อจำกัดในเรื่องการโอนหุ้น คือ การโอนความเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคนก่อน จึงจะทำได้

ในอดีตผู้ประกอบการบางรายเลือกรูปแบบห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล สำหรับกิจการของตนเพราะคิดว่าเป็นการประหยัดภาษี เนื่องจากส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ต้องนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ของตัวหุ้นส่วนอีกรอบหนึ่ง ต่างจากห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องนำ เงินปันผลไปรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหากต้องการใช้เครดิตภาษีเงินปันผล  อย่างไรก็ตามปัจจุบันกรมสรรพากรได้แก้ไขข้อกฎหมายโดยกำหนดให้ส่วนแบ่งกำไร จากห้างหุ้นส่วนสามัญต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับผู้เป็นหุ้นส่วนอีกรอบหนึ่ง และไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้โดยมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.2558

  1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

เป็นกิจการที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมกันลงทุน การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล และหากธุรกิจเข้าข่ายกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของยังต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย ข้อแตกต่างระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดกับห้างหุ้นส่วนสามัญ คือหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

“หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด”  หมายถึง เครดิตภาษีเงินปันผลคือส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัทที่ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว โดยผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากนิติบุคคลสามารถเลือกใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ โดยนำเครดิตภาษีมารวมเป็นเงินได้ เพื่อคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องเสีย แล้วจึงนำเครดิตภาษีมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย ทำให้ท้ายที่สุดแล้วส่วนแบ่งกำไร หรือเงินปันผลที่ได้รับนั้นเสียภาษีบุคคลธรรมดาเพียงอย่างเดียว หุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวน

“หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด” หมายถึงหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจำกัดจำนวน คือไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไปเท่านั้น การโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนจำกัดทำได้ง่ายกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ เนื่องจากหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดสามารถโอนหุ้นให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคน

ห้างหุ้นส่วนสามัญ -หุ้นส่วนทุกคนไม่จำกัดความรับผิดชอบ

>> สถานะเป็นบุคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

>> การโอนความเป็นหุ้นส่วนต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคน

ข้อดีห้างหุ้นส่วนจำกัด -หุ่นส่วนมีประเภทจำกัด และไม่จำกัดความรับผิดชอบ

>> สถานะเป็นนิติบุคคล

>> การโอนหุ้นของหุ้นส่วนประเภทจํากัดความรับผิดชอบทําได้โดยไม่ จําเป็นต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนทุกคน

>> ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี 

  1. บริษัทจำกัด

เป็นกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป นำเงินมาร่วมกันลงทุนแบ่งออก เป็น”หุ้น” ซึ่งแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน แต่ “ผู้ถือหุ้น” แต่ละคนอาจมีจำนวนหุ้นไม่เท่ากันก็ได้ ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งกำไรของบริษัทตามสัดส่วนหุ้นที่ตนเองถืออยู่ และมีส่วนรับผิดชอบไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่ หากยังชำระค่าหุ้นไม่ครบก็ต้องรับผิดชอบเพิ่มเติมแค่ส่วนของมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ จึงเป็นที่มาของคำว่าบริษัทจำกัดนั่นเอง

เนื่องจากแหล่งเงินทุนของบริษัทจำกัดมาจากเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นหลายคน การบริหารและอำนาจการตัดสินใจจึงไม่ได้อยู่ที่เจ้าของแต่เพียงผู้เดียว แต่จะบริหารในรูปแบบของ “คณะกรรมการบริษัท” ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัทไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท แต่อาจเป็นบุคคลภายนอกที่เป็นมืออาชีพก็ได้

บริษัทจำกัดมีสถานะเป็น “นิติบุคคล” ซึ่งต้องจดทะเบียนจัดตั้ง และมีข้อบังคับทางกฎหมายมากกว่าธุรกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนหรือเจ้าของคนเดียว แต่ก็มีความน่าเชื่อ ถือมากกว่าเช่นกัน

ข้อดี

>> จํากัดความรับผิด

>> บริหารแบบมืออาชีพ

>> มีความน่าเชื่อถือ

>> อัตราภาษีเงินได้ขั้นสูงสุดต่ำกว่าบุคคลธรรมดา

ข้อเสีย

>มีขั้นตอนการจัดตั้งมากกว่ารูปแบบอื่น

> บริหารในรูปคณะกรรมการ

> อาจไม่คล่องตัวในบางสถานการณ์

> ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงกว่าบุคคลธรรมดา

> ต้องมีผู้ตรวจสอบบัญชี

Credit : www.bangkokbanksme.com


  • 2

ถูกหวยต้องเสียภาษีไหม ?


