นิติบุคคล SME ลดหย่อนอะไรได้บ้าง

  • 0

นิติบุคคล SME ลดหย่อนอะไรได้บ้าง


Tags : 

นิติบุคคล หรือ SME ส่วนใหญ่อาจจะสงสัยว่าการทำธุรกิจในรูปแบบนี้สามารถทำการลดหย่อนภาษีได้ไหม หากได้จะเป็นการลดหย่อนจากอะไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่ารายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจ SME และ นิติบุคคลจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การจดทะเบียนบริษัท

ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนนิติบุคคล มีทุนในการจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้า และบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะสามารถนำค่าใช้จ่ายในการทำบัญชี การจดทะเบียนบริษัทมาเป็นค่าลดหย่อนได้ถึง 2 เท่า ในระยะเวลา 5 รอบบัญชีต่อเนื่อง หรือในระยะเวลา 5 ปีภาษี

โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์

อีกหนึ่งนโยบายที่กรมสรรพากรออกมาสนับสนุนให้ธุรกิจ SME นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน คือการลดหย่อนภาษีสำหรับธุรกิจ SME ที่ซื้อ หรือใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือ DEPA ซึ่งมีอัตราการหักภาษี 1 เท่าของรายจ่ายตามจริง แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่สรรพากรได้กำหนดไว้ และมีวงเงินไม่เกิน 100,0000 บาท ในแต่ละรอบบัญชี

ค่าเสื่อม ค่าสึกหรอภายในกิจการ

การลดหย่อนค่าสึกหรอถือเป็นตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะค่าสึกหรอที่ถูกหักจะถือเป็นค่าใช้จ่าย ที่สามารถนำมาหักภาษีได้ แต่การลดหย่อนค่าสึกหรอก็ไม่สามารถทำได้กับสินทรัพย์ทุกประเภท เพราะสินทรัพย์ที่นำมาคิดได้มีดังนี้

– ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ ที่มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี คิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักได้ใน 3 รอบระยะเวลาบัญชี

– ทรัพย์สินประเภทอาคารโรงงาน มีระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 20 ปี โดยไม่รวมที่ดินที่มีราคาเกิน 200 ล้านบาท และคนงานไม่เกิน 200 คน คิดค่าเสื่อมที่อัตรา 25% ของต้นทุน โดยหัก 5% ต่อปี

– ทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร ระยะเวลาการใช้งานไม่เกิน 5 ปี คิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าทรัพย์สินส่วนที่เหลือ ทยอยหักภายในระยะเวลา 5 ปี

ลดหย่อนจากการบริจาค

สำหรับกิจการที่ชื่นชอบการบริจาค ผลบุญนี้ก็ส่งตรงถึงกิจการของคุณ เพราะคุณสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะทำการบริจาคให้กับองค์กร หรือกองทุนต่างๆ ดังต่อไปนี้

– การบริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ สามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินหรือมูลค่าที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

– บริจาคให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี สามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล

– บริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม รวม 4 กองทุน สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค เมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดแล้วต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

ลดหย่อนจากค่าจ้างลูกจ้างสูงอายุ

กรมสรรพากรได้มีมาตรการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยให้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนร้อยละหนึ่งร้อยให้แก่บริษัทนิติบุคคล ที่ตรงตามเงื่อนไขการลดหย่อนจากการจ้างงานผู้สูงอายุที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

ลดหย่อนจากการทำประกันชีวิต

การทำประกันชีวิตให้กับกรรมการบริษัท เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณสามารถนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษี เพราะนี่เป็นการใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ของบริษัท แต่จะต้องไม่ใช่การใช้จ่ายแบบเสน่หา การคำนวณภาษีจะถูกนำไปใช้เพื่อจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


แม้ภาษีนิติบุคคลจะเป็นเรื่องยาก แต่เราสามารถลดเวลาการทำงานในส่วนการทำบัญชีหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ด้วยระบบบัญชีสำเร็จรูป

Smartbizบัญชี-เงินเดือน-ผลิต

 


Leave a Reply