ภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล
สรุปเภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลล่าสุด
ของกรมสรรพากร ในส่วนของการจําหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซี/โทเคนดิจิทัล คู่มือระบุว่า การคำนวณภาษีสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Cost) และให้คํานวณต้นทุนแยกตามประเภทของเหรียญ ซึ่งหากเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วจะต้องใช้การคำนวณนั้นตลอดทั้งปี และจะสามารถเปลี่ยนวิธีการคำนวณรูปแบบใหม่ได้ในปีภาษีถัดไป
นักลงทุนคริปโทฯ ที่เป็นบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษี 2 ส่วนคือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่จะต้องถูกหักในอัตรา 15% ของกำไรที่ได้ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ที่หากมีการลงทุนในคริปโทฯ แล้วสร้างผลกำไรหรือเงินปันผลคืนให้ จะถือเป็นรายได้ประจำปีที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90) โดยกำไรและเงินปันผลจากการลงทุนคริปโตถูกจัดอยู่ในกลุ่มเงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ในประมวลรัษฎากร หมวดเดียวกับกลุ่มเงินได้ดอกเบี้ยเงินปันผล ก็เท่ากับว่า ใครที่ลงทุน ได้กำไรก็จะต้องเสียภาษี 2 ต่อนั่นเอง