Tags : 

การถูกลอตเตอรี่ หรือได้รางวัลชิงโชคต่าง ๆ ทั้งการส่งรหัสใต้ฝาชิงโชค หรือตอบคำถามร่วมสนุกในรายการทีวี หนังสือพิมพ์ รางวัลที่ได้รับล้วนต้องถูกเก็บภาษีทั้งนั้น โดยรางวัลแต่ละประเภท จะถูกเก็บภาษีในรูปแบบและอัตราที่แตกต่างกัน ส่วนจะโดนเก็บภาษียังไงบ้างนั้น ตามมาดูกัน

ถูกหวย-รางวัลชิงโชค ต้องเสียภาษีประเภทไหน อย่างไรบ้าง ?

          สามารถแบ่งประเภทของรางวัลออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ สลากกินแบ่งรัฐบาล และรางวัลชิงโชคอื่น ๆ โดยมีรูปแบบการเก็บภาษี ดังนี้
1. สลากกินแบ่งรัฐบาล

หากถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล ผู้ถูกรางวัลจะโดนหักค่าอากรแสตมป์ หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทันทีที่ไปขึ้นเงินในอัตรา 0.5% ของเงินรางวัล หากเป็นสลากแบบธรรมดา แต่ถ้าเป็นสลากการกุศลชุดพิเศษ จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 1% โดยทั้ง 2 แบบจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทำให้ไม่ต้องนำเงินรางวัลไปยื่นภาษีประจำปีอีก

 2. เงินรางวัลชิงโชคอื่น ๆ
          แต่หากเป็นเงินรางวัลจากการชิงโชคอื่น  ๆ เช่น ส่งรหัสใต้ฝา ทายบอลผลโลก ตอบคำถามร่วมสนุก เป็นต้น จะโดนเก็บทั้งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตรา 5%
Credit : www.kapook.com

  • 0

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี


Tags : 

   อาชีพทางการบัญชี ถือเป็น หนึ่งอาชีพที่ติดอันดับในประชาคมอาเซียน เลยที่เดียว นั้นหมายความว่า ถ้าหาก เยาวชนไทยคนใดที่มีความสนใจ ในการศึกษาวิชาการด้านการบัญชี ก็จะเป็นบุคลากรเป้าหมายของประเทศในกลุ่มอาเซียน

วันนี้ ดิฉันในฐานะอาจารย์ผู้สอนวิชาด้านการบัญชี จึงขอเชิญชวนผู้สนใจ มาศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี  นั้นคือ ความหมายของ  สินทรัพย์   หนี้สิน  และส่วนของเจ้าของ  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ผู้ที่สนใจในการศึกษาวิชาการบัญชี ควรต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรก โดยมีสาระ  เบื้องต้นดังนี้

สินทรัพย์(Assest)  หมายถึง  สิ่งที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนที่มีมูลค่าเป็นตัวเงินโดยมีบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของ  เช่น  เงินสด  เงินฝากธนาคาร  สลากออมสิน  พันธบัตรรัฐบาล  สัมปทานเหมืองแร่  ลิขสิทธิ์เพลง เป็นต้น

หนี้สิน(Liability)  หมายถึง ภาระผูกพันที่บุคคลภายนอกพึงมีต่อกิจการอันเกิดจากการซื้อสินทรัพย์ หรือการใช้บริหารและยังไม่ได้ชำระเงินให้หรือชำระเพียงบางส่วน  เช่น ซื้อรถยนต์โดยผ่อนชำระ  ซื้อคอมพิวเตอร์โดยแบ่งชำระ  4 งวด ซื้อเฟอร์นิเจอร์โดยขอเครดิต1เดือน  ได้รับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้ายังไม่ได้นำเงินไปชำระ  เป็นต้น

ส่วนของเจ้าของ(Owner,s equity) หมายถึง กรรมสิทธิ์ที่บุคคลหรือกิจการมีในสินทรัพย์  ซึ่งคำนวณได้จาก     สินทรัพย์  – หนี้สิน  และในกรณีที่บุคคลหรือกิจการ    ไม่มีหนี้สิน  ส่วนของเจ้าของ= สินทรัพย์     ดังนั้นส่วนของเจ้าของอาจเรียกว่าสินทรัพย์สุทธิ(Net Assets or  Net  Worth)

Smartbizบัญชี-เงินเดือน-ผลิต


  • 0

การเตรียมเอกสารส่งภาษีซื้อ-ภาษีขายที่เกี่ยวข้องกับ ERP


Tags : 

การยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ. 30

เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จะต้องทำการยื่นแบบ ภ.พ. 30 (ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมกับชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ในกรณีที่ได้ทำการคำนวณออกมาแล้วว่าภาษีขายมีจำนวนที่มากกว่าภาษีซื้อในเดือนนั้นๆ

ขั้นตอนในการเตรียมเอกสารส่งภาษีซื้อ – ภาษีขาย

1. ขั้นตอนในการเตรียมเอกสารส่งภาษีซื้อ

  • ทำการรวบรวมสำเนาใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าบริการต่างๆ เกี่ยวข้องส่งผลประโยชน์ให้กับบริษัท โดยที่ค่าใช้จ่ายเหล่านั้นจะต้องไม่ใช่ภาษีต้องห้ามตามที่สรรพากรได้กำหนดไว้
  • จัดทำรายงานภาษีซื้อ สำหรับใบกำกับภาษีที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือค่าใช้จ่ายภายในกิจการ ที่เกิดขึ้นในเดือนที่จัดทำ ภ.พ. 30 ทั้งหมด

2. ขั้นตอนในการเตรียมเอกสารส่งภาษีขาย

  • ทำการรวบรวมสำเนาใบกำกับ ที่เกิดจากการขายสินค้า หรือขายบริการต่างๆ ออกไป
  • จัดทำรายงานภาษีขายสำหรับใบกำกับภาษีที่มียอดจากการขายสินค้าและบริการ ของเดือนที่ทำการออกใบกำกับภาษี รวมไปถึงการจัดทำรายงานให้กับใบกำกับภาษีที่ถูกยกเลิก ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ด้วย

3. จัดทำฟอร์ม ภ.พ. 30

หลังจากที่จัดเตรียมเอกสาร หรือรายการภาษีซื้อ และภาษีขายกันไปแล้วต่อมาก็เป็นขั้นตอนของการกรอกแบบฟอร์ม ภ.พ.30 เพื่อนำยอดของภาษีซื้อ และภาษีขายที่รวบรวมจัดทำรายงานเพื่อทำการเปรียบเทียบคำนวณว่าภาษีขายมีจำนวนที่มากกว่าภาษีซื้อในเดือนนั้นๆ หรือไม่ การคำนวณก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่นำ ภาษีขาย  –  ภาษีซื้อ เท่านี้เราก็จะได้จำนวนของ ภาษีมูลค่าเพิ่มสุทธิแล้ว หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อกิจการจะต้องนำส่งกรมสรรพากร

ERP product


  • 0

สรุปภาษีมรดกอย่างย่อ


Tags : 

สำหรับภาษีมรดกสรุปได้ดังนี้

  • กฎหมายที่มีผลต่อการเสียภาษีมรดก มี 2 ตัวที่สำคัญคือ พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 และพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฏากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ.2558
  • ภาษีมรดกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ภาษีจากการรับมรดก (ผู้ให้เสียชีวิตแล้ว) และภาษีจากการรับให้ (ผู้ให้ยังมีชีวิตอยู่)

ภาษีจากการรับมรดก

  • ภาษีจากการรับมรดก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ตามกฎหมาย เงินฝาก ยานพาหนะ ทรัพย์สินทางการเงิน มูลค่าเกิน 100 ล้านบาท บุคคลธรรมดาเสียภาษี 10% ของมรดกส่วนเกิน 100 ล้านบาท ส่วนบุพการีและผู้สืบสันดาน เสียภาษี 5% ของมรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษี
  • ภาษีจากการรับมรดก ต้องยื่นแบบเสียภาษีภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดก หากไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา ปรับ 1 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ หากยื่นไม่ครบถ้วน ปรับ 0.5เท่าของภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม ไม่ชำระภาษีให้ครบภายในกำหนดเวลา เสียเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ ไม่รวมเบี้ยปรับ หากไม่ยื่นแบบ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หากซ่อนเร้นปิดบัง ทำลายระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 400,000 บาท ฯลฯ
  • บุคคลที่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีได้แก่ ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ คู่สมรส ใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ หน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ

ภาษีจากการให้

สังหาริมทรัพย์

  • บุพการี ผู้สืบสันดาน คู่สมรส เสียภาษี 5% จากมูลค่าทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท ส่วนบุคคลอื่น เสียภาษี 5% จากมูลค่าทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท
  • ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) เลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนเกินหรือนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น
  • ไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

อสังหาริมทรัพย์

  • บิดามารดาโอนกรรมสิทธิให้บุตรไม่รวมบุตรบุญธรรม เสียภาษี 5% จากมูลค่าส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท
  • ให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ในคราวเดียวกันที่มีมูลค่าเกิน 20 ล้านบาท โดยให้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาท

Credit : www.pptvhd36.com