Tag Archives: Tax

  • 0

ทำไมเราต้องเสียภาษี


Tags : 

ทำไมเราต้องเสียภาษี

ภาษีคือเงินที่บุคคลทั่วไปที่ทำงาน, ธุรกิจร้านค้า, ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และผู้ที่มีรายได้จากการลงทุน ทำการจ่ายให้กับรัฐบาล เงินนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อจะนำไปจ่ายช่วยเหลือในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้

  • เรื่องสุขภาพ
  • เรืองการศึกษา
  • เรื่องการป้องกันประเทศ
  • เรื่องการสร้างถนนและรางรถไฟ
  • เรื่องความปลอดภัยของสังคมและเงินที่ประชาชนได้รับจาก หน่วยงานของรัฐบาล

เราจะเสียภาษีเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับว่า

  • รายได้ใน “ปีภาษี” ของเรามีเท่าไหร่
  • เราเป็นผู้อยู่อาศัยตามความหมายในทางกฎหมายหรือไม่
  • เรามีหมายเลขผู้เสียภาษี หรือไม่

สิ่งที่เราต้องทำเกี่ยวกับภาษี คือ

  • กรมสรรพากร หรือ นักบัญชี เพื่อยื่นเรื่องการขอคือภาษีหรือ Tax Refund
  • ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารแจ้งยอดรายได้จากดอกเบี้ยธนาคารแก่กรมสรรพากรเมื่อสิ้นปีภาษี
  • นายจ้างตอนเราเริ่มทำงาน (อย่าระบุเลขนี้ในใบสมัครงานเด็ดขาด) เพื่อให้นายจ้างแจ้งยอดภาษีที่หักไว้กับทางกรมสรรพากร

เราจะได้เงินภาษีคืนหาก:

  • เราไม่ได้รายได้เกินจำนวนที่รัฐบาลกำหนดไว้ หรือ
  • นายจ้างหักภาษีจากค่าจ้างของเรามากเกินกว่าภาษีที่เราต้องเสียให้กับทางรัฐบาล
  • หากเรามีภาษีไม่พอเมื่อเทียบกับภาษีที่กรมสรรพากรต้องการจากเรา กรมสรรพากรจะส่งบิลให้เราสำหรับเงินที่เราค้างชำระกับทางกรมสรรพากร

Credit : hifivetaxservice


  • 0

การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ


Tags : 

1.   ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่

1.1   บุคคลซึ่งประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยกิจการนั้นไม่ได้รับยกเว้น ภาษีธุรกิจเฉพาะ

1.2   ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการในราชอาณาจักรของผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร

1.3   ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราช อาณาจักรของผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกราชอาณาจักร

2.   แบบแสดงรายการที่ใช้

แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี ธุรกิจเฉพาะได้แก่ แบบ ภ.ธ.40

3.   หน้าที่ในการจัดทำรายงาน

ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่จัดทำรายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่ายที่ต้อง เสียภาษีและรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีรายงานดังกล่าวให้จัดทำตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดโดยให้ จัดทำเป็นรายสถานประกอบการทั้งนี้การลงรายการในรายงานให้ลง ภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีรายรับเว้นแต่อธิบดี กรมสรรพากรเห็นสมควร สำหรับการประกอบกิจการบางประเภทหรือในกรณีจำเป็นเฉพาะรายอธิบดีจะกำหนดเป็นอย่าง อื่นตามที่เห็นสมควรก็ได้

4.   หน้าที่ในการเก็บรักษารายงานและเอกสารหลักฐาน

ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะต้องเก็บและรักษารายงานพร้อมทั้งเอกสารประกอบ การลงรายงานหรือเอกสารที่อธิบดีกำหนดไว้ ณ สถานประกอบการจัดทำรายงานนั้นหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี

5.   หน้าที่ในการออกใบรับ

ผู้ประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งได้รับเงิน หรือรับชำระราคาจากการขายสินค้า หรือการให้บริการหรือจากการกระทำกิจการรวมเงินหรือราคาที่ได้รับชำระแต่ละครั้ง เกิน 100 บาท ต้องออกใบรับให้แก่ ผู้จ่ายเงินหรือผู้ชำระราคาในทันทีทุกคราวที่รับเงินหรือรับชำระราคาไม่ว่าจะมีการเรียกร้องให้ออกใบรับหรือไม่ก็ตาม

 

Credit : www.rd.go.th


  • 0

กำหนดหลักเกณฑ์การขออนุมัติใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ


Tags : 

ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการค้าปลีก ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ให้ยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดี และการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินดังกล่าว จะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน ที่อธิบดีกรมสรรพากรกาหนด (ศึกษารายละเอียดได้จากประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) ลงวันที่ 29 มีนาคม 2536)
คำขออนุมัติให้ยื่นตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โดยจะต้องแนบเอกสารและรายการดังต่อไปนี้พร้อมกับคำขออนุมัติ
(1) คุณสมบัติโดยย่อของเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(2) รายละเอียดรุ่น ยี่ห้อ หมายเลขประจำเครื่อง (Serial Number) และจำนวนเครื่องบันทึกการเก็บเงินที่ขออนุมัติ
(3) แผนผังแสดงตำแหน่งการวางเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
(4) ในกรณีที่มีการต่อเชื่อมเครื่องบันทึกการเก็บเงินเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่น ให้แสดงแผนผังระบบการต่อเชื่อมดังกล่าวด้วย
(5) ตัวอย่างใบกำกับภาษีอย่างย่อ และตัวอย่างรายงานการขายสินค้าหรือการให้บริการประจาวันที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
โดยยื่นต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นผ่านสรรพากรพื้นที่ในเขตท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ โดยต้องยื่นคำขออนุมัติเป็นรายสถานประกอบการ และกรณีผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นคำขออนุมัติผ่านผู้อานวยการสานักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ เป็นความสะดวกของผู้ประกอบการฯ ที่ไม่ต้องมีภาระในการเขียน หรือพิมพ์ใบกำกับภาษี โดยเฉพาะกิจการค้าปลีกซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการแก่บุคคลจานวนมาก และยังง่ายต่อการควบคุมตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ด้วย
อย่างไรก็ดี การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกาหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 46) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536ทั้งนี้ จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรก่อนจึงจะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินได้ มิฉะนั้น มีความผิดตามมาตรา 90/3(2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

Credit : www.rd.go.th


  • 0

หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล


Tags : 

หลักเกณฑ์การประกาศให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล

 

Credit : www.rd.go.th


  • 0

รู้หรือไม่ SMEs เป็นนิติบุคคล เสียภาษีถูกกว่า 15 เปอร์เซ็นต์


Tags : 

หากเปรียบเทียบกันระหว่างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะเห็นว่าการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประหยัดภาษีมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะนิติบุคคล เสียภาษีสูงสุด 20% ขณะที่บุคคลธรรมดา เสียภาษีสูงสุด 35% เท่ากับนิติบุคคลเสียภาษีถูกกว่าถึง 15%

สำหรับนิติบุคคล (ที่มีเงื่อนไข) เป็น SMEs หรือกิจการขนาดเล็ก ✓ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท ✓ รายรับไม่เกิน 30 ล้านบาท

SMEs จะได้รับ “โอกาส” และ “แต้มต่อ” มากกว่า !!! เช่น ✓ ยกเว้นภาษี (กำไรสุทธิไม่เกิน 3 แสนบาท) ✓ หักค่าใช้จ่ายของกิจการเป็นพิเศษได้ 2 เท่า (เช่น ค่าจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี)

Credit : https://www.smebank.co.th


  • 2

ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น (ภพ.30)


Tags : 

ถ้ายื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
  • โดยเงินเพิ่มที่เสียต้องไม่เกินจำนวนภาษี
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

3. ค่าเบี้ยปรับ

  • กรณี ยื่นแบบภาษีเพิ่มเติม ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 1 เท่าของเปอร์เซ็นเบี้ยปรับ (หากลืมยื่นภาษีซื้อ ไม่ต้องขอยื่นเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน เพราะสามารถนำมาขอยื่นได้ในเดือนถัดไป ไม่เกิน 6 เดือนของวันที่ตามใบกำกับภาษี)
  • กรณี ไม่ได้ยื่นแบบภาษี ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 2 เท่าของเปอร์เซ็นต์เบี้ยปรับ
  • ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท
  • ไม่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  • ไม่เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  • ไม่ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า

Credit : https://www.ztrus.com


  • 0

สิทธิในการอุทธรณ์ภาษีอากร


Tags : 

ผู้ถูกประเมินภาษีอากรสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อใคร?

1.ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง

2.ในต่างจังหวัด ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน

 

ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นอย่างไร?

เมื่อได้มากวินิฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์นั้น เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก้ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้

1. ให้ ปลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

2. ให้ ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินบางส่วนถูกต้องและบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน

3. ให้ ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

4. ให้ เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์ ปรากฎว่า การประเมินถูกต้องแต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้

 

หากผู้อุทธรณ์ยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีก ผู้อุทธรณ์ยังมิสิทธิ์ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน 30วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อีกด้วย

สรุปได้ว่า เรื่องการอุทธรณ์ภาษีอากรในกรณีหากเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิที่จะคัดค้านการประเมินนั้นได้โดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดอุทธรณ์แจ้งไปยังผู้อุทธรณ์แล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อไปได้อีกโดยการฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

 

 

Credit : www.rd.go.th


  • 0

ค่าใช้จ่าย R&D หักทางภาษีได้ 3 เท่า


Tags : 

กำหนดให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนเพิ่มขึ้นโดยสามารถลงเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 3 เท่าของรายจ่ายจริง โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. ผู้ประกอบการที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นี้ ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และจะต้องไม่นำรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้ ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

2. ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นภาษี เฉพาะเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่า จึงเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปจริง[4]

3. ผู้ประกอบการจะได้ยกเว้นภาษีเพิ่มอีก 1 เท่าจากข้อ 2 สำหรับเงินได้ส่วนที่จ่ายไปเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งได้จ่ายไปในระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 แต่ทั้งนี้ เมื่อรวมกับเงินในข้อ 2. แล้วต้องไม่เกินร้อยละของรายได้ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดในรอบระยะเวลาบัญชี

Credit : https://www.dlo.co.th