สิทธิในการอุทธรณ์ภาษีอากร

  • 0

สิทธิในการอุทธรณ์ภาษีอากร


Tags : 

ผู้ถูกประเมินภาษีอากรสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อใคร?

1.ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง

2.ในต่างจังหวัด ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน

 

ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นอย่างไร?

เมื่อได้มากวินิฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์นั้น เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก้ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้

1. ให้ ปลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

2. ให้ ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินบางส่วนถูกต้องและบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน

3. ให้ ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

4. ให้ เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์ ปรากฎว่า การประเมินถูกต้องแต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้

 

หากผู้อุทธรณ์ยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีก ผู้อุทธรณ์ยังมิสิทธิ์ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน 30วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อีกด้วย

สรุปได้ว่า เรื่องการอุทธรณ์ภาษีอากรในกรณีหากเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฏหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิที่จะคัดค้านการประเมินนั้นได้โดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในเวลา 30 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดอุทธรณ์แจ้งไปยังผู้อุทธรณ์แล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็สามารถอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อไปได้อีกโดยการฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์

 

 

Credit : www.rd.go.th


Leave a Reply